Page 191 - การผลิตสัตว์
P. 191
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-19
เรอ่ื งท ี่ 12.2.2
การจ ัดการการผลติ ส ัตว์ในระบบปศสุ ัตวธ์ รรมชาติ
1. หลกั การผ ลิตส ตั วใ์นระบบป ศสุ ัตวธ์ รรมชาติ
หลักการผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติ ต้องยึดหลักที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare)
คือ ไม่มีการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์เกิดความเครียด และสัตว์ได้กินอาหารธรรมชาติโดยปราศจากการเสริมอาหาร
สังเคราะห์ อานัฐ ตันโช (2551) ได้กล่าวว่า รูปแบบการผลิตสัตว์ด้วยวิธีเกษตรธรรมชาตินั้น ผู้เลี้ยงจะต้องเข้าใจ
ธรรมชาติของสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์
เหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สด สะอาดต่อผู้บริโภค เพราะผลผลิตที่มีคุณภาพดี มีคุณลักษณะที่
เหมาะส มก ับส ุขภาพท ีด่ ขี องม นุษย์ จะม าจ ากร ูปแ บบก ารผ ลิตท ีเ่หมาะส ม สัตวเ์จริญเติบโตในส ภาวะท ีไ่ม่มคี วามเครียด
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด มีแสงแดด สายลมที่เหมาะสม ห่างไกลจากแหล่งมลภาวะที่จะส่งผลด้านลบต่อ
สุขภาพมนุษย์ การเลี้ยงไก่ โค กระบือ และสัตว์อื่นๆ ที่ปล่อยให้สัตว์หากินอาหารธรรมชาติ ซึ่งเกษตรกรรายย่อย
ที่เลี้ยงสัตว์ในชนบทได้มีการปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตการดำรงชีพตามปกติอยู่แล้ว ลักษณะดังกล่าวนี้นับว่าเป็น
ร ูปแบบห นึ่งของการผ ลิตส ัตว์ในร ะบบปศุสัตว์ธ รรมชาติน ั่นเอง
2. วธิ ีดำเนนิ การแ ละก ารจดั การผ ลิตส ตั ว์ชนิดตา่ งๆ ในระบบปศุสตั วธ์ รรมชาติ
การเลี้ยงสัตว์ที่ปราศจากการกระทำใดๆ ที่ไม่ให้สัตว์เกิดความเครียดนั้นจะต้องมีการจัดการปัจจัยต่างๆ
ให้ส อดคล้องกับหลักการที่ก ำหนดไว้ด ังนี้
2.1 มีพ้ืนท่ีกว้างและได้รับแสงแดด การเลี้ยงสัตว์ธรรมชาตินอกจากการเลี้ยงปล่อยให้หากินอิสระใน
ธรรมชาติแล้ว หากจะเลี้ยงให้อยู่ในโรงเรือนก็จะต้องมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอ เป็นที่ทราบว่าการเลี้ยงสัตว์แบบ
หนาแน่นทำให้สัตว์เกิดความเครียด และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตแ ละสุขภาพของสัตว์ด้วย การผลิตปศุสัตว์
ธรรมชาติจึงต้องให้สัตว์ได้อยู่ในพื้นที่ที่กว้าง เพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสุขสบาย การเลี้ยงสัตว์อยู่ในโรงเรือนก็ต้องให้
สัตว์ได้ร ับแสงแดดเสมือนกับเลี้ยงอ ยู่ก ลางแจ้ง โดยควรให้ส ัตว์ได้รับแสงแดดเป็นป ระจำ วันละไม่น้อยกว่า 45 นาที
แสงแดดนอกจากช่วยทำลายเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยให้สัตว์สังเคราะห์วิตามินดีได้ด้วย สัตว์ที่ได้รับแสงแดดเป็นประจำ
จึงไม่ต้องเสริมวิตามินดีสังเคราะห์ สัตว์จึงไม่มีปัญหาโรคกระดูกเนื่องจากการขาดวิตามินดีเหมือนกับที่เลี้ยงอยู่ใน
โรงเรือน ในวิถีชีวิตการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่อยู่ในชนบทมีการผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติกันอยู่แล้ว
โดยจะปล่อยให้สัตว์หากินอาหารธรรมชาติเอง สัตว์ที่เลี้ยงในสภาพดังกล่าวส่วนใหญ่คือ โค กระบือ แพะ แกะและ
ไก่พื้นเมือง ปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายเลี้ยงสุกรแบบปล่อยลงบนแปลงดินกลางแจ้ง (ภาพที่ 12.3) พบว่า สุกรมี
สุขภาพแข็งแรงก ว่าท ี่เลี้ยงในโรงเรือนท ี่ก ักขังในค อก
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช