Page 186 - การผลิตสัตว์
P. 186
12-14 การผลิตสัตว์
เรือ่ งท ี่ 12.1.4
ปัญหาก ารผลติ ส ตั ว์ในระบบเกษตรผสมผ สานและแนวทางแก้ไข
1. ปัญหาก ารผลิตส ตั ว์ในร ะบบเกษตรผสมผ สาน
ปัญหาก ารผลิตส ัตว์ในระบบเกษตรผ สมผ สาน กล่าวได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1.1 ขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้และความชำนาญในกิจกรรม
ที่นำมาผสมผสาน การนำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าชนิดของพืชและสัตว์ที่นำมาผสมผสานกับการผลิตปศุสัตว์หลักให้ได้
ผลดี จำเป็นจะต้องมีการศึกษาหาความรู้ในกิจกรรมนั้นๆ การขาดความรู้ความเข้าใจและขาดข้อมูลในกิจกรรมที่นำ
มาผสมผสานย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อการผลิตสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสุขภาพสัตว์ ปัญหาต่อสุขภาพสัตว์
ที่มักพบอยู่เสมอในการนำการปลูกพืชมาผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์คือ การขาดข้อมูลของคุณสมบัติของพืชบาง
ชนิดที่มีสารพิษต่อสัตว์ เช่น ต้นไมยราบไร้หนาม และต้นสบู่ดำ เป็นต้น ใบพืชเหล่านี้มีสารพิษทำให้สัตว์ตายได้
การขาดข้อมูลด้านการบริหารจัดการตลอดจนการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมที่จะนำมาผสมผสานกับการผลิตปศุสัตว์
หลัก ก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการและการขาดประโยชน์ที่จะได้รับ การทำกิจการน้อยชนิดย่อมจัดการง่ายกว่า
กิจการหลากหลายช นิด กิจกรรมช นิดต ่างๆ ยิ่งม ีการจัดการที่แตกต ่างก ันม ากแ ละมีความซับซ ้อนมากก็ย่อมม ีปัญหา
ในก ารบ ริหารจัดการมาก ทั้งด ้านเวลาแ ละการใช้ท รัพยากรต ่างๆ เช่น การใช้ทุนแ ละอ ุปกรณ์เครื่องมือต ่างๆ เป็นต้น
ผลดังกล่าวอาจกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพการผลิตปศุสัตว์หลักนั่นคือ เกษตรกรจะมีโอกาสสูญเสียรายได้
ไปจ ากก ารเลี้ยงส ัตว์ห ลักท ี่มีความร ู้และค วามช ำนาญอ ยู่แล้ว
1.2 ขาดปัจจัยที่จำเป็นที่จะนำมาใช้กับกิจกรรมท่ีนำมาผสมผสานกับการผลิตปศุสัตว์ การดำเนินกิจกรรม
ปลูกพ ืชและเลี้ยงส ัตว์ท ี่เพิ่มข ึ้นย่อมจ ะต้องใช้ปัจจัยต่างๆ เพิ่มขึ้นตามปริมาณและลักษณะข องก ิจกรรมนั้นๆ ปัจจัย
พื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการดำเนินงานคือ แรงงาน ทุนทรัพย์ ตลอดจนพื้นที่จะต้องมีเพียงพอที่จะใช้ในการ
ดำเนินงาน การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงสุกรจำเป็นจะต้องลงทุนในการสร้างบ่อเลี้ยงปลา และลงทุนวัสดุ
อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่แตกต่างไปจากการเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นการ
เพิ่มค่าใช้จ่ายในฟาร์มสูงขึ้น ทำนองเดียวกันกับการปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ อาจจะต้องลงทุนอุปกรณ์
ในก ารเพาะป ลูกพ ืชเพิ่มข ึ้น เช่น รถไถพรวน เป็นต้น
1.3 ขาดตลาดท่ีรับซื้อผลผลิต โดยทั่วไปก ารผลิตป ศุสัตว์ท ี่เป็นห ลัก เกษตรกรจ ะมีต ลาดท ี่แน่นอนอ ยู่แล้ว
การเพิ่มกิจกรรมที่นำมาผสมผสานกับกิจกรรมหลักย่อมได้ผลิตผลใหม่ที่แตกต่างไปจากผลิตผลหลักของปศุสัตว์
พ่อค้าค นกลางม าร ับซ ื้อป ศุสัตว์ห ลักม ักจ ะซ ื้อส ินค้าช นิดเดียว ผลิตผลช นิดใหม่ท ี่ม ีป ริมาณน ้อยอ าจจ ะไม่ด ึงดูดพ ่อค้า
มารับซื้อ เพราะไม่คุ้มก ับค่าใช้จ่าย ทำให้ต ้องไปหาต ลาดจ ำหน่ายผ ลิตผลใหม่ที่ได้จ ากการผ สมผสานเอง
2. แนวทางแ กไ้ ขป ญั หา
แนวทางแก้ไขป ัญหาก ารผลิตสัตว์ในระบบเกษตรผ สมผสานท ี่ก ล่าวถ ึงข้างต ้นมี ดังนี้
2.1 ศึกษาข้อมูลและทดลองกิจกรรมใหม่ๆ ที่จะนำผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นกิจกรรมหลัก การ
ศึกษาหาความรู้และหาข้อมูลต่างๆ ของกิจกรรมที่นำมาผสมผสานให้มากที่สุด เช่น ลักษณะ วิธีการปฏิบัติดูแล
ข้อจำกัด ความเหมาะสมกับพื้นที่ของฟาร์ม ตลอดจนแรงงานในส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายในฟาร์มที่จะดำเนินการได้
นอกจากนี้ผู้ดำเนินการจะต้องมีความชอบที่จะดำเนินการด้วย การศึกษานี้นอกจากศึกษาจากเอกสารแล้ว ควรต้อง
ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช