Page 211 - การผลิตสัตว์
P. 211
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-39
ผลผลิตสูง ตอบสนองต่อการใช้อาหารเสริมที่เป็นสารสังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี และมีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่จุดด้อย
ของสัตว์พันธุ์เหล่านี้ก็คือ ต้องเลี้ยงในโรงเรือนปิดที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยจึงจะให้ผลดี เช่น การเลี้ยง
ไก่พันธุ์ไข่ที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบันต้องเลี้ยงในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เรียกว่า ระบบปรับอากาศ
แบบการระเหยน้ำ (Evaporative cooling system) หรือที่เรียกย่อๆ ว่าระบบ “อีแว๊ป” พร้อมกับมีการเสริมสาร
สังเคราะห์ชนิดต่างๆ จึงจะสามารถให้ไข่ในอัตราสูง และต้นทุนการผลิตต่ำได้ วิธีการดังกล่าวนี้ไม่ใช่วิธีผลิตสัตว์
ในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ จากความนิยมเลี้ยงพันธุ์สัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงจึงทำให้สัตว์สายพันธุ์พื้นเมืองถูกละเลยจน
สัตว์พื้นเมืองบางชนิดลดน้อยลงไปมากเกือบสูญพันธุ์ ดังนั้น การหาพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมต่อการผลิตสัตว์ในระบบ
ปศุสัตว์อ ินทรีย์ให้ได้ปริมาณท ี่ต ้องการจึงกระทำได้ยากย ิ่ง
1.4 เกษตรกรผู้ผลิตยังขาดความรู้และความเข้าใจมาตรฐานการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ การผลิตปศุสัตว์
อินทรีย์ที่ต้องการส่งไปจำหน่ายในท้องถิ่นได้นั้น ต้องมีเอกสารหรือตรารับรองเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
ที่จะเลือกซื้อ การผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์อินทรีย์ตามมาตรฐานกำหนดนี้ยังเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย
เกษตรกรจึงยังไม่ทราบข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะผลิตให้ได้ถึงเกณฑ์การรับรอง การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ในประเทศ-
ไทยท ี่ผ่านมาตรฐานร ับรองแล้วป ัจจุบันจ ึงม ีจ ำนวนน ้อยมาก
1.5 การเข้าถึงอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคยังมีน้อย ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ต้องการหาบริโภคอาหารอินทรีย์ยังไม่สามารถหาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นอินทรีย์
ผลิตในประเทศในท้องตลาดทั่วไปได้เลย คงมีเพียงเนื้อสัตว์อินทรีย์ที่ผลิตตามแบบวิถีชุมชนไม่มีตรารับรอง
มาตรฐานวางจำหน่ายในตลาดชุมชนต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง
เนื้อสัตว์ที่ผลิตทั่วไปกับที่ผลิตในแบบปศุสัตว์อินทรีย์ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ที่ได้เคยบริโภคเนื้อสุกรอินทรีย์ที่ผลิต
ตามแบบวิถีชุมชนยอมรับว่ามีความแตกต่างไปจากเนื้อสุกรที่ผลิตตามปกติทั่วไป ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันก็คือ เรื่อง
ของราคาเนื้อสัตว์อินทรีย์ เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนการผลิตและจำหน่ายในราคายุติธรรมแล้วจะต้องมีราคาสูงกว่า
เนื้อสัตว์ที่ผลิตทั่วไป ทั้งนี้เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์มากกว่า มีต้นทุนค่าพื้นที่ต่อการผลิตสัตว์
1 หน่วยสูงกว่า สมรรถภาพการผลิตของสัตว์อินทรีย์ด้อยกว่า อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองเพื่อ
การติดฉลากจึงทำให้ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ต่อหน่วยสูงกว่าสัตว์ที่ผลิตโดยทั่วไป จากความแตกต่างด้าน
ราคาน ี้มีผลท ำให้ผู้บ ริโภคที่ม ีความจำกัดในเรื่องของร ายได้ต้องเลือกซ ื้อเนื้อสัตว์แบบท ั่วไปมาบร ิโภค
1.6 มาตรฐานและการขอรับรองมาตรฐานยังขาดความเช่ือมโยงระหว่างประเทศ มาตรฐานปศุสัตว์
อินทรีย์ที่กำหนดโดยรัฐบาลไทยยังขาดความเชื่อมโยงกับมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์นานาชาติ ฟาร์มปศุสัตว์ที่ได้รับ
การรับรองให้เป็นฟาร์มตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ไทย จึงยังไม่อาจส่งผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ไปจำหน่ายในรูปของ
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ได้ ในส่วนของการรับรองมาตรฐานโดยภาคเอกชนจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
(มกท.) นั้นม ีการเชื่อมโยงก ับมาตรฐานร ะหว่างประเทศ แต่ก็ม ีค่าใช้จ่ายในการต รวจร ับรอง ซึ่งมีผลกระทบต่อต ้นทุน
การผลิต
2. แนวทางแก้ไขปัญหาการผลติ สตั ว์ในระบบปศสุ ัตว์อนิ ทรีย์
แนวทางแ ก้ไขป ัญหาข องการผ ลิตปศุสัตว์อินทรีย์มี ดังนี้
2.1 รัฐฯควรให้การสนับสนุนการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ในเชิงธุรกิจ เพื่อการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ดำเนินไป
ได้ รัฐบาลควรเข้ามาให้การสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรได้ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ การสนับสนุนอาจจะ
อยู่ในรูปของการชดเชยค่าใช้จ่ายหรือรูปอื่นๆ ให้แก่บุคคลต่างๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์สามารถ
ด ำเนินก ารได้
ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช