Page 208 - การผลิตสัตว์
P. 208
12-36 การผลิตสัตว์
เรอื่ งท่ี 12.3.3
รปู แ บบการผลิตแ ละก ารร ับรองผลผลติ ปศุสัตวอ์ นิ ทรยี ใ์นประเทศไทย
1. รปู แ บบก ารผลติ ป ศสุ ัตวอ์ ินทรยี ์
การผลิตป ศุสัตว์อ ินทรีย์จำแนกได้เป็น 2 รูปแบบดังนี้
1.1 ปศุสัตว์อินทรีย์แบบไม่ขอรับการตรวจรับรอง เกษตรกรทำการเกษตรโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ใน
ท้องถิ่นเป็นหลักและใช้แรงงานในค รอบครัว มีการเลี้ยงสัตว์ผ สมผสานก ับการปลูกพืช พันธุ์ส ัตว์ที่เลี้ยงมักเป็นพันธุ์
สัตว์พ ื้นเมืองท ี่มีอ ยู่ในท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว เช่น ไก่พื้นเมือง โค กระบือ และเลี้ยงป ลา ผสมผสานกับก ารท ำนา มีก าร
หมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่เกิดจากการผลิตในฟาร์ม การเลี้ยงสัตว์มีจำนวนเล็กน้อยเป็นการออมทรัพย์ของครัวเรือน
และได้มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ย สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะใช้เป็นแหล่งอาหารของครอบครัวไม่ต้องใช้เงินสดซื้อหา ลักษณะ
การเลี้ยงสัตว์เป็นการเลี้ยงปล่อย อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ลักษณะการเลี้ยงสัตว์
ดังกล่าวจึงสามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้โดยง่าย การผลิตดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าเป็นการผลิตปศุสัตว์
แบบเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเองในปัจจัยการผลิต ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการผลิต มีการใช้ภูมิ-
ปัญญาท้องถิ่น เป็นผู้ผลิตที่ทำด้วยจิตสำนึกในการเลี้ยงสัตว์ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น
ที่ประจักษ์ของชุมชนในท้องที่นั้น มีการดำเนินงานในรูปแบบการทำการเกษตรจากความมุ่งมั่น นำปัจจัยในท้องถิ่น
มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นรูปแบบของการทำการเกษตรแบบดั่งเดิมที่มีมานานแล้ว รูปแบบดังกล่าวนี้
สอดคล้องกับหลักการเกษตรอินทรีย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยให้แก่ครอบครัวและ
แจกจ่ายให้เพื่อนบ้านหรือจำหน่ายในชุมชนเมื่อเหลือจากการบริโภคในครัวเรือน การผลิตในรูปแบบนี้ผู้ผลิตไม่
ประสงค์ขอรับการตรวจร ับรอง ผู้บ ริโภคซึ่งอ ยู่ในท ้องที่นั้นๆ ได้เห็นได้ทราบว ิธีก ารผ ลิตจึงมั่นใจในกระบวนการผลิต
ซึ่งเป็นการผ ลิตป ศุสัตว์ที่ช ุมชนย อมรับว ่าเป็นการผ ลิตแ บบป ศุสัตว์อ ินทรีย์
1.2 ปศุสัตว์อินทรีย์แบบมีการตรวจรับรอง รูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์แบบมีการตรวจรับรองมี 2
ระดับคือ ระดับธ ุรกิจช ุมชน และระดับธุรกิจอ ุตสาหกรรม
1.2.1 ระดับธุรกิจชุมชน เป็นการเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ร่วมกับการปลูกพืช เป็นการ
เลี้ยงสัตว์ในป ริมาณมากกว่าการเลี้ยงส ัตว์แ บบร ายย่อย ทั้งนี้เพื่อผลิตปศุสัตว์เป็นร ายได้หลัก มีก ารจ ัดการเลี้ยงสัตว์
เป็นระบบตามหลักวิชาการ พันธุ์สัตว์ที่ใช้ในการเลี้ยงเป็นพันธุ์สัตว์พันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ใช้
อาหารสัตว์ภายนอกฟาร์ม การเลี้ยงสัตว์ของฟาร์มระดับนี้สามารถปรับเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้โดยรณรงค์
จัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ดี ลดความเครียดให้เกิดน้อยที่สุด มีการเลี้ยงแบบไม่หนาแน่นและมีการเลี้ยงปล่อยสัตว์
เรียนรู้การใช้สมุนไพร และใช้สารที่ได้จากการหมักด้วยจุลินทรีย์แบบธรรมชาติผสมอาหารหรือน้ำดื่มทดแทนการ
ใช้สารเคมีและปฏิชีวนะ ปัญหาสำคัญของการสับเปลี่ยนเป็นการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์คือ ปริมาณอาหารสัตว์ที่จะใช้
ซึ่งต้องม าจ ากก ารผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตเอง ซึ่งไม่เพียงพ อกับค วามต้องการ จึงจำเป็นจ ะต ้องส ร้างเครือข ่าย
เกษตรกรผ ู้ผ ลิตวัตถุดิบอาหารส ัตว์อ ินทรีย์ที่เป็นห ลักส ำคัญๆ เช่น ข้าวเปลือก รำ ปลายข ้าว ข้าวโพด และถั่วต ่างๆ
เป็นต้น ผลิตผลท ี่จ ะนำออกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ได้นั้นจะต ิดตรา ซึ่งต ้องผ่านการต รวจรับรองของ
หน่วยตรวจร ับรองปศุสัตว์อ ินทรีย์ จึงจ ะจำหน่ายได้ราคาข องป ศุสัตว์อ ินทรีย์
1.2.2 ระดับธุรกจิ อตุ สาหกรรม เป็นการผ ลิตสัตว์ข นาดใหญ่แ ละเป็นสัตว์ชนิดใดชนิดห นึ่งเพียงช นิด
เดียว มีจุดประสงค์เพื่อการส่งออกไปจำหน่ายตลาดในเมืองใหญ่และจำหน่ายยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหา
ลขิ สทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช