Page 194 - การผลิตสัตว์
P. 194
12-22 การผลิตสัตว์
3.1.2 อาหารท ีใ่ ช้เลีย้ งไก่
1) เลี้ยงลูกไก่ที่เพิ่งฟักออกมาด้วยข้าวกล้องหรือข้าวเปลือกโดยไม่จำกัดปริมาณและใบไผ่
ซึ่งมีเยื่อใยมาก จะช่วยให้ไก่มีลำไส้แข็งแรง มีประสิทธิภาพการดูดซึมอาหารมากกว่าปกติ อาหารดังกล่าวจะเริ่ม
ให้เมื่อล ูกไก่ม ีอายุได้ 3 วันไปแ ล้ว ไม่มีก ารให้อ าหารผ งสำเร็จรูปท ี่ผลิตจำหน่ายเป็นการค ้า
2) เน้นก ารใชอ้ าหารไกท่ ีผ่ ลิตข ึ้นเองจ ากว ัสดทุ ีม่ อี ยูใ่นท ้องถ ิ่นแ ละม ธี าตอุ าหารค รบบ ริบูรณต์ าม
ที่ไก่ต้องการ นอกจากนี้ยังต้องเน้นความสะอาดของอาหารด้วย การใช้อาหารสำเร็จรูปยังคงมีความสำคัญทางด้าน
การเพิ่มค ุณค่าทางอ าหารให้ไก่เจริญเติบโตเร็ว สมบูรณ์ แต่ก ็เป็นส ่วนห นึ่งคือ 30%เท่านั้น ไม่ใช่ใช้เลี้ยงไก่ท ั้ง 100%
ทุกมื้อ และจ ะให้ก่อนพ ระอาทิตย์ต กดินเพียง 2 ชั่วโมง เพราะช ่วงก ลางว ันไก่จะหากินเองต ามพ ื้นที่ต่างๆ
3) ไม่มีก ารใช้ฮอร์โมน และสารปฏิช ีวนะใดๆ เสริมล งในอาหาร แต่จะใช้น้ำหมักชีวภาพจากพ ืช
เสริมลงในอ าหาร
3.2 การเลีย้ งสุกรธรรมชาติ มีการจ ัดค อก โรงเรือนและอ าหาร ดังนี้
3.2.1 คอกโรงเรือนและอุปกรณ์ท่ีใช้เลี้ยงสุกร คอกสุกรและโรงเรือนในระบบเกษตรธรรมชาติจะมี
โครงสร้างพื้นฐานเหมือนคอกท ี่ใช้เลี้ยงไก่ โดยเลี้ยงไม่หนาแน่นเหมือนกับท ี่เลี้ยงในอ ุตสาหกรรม สุกร 1 ตัวใช้พ ื้นที่
ไม่ต่ำกว่า 1.5 ตารางเมตร รางน้ำและรางอาหารจะแยกกันคนละด้าน เพื่อส่งเสริมให้สุกรได้ออกกำลังกายและได้
รับแสงแดดในบางช่วงเวลาทุกวัน พื้นคอกเป็นพื้นดิน ปูพื้นคอกด้วยวัสดุเศษเหลือการเกษตรชนิดเดียวหรือหลาย
ชนิดผสมกัน เช่น แกลบดิบ ใบไม้ และข ี้เลื่อย เป็นต้น อานัฐ ตันโช (2551) ได้แนะนำก ารเตร ียมพื้นคอกเลี้ยงส ุกร
ธรรมชาติในท้องที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินต่ำ ให้ขุดดินลึกประมาณ 1 เมตรออกไป ส่วนในท้องที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงให้
ก่อบล็อกคอนกรีตสูงขึ้นมาประมาณ 80 เซนติเมตร ผสมวัสดุพื้นคอก ได้แก่ ขี้เลื่อย 100 ส่วน ดิน 10 ส่วน และ
เกลือ 0.3 ส่วน แล้วใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นที่เก็บมาได้เจือจางน้ำ 500 เท่า รดพื้นคอก เพื่อช่วยในการหมักมูลสุกรบน
พื้นคอกของมันเอง เมื่อสุกรขุดคุ้ยและนอนเกลือกกลิ้งบนพื้นคอก สุกรจะกินอาหารที่เกิดจากการหมักมูลสุกรเอง
สุกรจะไม่เป็นโรคผิวหนัง เนื่องจากจุลินทรีย์และสุกรมีความสัมพันธ์แบบเอื้อประโยชน์ต่อกัน แต่ในประเทศไทย
ขี้เลื่อยนั้นหาได้ยากในบางพื้นที่ จึงมีการประยุกต์ดัดแปลงมาใช้เป็นแกลบดิบ (เปลือกข้าว) แทนขี้เลื่อย แต่ต้องมี
การใช้จุลินทรีย์ท้องถ ิ่นหรือน ้ำห มักช ีวภาพที่เจือจ างร ดพ ื้นคอกและปูแกลบให้ส ูงจ ากพ ื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร
ต้องคอยควบคุมแกลบไม่ให้แห้งหรือแฉะ โดยสามารถตรวจสอบได้โดยการลงไปนั่งที่พื้นคอก ซึ่งจะต้องไม่ทำให้
กางเกงเปียกชื้น การควบคุมความชื้นกระทำโดยนำแกลบดิบที่ชื้นแฉะออกมา แล้วนำแกลบดิบใหม่ที่แห้งใส่ลงไป
แทน แกลบดิบที่นำอ อกมาจ ากค อกส ุกรให้นำไปก องหมักไว้จนกระทั่งการย่อยส ลายสมบูรณ์แ ล้ว จึงน ำไปใช้เป็นป ุ๋ย
หมักป รับปรุงบ ำรุงด ินเพาะป ลูก พื้นค อกเลี้ยงส ุกรในล ักษณะด ังก ล่าวน ี้จ ึงเป็นพ ื้นค อกท ี่อ ่อนน ุ่ม เป็นพ ื้นค อกท ี่ม ีช ีวิต
เหมาะแ ก่การเลี้ยงส ุกร สุกรไม่เครียดเพราะสามารถข ุดคุ้ยแสดงพ ฤติกรรมธ รรมชาติอ อกม าได้ วัสดุที่ปูเป็นพื้นค อก
นี้จะมีจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่หลากหลายตามธรรมชาติที่จะใช้ปัสสาวะและมูลของสุกรเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของ
จุลินทรีย์ จึงทำให้ไม่มีก ลิ่นเหม็นของสิ่งข ับถ่ายจ ากส ุกร และไม่มีของเสียอ อกจากฟ าร์ม การเลี้ยงสุกรแบบธ รรมชาติ
นี้จ ะท ำให้เกิดก ารย ุบต ัวข องว ัสดุท ี่ป ูเป็นพ ื้นค อกเมื่อเวลาผ ่านไป จึงท ำให้เกิดเป็นห ลุมในพ ื้นค อกส ุกร ซึ่งเป็นท ี่มาข อง
คำว่า “หมูหลุม” แทนคำว่าการเลี้ยงส ุกรในระบบเกษตรธ รรมชาติ
3.2.2 อาหารแ ละก ารใหอ้ าหารส กุ ร โดยท ั่วไปต ้นทุนก ารเลี้ยงส ุกรจ ะเป็นค ่าใชจ้ ่ายด ้านอ าหารม ากกว่า
60% แต่การเลี้ยงสุกรในระบบเกษตรธรรมชาติเน้นการนำสิ่งท ี่มีอยู่ในธรรมชาติ ในท้องถ ิ่น และนำเศษเหลือทิ้งต่างๆ
กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เศษอาหารเหลือทิ้งจากมนุษย์ เศษพืชชนิดต่างๆ ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้การเลี้ยง
สุกรในระบบเกษตรธรรมชาติจะเสียค่าอาหารต่ำกว่า 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด การเลี้ยงสุกรในวิธีธรรมชาติจะ
พยายามไม่ใช้อาหารสำเร็จรูปทั้งหมด แต่จะลดการใช้อาหารสำเร็จรูปลงแล้วใช้อาหารในท้องถิ่นหรือเศษอาหารแทน
ลขิ สิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช