Page 205 - การผลิตสัตว์
P. 205
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-33
5) อาหารหยาบ ประเภทสด แห้ง หรือ หมัก จะต ้องจ ัดหาให้ทุกว ันสำหรับส ัตว์ปีกแ ละสุกร
6) ในก ารเลี้ยงส ัตว์เคี้ยวเอื้อง ห้ามใช้อาหารห มักเพียงอย่างเดียวต ลอดระยะการเลี้ยง
7) ไม่ควรใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ยกเว้นนมและผลิตภัณฑ์นม สัตว์น้ำ
และผ ลิตภัณฑ์
8) ห้ามใช้สารประกอบไนโตรเจนสังเคราะห์ เช่น ยูเรีย เป็นต้น หรือสารประกอบไนโตรเจนอื่นที่
ไม่ใช่โปรตีน
9) มีน ้ำสะอาดให้สัตว์กินอ ย่างพ อเพียง
ข้อกำหนดอื่นๆ ของอาหารที่ใช้ในการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานสินค้า
เกษตรแ ละอ าหารแห่งช าติ มกอช.9000 เล่ม 2-2548
2.3 การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงการป้องกันโรค และลดความเครียดเพื่อให้สัตว์
แข็งแ รง มีภูมิต ้านทานโรคโดยธ รรมชาติ โดยมีการป ฏิบัติการ ดังนี้
1) เลือกใช้พันธุ์สัตว์หรือสายพันธุ์ที่เหมาะส มกับสภาพแ วดล้อมที่เลี้ยง
2) มีการจัดการที่เหมาะสมตามความต้องการของสัตว์แต่ละชนิด เพื่อส่งเสริมให้สัตว์มีสุขอนามัยดี
แข็งแ รง มีความต้านทานต่อโรคและป้องกันก ารติดเชื้อ
3) ให้สัตว์ออกกำลังกาย และปล่อยสัตว์แทะเล็มและหรือให้สัตว์มีโอกาสสัมผัสกับสภาพภายนอก
โรงเรือนเพื่อส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรคต ามธรรมชาติ
4) เลี้ยงสัตว์ตามจำนวนที่เหมาะสมกับพื้นที่โรงเรือน ไม่ให้แออัดหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ
สัตว์ มีพื้นที่เพียงพอให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์อย่างอิสระ และควรเลี้ยงปล่อยรวมกัน
ตามค วามเหมาะส มของช นิดและประเภทของส ัตว์
5) มีการจัดระบบป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเหมาะสม เช่น สุขอนามัยสัตว์ การทำ
วัคซีน การใช้สารสกัดชีวภาพ การกักแยกสัตว์ป่วย การกักกันสัตว์ก่อนนำเข้าฝูง และการป้องกันพาหะนำโรคเข้า
ฟาร์มอย่างเหมาะส ม เป็นต้น
6) ในกรณีที่สัตว์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ ต้องให้การรักษาโดยทันที ถ้าจำเป็นให้แยกสัตว์ป่วย
ออกจากฝูงและจัดให้อยู่ในโรงเรือนที่เหมาะสม แม้ว่าผลการรักษานี้จะทำให้สัตว์ต้องพ้นจากสภาวะของการเป็น
ปศุสัตว์อินทรีย์ก ็ตาม
7) การรักษาโรคในกรณีสัตว์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ ให้เลือกใช้พืชสมุนไพร แร่ธาตุธรรมชาติ
หรือการแ พทย์ทางเลือกก่อนก ารใช้ยาแผนปัจจุบันหรือย าป ฏิชีวนะ โดยพิจารณาให้เหมาะส มกับส ภาพและชนิดสัตว์
8) หากการรักษาตามข้อ 7) ไม่ได้ผล ให้ใช้ยาแผนปัจจุบันหรือยาปฏิชีวนะได้ ภายใต้การดูแลของ
สัตวแพทย์ ระยะการหยุดให้ยาจะต้องเพิ่มเป็นสองเท่าของที่ระบุในเอกสารกำกับยา กรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ให้มีระยะ
เวลาการหยุดให้ยาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง กรณีที่สัตว์ได้รับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะเกิน 2 ครั้ง
ภายใน 1 ปี หรือ 1 ครั้งส ำหรับสัตว์อ ายุไม่ถ ึง 1 ปี ผู้ผลิตจะต้องไม่นำม าจำหน่ายเป็นผลผลิตปศุสัตว์อ ินทรีย์ และ
สัตว์นั้นๆ จะต ้องเข้าสู่ระยะป รับเปลี่ยนใหม่
9) การร ักษาด ้วยฮอร์โมน ต้องอ ยู่ภายใต้ก ารด ูแลข องสัตวแพทย์
10) ห้ามใช้ย าปฏิชีวนะ เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันโรค
11) ห้ามใช้สารเร่งการเจริญเติบโตหรือสารอื่นใดที่มีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือเพิ่ม
ผลผลิต
12) มีก ารเตร ีย มค วามพ ร้อมในก รณีเกิดอ ุบัติเหตุห รือภ าวะฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไฟด ับ เครื่องม ือห ยุด
ทำงาน
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช