Page 201 - การผลิตสัตว์
P. 201
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-29
เรื่องท่ี 12.3.1
ความห มาย และความส ำคัญของการผลติ ส ัตว์ในร ะบบปศุสตั ว์อินทรยี ์
1. ความห มายข องปศสุ ตั ว์อินทรีย์
ปศุสัตว์อินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ ก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของปศุสัตว์อินทรีย์จึงควรที่
จะเข้าใจความห มายของเกษตรอ ินทรีย์ก่อน ดังนี้
เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม
ที่เกื้อห นุนต ่อร ะบบนิเวศ รวมถึงค วามหลากหลายทางช ีวภาพ วงจรช ีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยง
การใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม
(Genetic modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการ
เป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
มกอช. 9000 เล่ม 1-2552)
ปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic livestock) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสัมพันธ์
กลมกลืนร ะหว่างผ ืนด ิน พืช และส ัตว์ที่เหมาะสม เป็นไปตามความต ้องการท างสรีรวิทยาแ ละพ ฤติกรรมสัตว์ ที่ท ำให้
เกิดความเครียดต่อสัตว์น้อยที่สุด ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี เน้นการป้องกันโรคโดยอาศัยการจัดการฟาร์มที่ดี
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแ ละสารเคมี (มาตรฐานสินค้าเกษตรแ ละอ าหารแห่งชาติ มกอ ช. 9000 เล่ม 2-2548)
2. ความส ำคัญของการผลติ ปศสุ ตั วอ์ นิ ทรยี ์
2.1 ปศุสัตว์อินทรีย์ให้ผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภคเนื้อสัตว์และสิ่งแวดล้อม การผลิตปศุสัตว์ในปัจจุบันเป็น
การผลิตในระบบอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงแ ละมีต ้นทุนการผ ลิตต่ำ มีก ารแข่งขันก ันในท างธ ุรกิจ พันธุ์สัตว์ที่
ใช้ในการผลิตเป็นพันธุ์สัตว์ที่ผ่านการคัดเลือกและผสมพันธุ์ให้มีผลผลิตสูง มีการเลี้ยงสัตว์อย่างหนาแน่นสัตว์เกิด
ความเครียดมาก จึงมีภูมิต้านทานต่ำ จำเป็นต้องใช้ปฏิชีวนะสารและสารเคมีสังเคราะห์ในอาหารสัตว์ ทั้งในระดับ
ที่ป้องกันรักษาโรคและระดับที่เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต สารเหล่านี้ที่ตกค้างในตัวสัตว์ทำให้ผู้บริโภคเนื้อและ
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เหล่านี้มีปัญหาด้านสุขภาพคือ มีล ักษณะของการดื้อยา เมื่อเจ็บป ่วยรักษาให้หายได้ยากข ึ้น และ
มีสารก่อมะเร็งอยู่ด้วย การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์จึงได้ห้ามการใช้ปฏิชีวนะและสารต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสรีระของ
สัตว์และสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและสิ่งที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งเป็น
สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะทำลายสิ่งแวดล้อม และทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของ
ระบบนิเวศและนำไปสู่สภาวะโลกร้อน จากพิษภัยของสารเคมีดังกล่าวนี้ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีมาตรการ
ห้ามการใช้ปฏิชีวนะสารทุกชนิดผสมในอาหารสัตว์สำหรับผลิตสินค้าปศุสัตว์เพื่อการบริโภคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
เป็นต้นม า
2.2 ความต้องการของผู้บริโภคเน้ือและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ผลิตในระบบปศุสัตว์อินทรีย์สูงขึ้น การ
เริ่มต้นของเกษตรอินทรีย์มาจากกลุ่มบุคคลในยุโรปต้องการที่จะบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากพิษสารเคมี โดยการ
ผลิตพืชและสัตว์เพื่อบ ริโภคเอง ด้วยวิธีการท ี่ไม่มีก ารใช้สารเคมีส ังเคราะห์ในก ระบวนการผ ลิตที่เรียกว ่า เป็นการท ำ
การเกษตรอินทรีย์ ต่อมาการเกษตรอินทรีย์ได้แพร่หลายและกระจายไปทั่วโลก (กรมส่งเสริมการเกษตร 2552)
ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีความต้องการอาหารอินทรีย์ค่อนข้างสูง และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก ในปี พ.ศ.
ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช