Page 212 - การผลิตสัตว์
P. 212
12-40 การผลิตสัตว์
1) ให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ที่อยู่ในระยะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงการผลิตสัตว์
ทั่วไปเป็นระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตต้องสูญเสียเวลาในการปรับเปลี่ยนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ชดเชยและสนับสนุนให้เกษตรกร ซึ่งจะเพิ่มจำนวนผู้ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ได้มากขึ้นเช่นเดียวกับในบางประเทศที่มี
การสนับสนุนเกษตรกรในล ักษณะที่กล่าวมานี้
2) ให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ ปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์
อินทรีย์ เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากเกษตรกรไม่คุ้นเคยและขาดความรู้ในการผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์ สาเหตุอีกส่วน
หนึ่งก็คือ ผลตอบแทนจากการผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์ต่ำกว่าการผลิตแบบทั่วไป การที่รัฐบาลให้การสนับสนุน
เกษตรกรในรูปแบบต่างๆ ก็จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์มากขึ้น ช่วยทำให้ธุรกิจ
ปศุสัตว์อินทรีย์ด ำเนินไปได้
3) ให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี สวัสดิการ และการกู้ยืมเงินไปลงทุนดำเนินการ โดยการลดภาษี
สิ่งจำเป็นบางอย่างในการนำมาใช้ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ และลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม หรือยืดระยะเวลาในการผ่อนใช้
เงินย ืมแ ก่เกษตรกรที่น ำเงินไปลงทุนในก ารผลิตป ศุสัตว์อินทรีย์
2.2 อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์พื้นเมืองและส่งเสริมการผลิตพันธุ์สัตว์อินทรีย์ รูปแบบการผลิตปศุสัตว์
อินทรีย์ ด้วยการมีพันธุ์สัตว์พื้นเมืองและสัตว์อินทรีย์ จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพันธุ์ปศุสัตว์อินทรีย์ได้
หน่วยงานของรัฐควรเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐฯ ในการรักษาพันธุ์สัตว์พื้นเมือง
ข องชาติ ซึ่งเป็นการสนับสนุนก ารรักษาป ระเพณี วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ข องชาติ
2.3 ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ความรู้ที่ให้แก่ผู้บริโภคเป็นเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการ
เกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์แก่ประชาชนในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนปฐมวัยที่จะช่วยชวน
ผู้ปกครองบริโภคอาหารอ ินทรีย์ได้ การที่ม ีผู้บริโภคหันมาบร ิโภคผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ เป็นการช่วยให้เกษตรกร
หันมาทำการเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์กันมากยิ่งขึ้น แม้ว่ารัฐบาลได้เคยให้ความรู้ในเรื่องเกษตรอินทรีย์
แก่ประชาชนบ ้างแ ล้ว แต่ย ังข าดความจริงจังแ ละขาดค วามต ่อเนื่อง รัฐฯ ควรม ีการเชื่อมโยงระหว่างผ ู้ผลิต ผู้บริโภค
และเอกชนที่ทำธุรกิจปศุสัตว์อินทรีย์ส่งจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศอย่างมีระบบ จะทำให้การผลิตปศุสัตว์
มีความย ั่งยืน
2.4 อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงเน้ือสัตว์และผลผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ ผู้บริโภคอาหารอินทรีย์
มีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทั่วไป การนำอาหารอินทรีย์วางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปเหมือนกับอาหาร
อื่นๆ อาจจ ะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย จุดที่วางจ ำหน่ายอ าหารอ ินทรีย์ต ้องมีก ารประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ทราบ วิธีก าร
จำหน่ายอาหารอินทรีย์อีกวิธีหนึ่งที่มีการดำเนินการได้ผลคือ การรับสมัครสมาชิก มีการทำความตกลงกันระหว่าง
เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในการจัดส่ง ตลอดจนราคาที่จะจำหน่ายในราคายุติธรรม เพื่อให้ผู้ผลิตมีรายได้
เพียงพ อในการผลิตแ ละผ ู้บ ริโภคสามารถซ ื้อได้
2.5 มีการเชื่อมโยงมาตรฐานและการตรวจรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ มาตรฐานการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
ในประเทศควรสอดคล้องและให้เป็นที่ยอมรับจากประเทศต่างๆ ที่จะส่งสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ไปจำหน่าย วิธีการ
ด ังก ล่าวนี้จะช ่วยให้เกษตรกรม ีร ายได้ส ูงข ึ้นจากก ารจำหน่ายส ินค้าไปต ่างป ระเทศ
แนวทางแก้ไขปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้นนี้จะทำให้การผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ขยายตัวได้อย่าง
รวดเร็ว เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมโดยรวม ในระยะยาวจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
คือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นและสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มจะดีขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรและผู้บริโภคจะมีสุขภาพดี
การเจ็บป ่วยจากสารเคมีสังเคราะห์จะลดลง ซึ่งจ ะช่วยให้ร ัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการร ักษาผู้เจ็บป ่วยได้
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช