Page 193 - การผลิตสัตว์
P. 193
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-21
เร็วและให้ผลผลิตสูงนี้มักจะอ่อนแอกว่าพันธุ์สัตว์พื้นเมือง นอกจากนี้ยังพบว่า พันธุ์สัตว์ที่เลี้ยงแบบอุตสาหกรรม
มีความต้านทานโรคต่ำ และมีความสามารถต่ำในการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่มักมีการเปลี่ยนแปลง
บ่อยๆ ดังน ั้น เพื่อท ี่สัตว์ส ายพ ันธุ์ใหม่จะให้ผ ลผลิตได้สูงตามเป้าหมายท างธ ุรกิจที่วางไว้ จึงต้องให้สัตว์ได้รับอาหาร
ที่มีคุณภาพสูง คือให้มีระดับสารอาหารเพียงพอกับความต้องการ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าอาหารที่สัตว์พื้นเมืองที่
ปล่อยหากินเองตามธรรมชาติ การเลี้ยงสัตว์ในแบบอุตสาหกรรมนี้จึงต้องมีการเสริมสารเคมี สารปฏิชีวนะ และ
ฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อป ้องกันสัตว์ป ่วยและให้สัตว์ได้เจริญเติบโตและเพิ่มการให้ผลผลิตในเวลารวดเร็ว สารต่างๆ
ที่เสริมให้สัตว์นี้อาจจะมีสารตกค้างในเนื้อสัตว์และในผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค สัตว์
พื้นเมืองเป็นสัตว์ที่ปรับตัวอยู่ได้ในสภาพธรรมชาติเป็นอย่างดี สามารถสืบพันธุ์ตามธรรมชาติได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้
สารส ังเคราะห์แก่ส ัตว์แต่อย่างใด
3. ตวั อยา่ งการผลติ สัตว์ในระบบป ศสุ ัตวธ์ รรมชาติ
3.1 การเล้ียงไก่ อานัฐ ตันโช (2551) กล่าวถึงการเลี้ยงไก่ในระบบเกษตรธรรมชาติว่าเป็นวิธีการที่ไม่
เหมือนใคร โดยแตกต่างจากวิธีการเลี้ยงไก่โดยทั่วๆ ไปเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านโรงเรือน การให้อาหาร และระบบ
การจัดการต่างๆ ล้วนมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งข้อดีของการเลี้ยงไก่ด้วยวิธีการในระบบเกษตรธรรมชาติ
คือ ไม่ก ่อให้เกิดก ลิ่นเหม็น สัตว์ไม่บ ินหนี ไม่ต้องท ำความส ะอาดค อก ลดจ ำนวนเชื้อก่อโรค ไม่ต้องอาศัยเครื่องท ำ
ความร ้อน สัตว์เลี้ยงม ีสุขภาพด ีขึ้น ระยะเวลาในก ารให้ผลผลิตยาวนานข ึ้น อัตราการออกไข่ดีข ึ้น ไม่มีการใช้สารเคมี
หรือยาในฟ าร์ม และใช้แ รงงานในการดูแลน ้อยลง (เพียง 3-4 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับไก่ 3,000 ตัว) ทำให้ใช้ต้นทุนใน
การเลี้ยงต่ำ และสามารถผลิตอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงไก่ได้เองที่บ้าน และในการเลี้ยงไก่ดังกล่าวยังเป็นการผลิต
ปุ๋ยค อกที่ม ีคุณภาพส ูงได้ด้วยในข ณะเดียวกัน การจ ัดการเลี้ยงไก่ในระบบเกษตรธ รรมชาติม ีด ังนี้
3.1.1 คอกโรงเรอื นแ ละอ ปุ กรณ์ ที่ใช้เลี้ยงไก่ในระบบธ รรมชาติ แบ่งกล่าวได้เป็นข ้อๆ ดังนี้
1) พื้นเล้าไก่ จะต้องเป็นพ ื้นดินไม่ใช่พื้นคอนกรีต มีการใช้วัสดุธรรมชาติปูบนพื้นดิน เช่น ใช้
ฟางข้าวมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใส่บนพื้นดินหนาประมาณ 7 เซนติเมตร สำหรับพื้นคอกไก่ไข่
และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร สำหรับพื้นค อกไก่เนื้อ ไก่ที่เลี้ยงบนด ินไก่จะมีภูมิต้านทานม ากกว่า
2) เล้าไก่ จะต้องมีหลังคาที่มีแสงแดดผ่านเข้าถึงพื้นคอกได้ โดยความกว้างของหลังคาต้อง
ท ำให้แ สงแดดผ ่านเข้าไปได้ 1/3 ของพ ื้นเล้า นอกจากน ี้จะต้องม ีอากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก
3) ผนังเล้าไก่ทั้ง 4 ด้าน จะทำตาข่ายและจะต้องมีม่านที่คอยควบคุมปริมาณอากาศผ่านเข้า
ออกเมื่อเวลาม ีล มแรงเกินไป
4) รางน้ำ จะต้องทำเป็นช่องเฉพาะตัวสำหรับไก่ในแต่ละวัย โดยจะมีระยะห่างของแต่ละช่อง
ให้ไก่ 1 ตัว กินน้ำได้จาก 1 ช่องเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งกัน น้ำที่ไหลในรางจะเป็นน้ำที่สะอาดและเป็นน้ำไหล
ตลอดเวลา
5) ในเล้าไก่จะมีคอนสำหรับเกาะนอน ในระบบเกษตรธรรมชาติจะไม่มีการใช้กรงตับขังแยก
แม่ไก่ไข่อ อกเป็นต ัวๆ ไก่ไข่จ ะมีความสุขในก ารอยู่ร ่วมกัน และเคลื่อนที่ได้ในพื้นที่กว้างข วางกว่ากรงต ับ
6) การให้ค วามอ บอุ่นข องล ูกไก่ท ี่เพิ่งฟ ักอ อกม า จะใช้ค วามร ้อนท ี่ได้จ ากก ิจกรรมข องจ ุลินทรีย์
ที่ก ่อให้เกิดพ ลังงานความร้อนจ ากกระบวนการหมักท ี่เกิดข ึ้นเองในสภาพธรรมชาติบ นพ ื้นดิน และจ ากก ารอยู่ใกล้ชิด
กันท ำให้ได้ไออ ุ่นจ ากลูกไก่ด ้วยกันเอง ไม่มีก ารใช้เครื่องมือควบคุมอ ุณหภูมิสำหรับลูกไก่ เช่น หลอดไฟฟ้า เป็นต้น
7) ไม่เลี้ยงไก่ให้อยู่หนาแน่น การเลี้ยงไก่ร่วมกับการทำสวนผลไม้ แนะนำให้เลี้ยงในจำนวน
15-20 ตัวต ่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
ลขิ สิทธข์ิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช