Page 70 - สังคมโลก
P. 70

6-30 สังคมโลก

ขั้นใช้กำ�ลังกับสยาม (กรณีพระยอดเมืองขวาง ร.ศ. 112) และทำ�ท่าว่าอาจจะเกิดความระหว่างกับอังกฤษ ที่ต้องการ
ให้สยามเป็นรัฐอิสระเพื่อประโยชน์ทางการค้าและยุทธศาสตร์91

       ในช่วงเวลาที่ความขัดแย้งในกลุ่มชาติตะวันตกเริ่มปรากฏในเอเชยี การปรับปรงุ และพัฒนาประเทศตามแบบ
ตะวันตกของญี่ปุ่นเริ่มปรากฏผล การขยายตัวของกลุ่มทุนอุตสาหกรรม เช่น มิตซูบิชิ (Mitsubishi) ภายใต้การนำ�
ของอิวาซากิ ยาทาโร (Iwasaki Yataro) กลายเป็นแรงหนุนสำ�คัญในการเร่งปฏิรูปกองทัพญี่ปุ่น ค.ศ. 1894 ไม่เพียง
เป็นปีที่ญี่ปุ่นหันมาใช้ระบบเรียกเกณฑ์ทหารแทนระบบซามูไรแบบเดิมเป็นครั้งแรก แต่ยังเป็นปีที่ญี่ปุ่นเริ่มนโยบาย
จักรวรรดินิยมของตนโดยการเข้ายึดครองเกาหลีและเกาะฟอร์โมซาหรือไต้หวัน ทำ�ให้ต้องปะทะกับกองกำ�ลังของ
เยอรมนีและรัสเซียที่ต้องการยึดครองพื้นที่ทางเหนือของจีนเช่นกัน92

       ค.ศ. 1898 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มแสดงบทบาทของการเป็นเจ้าอาณานิคม ด้วยการใช้นโยบายจักรวรรดินิยม
แบบชิงลงมือ (pre-emptive imperialism) ซึ่งโทนี สมิธ (Tony Smith) เสนอนิยามว่าเป็นการดำ�เนินนโยบายเชิง
รุก ที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าไปปรากฏตัวในภูมิภาคที่เห็นว่ามีความสำ�คัญต่อตนเอง เมื่อมหาอำ�นาจที่เป็นคู่แข่งเริ่มขยาย
อิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นไปเพราะความต้องการของมหาอำ�นาจนั้น หรือเป็นเพราะความไม่สงบภายในทำ�ให้เกิดช่องว่าง
สมิธยังขยายความด้วยว่า นโยบายนี้เป็นผลผลิตจากการปรับลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine)93 ที่เน้นเขตอิทธิพล
ของสหรัฐอเมริกาเหนือทวีปอเมริกาโดยเฉพาะทางตอนกลางและใต้ นโยบายนี้มีลักษณะเชิงรุกมากขึ้นโดยเฉพาะใน
เขตอเมริกากลาง94 สหรัฐอเมริกาเริ่มดำ�เนินนโยบายดังกล่าวด้วยการเอาชนะจักรวรรดิสเปน (Spanish-American
War 1898) ทำ�ให้ได้เปอโตริโก กวม (Guam) และฟิลิปปินส์ (the Philippines) มาอยู่ในความดูแล การเข้ามาใน
เอเชียของอเมริกาในครั้งนี้ผลักดันให้เกิดนโยบายเปิดประตู เพื่อหวังเปิดตลาดการค้าในจีนใน ค.ศ. 1899 และยัง
ผลักดันให้โคลัมเบียสนับสนุนการเกิดขึ้นของรัฐปานามาที่กลายเป็นผู้บริหารดูแลคลองปานามา ภายใต้การสนับสนุน
ของสหรัฐอเมริกา95

	 91 	Minton F Goldman. (1972). ‘Franco – British Rivalry over Siam, 1986-1904’ Journal of Southeast Asian History 2:3
(210-228), E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., pp. 57-58.	
	 92 	ญี่ปุ่นสามารถยึดครองเกาหลีและไต้หวันได้โดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1896 การขยายตัวของญี่ปุ่นเพื่อเข้ายึดครองพื้นที่ภาคเหนือของจีน
ทำ�ให้ปะทะกับกองกำ�ลังรัสเซียที่รุกเข้ามาในแมนจูเรีย เยอรมนีก็เข้ารุกรานทางตอนเหนือของจีนและยึดครองอ่าวเจียวโจว (Jiaozhou) เขตชิงเต่า
(Qiandao) มณฑลชานตง (Shandong) ได้ใน ค.ศ. 1898 โดยอาศัยเหตุการณ์การฆาตกรรมสองนักบวชนิกายโรมันคาทอลิกชาวเยอรมนีเป็น
ชนวน ศึกษาเพิ่มเติมที่http://en.wikipedia.org/wiki/Kiautschou_Bay_Conscession,  accessed on 1 November 2553 and at http://
en.wikipedia/org/wiki/Jiaozhou_Bay accessed on 8 November 2553	
	 93 	ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1823 โดยประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร (James Monroe
1758-1831) โดยมีจอห์น ควินซี อดัม (John Quincy Adams 1767-1848) รัฐมนตรีต่างประเทศในช่วงเวลานั้น และดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดี
ในช่วงเวลาต่อมา (1825-1829) เป็นผู้ร่างแนวนโยบาย เพื่อแสดงจุดยืนของสหรัฐอเมริกาว่า แม้สหรัฐอเมริกาจะวางตัวเป็นกลางต่อความขัดแย้ง
และสงครามในยุโรป แต่จะไม่ยอมอดทนต่อการขยายตัวมาทางตะวันตกเพิ่มขึ้นของจักรวรรดินิยมยุโรป แต่ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอาณานิยมที่
มีมาแต่เดิมของจักรวรรดินิยมตะวันตกเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ประกาศขึ้นในช่วงที่ดินแดนในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เริ่มเรียกร้อง
ความเป็นอิสระจากจักรวรรดิสเปน โดยใน ค.ศ. 1822 อเมริกาได้ประกาศรับรองความเป็นอิสระของอาร์เจนตินา ชิลี เปรู โคลัมเบีย และเม็กซิโก
ซึ่งได้นำ�ไปสู่ความขัดแย้งระหว่างอเมริกาและสเปนเป็นระยะ ศึกษาเพิ่มเติมที่http://en.wikipedia.org/wiki/Monroe_Doctrine, http://
en.wikipedia.org/wiki/James_Monroe, http://en.wikipedia.org/John_Quincy_Adams accessed on 8 November 2553	
	 94 	สหรัฐอเมริกานำ�นโยบายเชิงรุกนี้มาผลักดันให้โคลัมเบียสนับสนุนให้ดินแดนบริเวณคอคอด (Isthmus of Darien or Isthmus of
Panama) ในอเมรกิ ากลางซึง่ กัน้ ขวางระหวา่ งมหาสมทุ รแปซิฟกิ กบั แอตแลนตกิ กลายเป็นรฐั อิสระในนามรัฐปานามา เมือ่ ค.ศ. 1903 เพื่อสนบั สนุน
การขุดคลองเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรของบริษัทสัญชาติอเมริกัน ที่เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทขุดคลองปานามา (Panama Cannel Company:
PCC) จากนักลงทุนร่วมระหว่างนักลงทุนชาวเยอรมนีและฝรั่งเศสซึ่งหยุดชะงักไปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในที่สุดการขุดคลองก็เริ่มขึ้นใน	
ค.ศ. 1904 และสำ�เร็จลงใน ค.ศ. 1914 ศึกษาเพิ่มเติมที่Tony Smith. (1981). op, cit., p. 154.
	 95 	http://en.wikipedia.org/wiki/Isthmus_of_Panama, http://en.wikipedia.org/wiki/Panama_Scandals accessed on 8
November 2553	

                             ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75