Page 73 - สังคมโลก
P. 73
จักรวรรดินิยม 6-33
ตลอดจนมฐี านะทีม่ ุง่ คงยิ่งขึ้นในการเข้ารกุ รานดนิ แดนทางตอนเหนือของจนี ขณะที่รัสเซยี มีฐานะทีอ่ อ่ นแอลงและตอ้ ง
เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงภายในมากมาย99
อังกฤษป้องกันความเสี่ยงด้วยการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เพื่อระงับโอกาสการเกิดสงครามระหว่างกันใน
แอฟริกาและเอเชียใน ค.ศ. 1904 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาซึ่งรู้จักกันในนามของ “Entente cordiale”
หรือความเข้าใจฉันมิตร (cordial understanding) เพื่อให้บรรลุความเข้าใจนี้ฝรั่งเศสยอมยกเลิกการอ้างสิทธิเหนือ
อียิปต์ แลกกับการที่อังกฤษให้การรับรองสิทธิของฝรั่งเศสเหนือโมร็อคโค อังกฤษยังเป็นพันธมิตรกับรัสเซียใน ค.ศ.
1907 เมื่อสถานการณ์ในบอลข่านเริ่มปรากฏแนวโน้มของความขัดแย้ง เมื่อเยอรมนีสนับสนุนให้ออสเตรีย-ฮังการี
เข้าครองบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา (Bosnia-Herzegovina) เพื่อต้านอิทธิพลของรัสเซียในพื้นที่ดังกล่าว100 ผลก็คือ
ดุลแห่งอำ�นาจในบอลข่านและตะวันออกใกล้เริ่มเปลี่ยนแปลง โดยมีการปฏิวัติในจักรวรรดิออตโตมาน (Turkish
Revolution, 1908)101 เป็นตัวเร่ง เมื่อผนวกการเป็นพันธมิตรของอังกฤษกับฝรั่งเศส อังกฤษกับรัสเซีย กับฝรั่งเศส
และรัสเซีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1892) ทำ�ให้เกิดโครงข่ายพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียขึ้นที่เรียกกันว่า “Triple
Entente” การรวมตัวนี้คือ การถ่วงดุลกลุ่มเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ในนามของ “Triple Alliance”
ที่ก่อตัวขึ้นมาใน ค.ศ. 1882 กลุ่มนี้มีเยอรมนีกับออสเตรียเป็นแกนกลาง เพราะอิตาลีค่อยๆ ถอนตัวออกจากกลุ่ม
จนถึงขึ้นเข้าเป็นฝ่ายหนึ่งกับกลุ่มต่อต้านเยอรมนีใน ค.ศ. 1915102
นอกเหนือจากบอลข่าน ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติและศาสนาเริ่มปรากฏชัดในหลายพื้นที่ เช่น กรณีที่
อังกฤษต้องเผชิญปัญหาจากการพยายามแบ่งแยกเบงกอลออกเป็นเขตมุสลิมและฮินดู ซึ่งไม่เพียงกระตุ้นให้กระแส
ชาตินิยมขยายตัว แต่ยังช่วยพัฒนากระแสดังกล่าวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องการปกครองตนเองของ
99 สงครามในครั้งนี้ทำ�ให้ญี่ปุ่นสูญเสียชีวิตทหารไปถึง 84,000 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 143,000 คน จากสงครามครั้งนี้ ส่วนรัสเซีย
ต้องเผชิญกับแรงกดดันภายในสังคมตนเองหลังความฝ่ายแพ้ ทั้งที่ปรากฏในรูปของการปฏิวัติของพวกกระฎุมพีในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ และ
การปฏิวัติชาวนาโดยเฉพาะในแถบพื้นที่ลุ่มนํ้าวอลก้า (Volga Valley) ที่เรียกกันว่าย่านดินดำ� (Black Earth region) ศึกษาเพิ่มเติมที่ E. J.
Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 297, Jonathan Hardt. (2008). op, cit., p. 225.
100 ในปีต่อมารัสเซียได้ให้การยอมรับบทบาทและอิทธิพลของออสเตรีย-ฮังการีในเขตดังกล่าว แลกเปลี่ยนกับการที่อาณาจักรดังกล่าวต้อง
รบั ประกนั ใหช้ อ่ งแคบบอสฟอรสั (Bosporus) และดารด์ าแนลส์ (Dardanelles) เปน็ เขตเปน็ กลาง ซึง่ เทา่ กบั เปน็ การใหส้ ทิ ธกิ องเรอื รสั เซยี ในการผา่ น
แดนดงั กลา่ วนัน่ เอง ศกึ ษาเพิม่ เตมิ ที่ Tony Smith. (1981). op, cit., p. 45, E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 318, Jonathan Hardt. (2008).
op, cit., p. 226
101 การปฏิวัติตุรกี (Turkish Revolution, 1908) ภายใต้การนำ�ของกลุ่มยังเติร์ก (Young Turk) ที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ทันสมัย
โดยเน้นที่การพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าในด้านต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาที่เน้นความสำ�คัญของวิทยาศาสตร์แทนที่ศาสนา เพื่อต่อกรกับโครงสร้าง
สังคมเก่าที่ล้าหลังและเสื่อมถอย แนวทางการปฏิวัติเช่นนี้อาจจะกล่าวเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในสังคมรัฐโลกที่สาม แม้ในตอนแรกผู้นำ�ในกลุ่มนี้
อาทิ นักเคลื่อนไหวและนักวิทยาศาสตร์อย่างฮาห์เม็ด ไรซา (Ahmed Riza, 1859-1930) และนักหนังสือพิมพ์และนักปฏิรูปสังคมอย่างนามิก
เคมาล (Namik Kemal, 1840-1888) จะไมส่ นบั สนนุ การใชค้ วามรนุ แรง แตต่ อ่ มาไดเ้ ปลีย่ นทา่ ทโี ดยเฉพาะภายใตก้ ารนำ�ของนายทหารอยา่ งมสุ ตาฟา
เคมาล อตาเติร์ก (Mustafa Kemal Atatûrk, 1881-1938) เมื่อออตโตมานต้องเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่ 1 และนำ�ไปสู่การก่อตั้งรัฐตุรกีขึ้น
ใน ค.ศ. 1923 ศึกษาเพิ่มเติมที่E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., pp. 285, 318, http://en.wikipedia.org/wiki/Ahmet_Riza, http://
en.wikipedia.org/wiki/Mustafa_Kemal_Ata%C3%BCrk , http://en.wikipedia.org/wiki/Young_Turks accessed on 2 November
2010
102 E. J. Hobsbawm. (1989). op, cit., p. 313, http://en.wikipedia.org/Franco-Russian_Alliance , http://en.wikipedia.
org/wiki/Entente_Cordiale, http://en.wikipedia.org/Tripple_Entente accessed on 28 October 2010
ลิขสทิ ธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช