Page 198 - การผลิตสัตว์
P. 198
12-26 การผลิตสัตว์
หลักเข้ามาดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เหล่านี้ ควรเป็นหน่วยงานของทางราชการ หรือหน่วยงานการกุศลของเอกชน
ที่ไม่ได้เน้นธ ุรกิจค ้ากำไร เพื่อจ ะได้เป็นแหล่งพันธุ์ส ัตว์ให้เกษตรกรรายย ่อยนำไปเลี้ยงแบบธรรมชาติต ่อไป
2.2 จัดให้มีพ้ืนท่ีสำหรับการเลี้ยงสัตว์ธรรมชาติ ในปัจจุบันผู้มีทุนทรัพย์ได้มีการครอบครองพื้นที่การ
เกษตรโดยปล่อยทิ้งรกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ รัฐควรมีมาตรการในการนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ
เลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ โดยใช้มาตรการบางอย่างที่จูงใจผู้ถือครองที่ดินให้ความร่วมมือ เช่น การยกเว้นภาษีที่ดิน
เป็นต้น ในอดีตรัฐบาลได้เคยกำหนดให้แต่ละภูมิภาคมีพื้นที่สาธารณะสำหรับการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว การเพิ่ม
พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ธรรมชาติโดยใช้พื้นที่จากเอกชนดังกล่าว จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพื้นที่เลี้ยงสัตว์
ธรรมชาติได้
2.3 ให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการบริโภคเน้ือและผลิตผลจากสัตว์ท่ีเลี้ยงแบบธรรมชาติ ประชาชนบางส่วน
ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงพิษภัยของสารตกค้างในเนื้อและผลิตผลจากสัตว์ที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงควรให้
ความรู้ต่อผู้บริโภคได้หันมาบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศกันอย่าง
กว้างขวาง ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ให้ผู้บริโภคที่ต้องการ
ได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยได้สะดวก เช่น มีสถานที่จำหน่ายให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย หรือจัดระบบสมาชิกบริการ
ส่งไปยังที่นัดหมายให้ เป็นต้น นอกจากความดีเด่นของเนื้อสัตว์และผลผลิตที่เลี้ยงโดยธรรมชาติปราศจากสาร
ตกค้างในเนื้อสัตว์แล้ว ความดีเด่นของเนื้อสัตว์พื้นเมืองและผลผลิตของสัตว์ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติคือ มีรสชาติดี
ให้ความเอร็ดอร่อย เช่น เนื้อไก่พื้นเมือง และเนื้อสุกรที่เลี้ยงโดยธ รรมชาติ เป็นท ี่ยอมรับแก่ผู้ที่ได้บริโภคว ่าม ีรสชาติ
ดีแตกต่างไปจากเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรมอย่างเด่นชัด การประชาสัมพันธ์ความดีเด่นดังกล่าวย่อมจะช่วย
ให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยวิธีธรรมชาติ ทำให้การเลี้ยงสัตว์โดยวิธีนี้แพร่หลายและอาจนำไปสู่
การผ ลิตเป็นธุรกิจทางเลือกได้
2.4 นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาการดูแลติดตามสัตว์ที่เลี้ยง
ในระบบธรรมชาติ ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสื่อสารสนเทศได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถที่
จะใช้ในก ารต ิดต่อสื่อสารแ ละตามห าสิ่งของต ่างๆ ทั่วท ุกหนทุกแห่ง การนำเทคโนโลยีด ังกล่าวมาประยุกต์ใช้ติดตาม
สัตว์ที่ผลิตในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติจากการเลี้ยงปล่อย จะช่วยแก้ไขปัญหาการติดตามดูแลสัตว์ เมื่อสัตว์มีปัญหา
ก็ส ามารถทราบได้ท ันที สามารถเข้าไปแก้ไขได้ท ันเวลา ลดก ารส ูญเสียสัตว์ได้
2.5 ควรมีการกำหนดมาตรฐานและการรับรองสัตว์ที่ผลิตในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำเนื้อ
และผลิตผลจากการเลี้ยงสัตว์ธรรมชาติส่งออกไปจำหน่ายในท้องที่ที่อยู่ไกล หรือส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศได้
ในราคาที่แตกต่างไปจากเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงทั่วไป เช่น เนื้อและผลผลิตจากสัตว์ที่ได้รับการรับรองว่าเลี้ยงในระบบ
ปศุสัตว์ธ รรมชาติ จะจำหน่ายได้ในราคาท ี่ส ูงกว่าเนื้อและผ ลผลิตจากส ัตว์เลี้ยงท ั่วไป เป็นการส ่งเสริมทำให้เกษตรกร
หันม าผลิตสัตว์ในร ะบบธรรมชาติมากขึ้น เพราะให้รายได้ที่คุ้มค่าต ่อการผ ลิต
ลิขสทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช