Page 209 - การผลิตสัตว์
P. 209
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-37
หลักของการผลิตสัตว์ในระดับดังกล่าวนี้คือ ปริมาณอาหารส ัตว์อินทรีย์และสารธรรมชาติยังมีไม่เพียงพอต่อการนำ
ไปใช้ในการผลิต จึงยังไม่มีฟาร์มที่มีการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ระดับธุรกิจอุตสาหกรรมผ่านการตรวจรับรองว่าเป็น
ปศุสัตว์อ ินทรีย์จ ากห น่วยต รวจรับรองข องท างราชการ
2. การรับรองผ ลผลิตป ศสุ ตั ว์อนิ ทรยี ์
จากการที่ลักษณะของผลผลิตปศุสัตว์อินทรีย์กับปศุสัตว์ที่ผลิตในรูปแบบทั่วไปไม่อาจแยกกันด้วยสายตา
ได้อย่างชัดเจน การเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากโดยใช้พื้นที่น้อยจึงมีต้นทุนการ
ผลิตต่ำ รูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ต้องใช้แรงงานในการดูแลสัตว์มากกว่าจึงมีค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงานและ
พื้นที่ในการผลิตสูงกว่าการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม โดยทั่วไปราคาจำหน่ายผลิตผลจากปศุสัตว์อินทรีย์สูงกว่าการ
ผลิตปศุสัตว์แบบอุตสาหกรรม การแยกความแตกต่างผลผลิตปศุสัตว์อินทรีย์กับสัตว์ที่ผลิตแบบทั่วไปจึงต้องมี
การตรวจร ับรอง หากผู้ผลิตต้องการจะติดฉลากคำว่า “อินทรีย์” บนสินค้าเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคท ี่อยู่ห่างไกล
หรือไม่รู้จักได้ทราบ จะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามว่า
ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์นั้นๆ ได้ผลิตตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
ปศุสัตว์อินทรีย์ เป็นการรับรองกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องตรวจที่แหล่งผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่ใช้ในการ
ผลิตต้องมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเป็นปัจจัยที่ถูกต้องตามมาตรฐานของเกษตรอินทรีย์ ไม่ได้รับรองที่ผลผลิตสุดท้าย
โครงการพัฒนาปศุสัตว์อินทรีย์ กรมป ศุสัตว์ (2549) ได้กล่าวถึงกระบวนการร ับรองม ีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
2.1 กลมุ่ ผู้ผลิตและผ ปู้ ระกอบการ เป็นผ ู้มีส ่วนได้ส่วนเสียที่คงค วามเป็นอ ินทรีย์ตลอดกระบวนการผ ลิตถึง
โต๊ะอาหาร ได้แก่ ผู้ผ ลิตปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์อินทรีย์ เป็นต้น เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้แปรรูป
และผู้จำหน่ายผ ลผลิตจ ากส ัตว์ จะต้องผ ่านก ารเรียนรู้ การรักษาความเป็นอ ินทรีย์ตลอดกระบวนการ
2.2 การรับรองระบบงาน โดยหน่วยตรวจรับรองระบบงาน (Accreditation Body) มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า
AB ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติหรือ
ที่ม ีชื่อย่อว่า มกอช. และอ งค์กรส ากล เช่น สหพันธ์เกษตรอ ินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)
2.3 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีการจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขึ้นโดยความเห็นพ้องต้องกันจากผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และนักวิชาการ และได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำหนด
กฎเกณฑ์ ปัจจุบันรัฐบาลโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้
จัดทำเอกสารมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1: การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์
เกษตรอินทรีย์ และเกษตรอินทรีย์เล่ม 2: ปศุสัตว์อินทรีย์ ไว้แล้ว เอกสารมาตรฐานดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้
ทบทวนแ ละป รับปรุงใหม่ทุกๆ 5 ปี
2.4 การตรวจรับรอง โดยหน่วยตรวจรับรอง (Certification Body) มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า CB หน่วยตรวจ
รับรองอาจเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีระบบงานที่ได้รับการรับรองจาก AB ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยตรวจ
รับรองปศุสัตว์อินทรีย์ 2 แห่งค ือ กรมปศุสัตว์ และส ำนักงานมาตรฐานเกษตรอ ินทรีย์ (มกท.) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช