Page 204 - การผลิตสัตว์
P. 204
12-32 การผลิตสัตว์
ต้นทุนการผลิต เรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ผสมน้ำให้สัตว์กิน และทำความสะอาดคอก กำจัดกลิ่นใน
มูลสัตว์
1.5 เน้นส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยการผลิตเพื่อการบริโภค ตลาดในชุมชน และเครือข่ายชุมชนใกล้
เคียงก ่อน สนับสนุนโรงฆ ่าส ัตว์ข นาดเล็กในชุมชนที่ถูกสุขอนามัยทำให้ล ดการขนส่ง
1.6 มีมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์เป็นกรอบนำในการปฏิบัติ การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นใจ
ให้ผู้บริโภคได้นั้น ต้องปฏิบัติต ามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ และมีการข อรับรองจากห น่วยตรวจร ับรอง
1.7 มีการบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงานในฟาร์มท่ีละเอียด การบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น แผนผังฟาร์ม
โรงเรือน ตลอดจนการปฏิบัติงาน มีความสำคัญในระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ เพื่อใช้ในการตรวจรับรองและ
ตรวจสอบย ้อนก ลับ
1.8 ป้องกันการปนเป้ือนสารเคมีและสารพิษท่ีเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ที่
เป็น เนื้อ น้ำนม และไข่ ขณะออกสู่ตลาด ทุกขั้นตอนตลอดสายพานการผลิตจนถึงผู้บริโภค จะต้องป้องกันการ
ปนเปื้อนกับสินค้าที่ผลิตในระบบปกติ เช่น มีการแยกการผลิตอาหาร การวางวัตถุดิบ การแปรรูป การขนส่ง
และการว างจำหน่ายส่วนท ี่ใช้ในการผ ลิตป ศุสัตว์อ ินทรีย์ออกจ ากการผลิตปศุสัตว์ป กติ เป็นต้น
2. วธิ กี ารและการจ ัดการผลติ ป ศุสตั วอ์ ินทรยี ์
วิธีการผลิตป ศุสัตว์อินทรีย์ให้สอดคล้องก ับม าตรฐานก ารผลิตป ศุสัตว์อินทรีย์ที่ได้มีการก ำหนดไว้ม ี ดังนี้
2.1 แหล่งที่มาของสัตว์ ในการเลือกใช้ชนิดพันธุ์ ให้เลือกพันธุ์สัตว์ที่มีความสามารถในการปรับตัวใน
สภาพแ วดล้อมแ ละม ีล ักษณะท างพ ันธุกรรมท ี่ท นทานต่อโรค นอกจากนี้จะต ้องมีล ักษณะดังต่อไปนี้
1) ต้องเกิดในฟาร์มที่มีการจัดการตามระบบเกษตรอินทรีย์ เกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีการจัดการตาม
ระบบเกษตรอินทรีย์ ถูกเลี้ยงในระบบอินทรีย์ตลอดช่วงชีวิตของสัตว์ และไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ไปมา
ระห ว่างการเลี้ยงร ะบบอ ินทรีย์แ ละระบบท ั่วไป
2) หากไม่สามารถจัดหาสัตว์ท่ีมีลักษณะตามข้างต้นนี้ได้ อาจใช้สัตว์จากฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไปได้ หาก
ต้องการการรับรองเป็นป ศุสัตว์อินทรีย์ ก็จ ะต้องได้รับความเห็นช อบจากหน่วยต รวจรับรองก่อน โดยสัตว์ท ี่จะน ำเข้า
ฟาร์มควรม ีอายุน ้อยที่สุดเท่าที่จ ะทำได้ เช่น หลังห ย่านม หรือตั้งแต่ออกจ ากไข่ไม่เกิน 3 วัน เป็นต้น และจะร ับรอง
เป็นปศุสัตว์อินทรีย์ได้จะต้องมีระยะการปรับเปลี่ยนระบบตามที่หน่วยรับรองกำหนด ซึ่งศึกษารายละเอียดได้จาก
หน่วยรับรองที่จ ะไปขอการตรวจรับรอง
2.2 อาหารสัตว์ อาหารที่จะนำมาใช้เลี้ยงปศุสัตว์อินทรีย์จะต้องไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีใดๆ อาหาร
ดังกล่าวม ีล ักษณะและก ารจัดก ารอื่นๆ ดังนี้
1) ควรเป็นวัตถุดิบที่ผลิตจากฟาร์มตนเอง ซึ่งเป็นอาหารอินทรีย์ หรืออาจใช้วัตถุดิบจากพื้นที่อื่นๆ
ได้โดยว ัตถุดิบน ั้นต้องเป็นอาหารที่ได้รับก ารรับรองว่าเป็นอาหารอ ินทรีย์
2) ในระยะเริ่มด ำเนินการป รับเปลี่ยน อาหารส ัตว์ที่ใช้จะต้องมีว ัตถุดิบที่ผลิตในร ะบบเกษตรอินทรีย์
ในป ริมาณไม่ต ่ำกว่า 70% ของน้ำหนักแห้งสำหรับสูตรอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง และ 65% ของน้ำห นักแห้งสำหรับสูตร
อาหารส ัตว์ก ระเพาะเดี่ยว
3) สำหรับอาหารที่ไม่ได้มาจากระบบเกษตรอินทรีย์ จะต้องเป็นวัตถุดิบจากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ
ตามธรรมชาติ
4) สูตรอาหารที่ใช้ ควรคำนึงถึงความต้องการทางโภชนะของสัตว์ และสรีระของระบบย่อยอาหาร
โดยส ัตว์เลี้ยงลูกด ้วยนมควรได้รับนมแ ม่เป็นระยะเวลาท ี่เหมาะส มตามช นิดของสัตว์
ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช