Page 182 - การผลิตสัตว์
P. 182
12-10 การผลิตสัตว์
เร่อื งที่ 12.1.3
การผ ลิตสัตวผ์ สมผ สานก บั ก ารผ ลติ พชื
การผลิตสัตว์ผสมผสานก ับการป ลูกพืชน ั้น หมายถ ึง มีการผ ลิตสัตว์เป็นห ลัก อาจเป็นสัตว์เพียงช นิดเดียว
หรือหลายชนิดก็ได้และมีการปลูกพืชร่วมอยู่ด้วยในฟาร์มเดียวกัน โดยมีหลักการดังนี้คือ สัตว์ที่เลี้ยงจะต้องให้
ประโยชน์เกื้อกูลต่อการปลูกพืช และพืชที่ปลูกก็จะต้องเกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ในทางกลับกันพืช
ที่นำมาปลูกร ่วมกับก ารผลิตสัตว์น ี้จะต ้องไม่ก ่อให้เกิดผลเสียต ่อสัตว์ท ี่ผ ลิต การผ ลิตสัตว์ผ สมผ สานก ับการผ ลิตพืช
ให้ได้ผลดีจะต้องเลือกชนิดของพืชที่เหมาะสมต่อการผลิตสัตว์ที่ดำเนินอยู่นั้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการ
ศึกษาธรรมชาติและคุณสมบัติของพืชที่จะนำมาปลูก มีการวางเป้าหมาย คัดเลือกพันธุ์พืช วางแผนการปลูก การ
ประเมินผล ตลอดจนการปรับปรุงวิธีการอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้เป้าหมายที่วางไว้ การผลิตสัตว์ผสมผสานกับการ
ผลิตพืชให้ได้ผลดี ควรทำความเข้าใจถึงลักษณะการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกัน
และการป ระเมินผ ลเพื่อน ำมาป รับปรุงก ารผลิตให้เกิดประโยชน์ส ูงข ึ้น ดังนี้
1. ลักษณะก ารเกื้อกูลร ะหว่างก ารผ ลติ ส ัตว์กับการผลติ พ ืช
การเกื้อกูลก ันร ะหว่างก ารเลี้ยงสัตว์ก ับก ารป ลูกพืชม ีลักษณะ ดังนี้
1.1 สัตว์และพืชต่างให้ธาตุอาหารซึ่งกันและกัน สัตว์ให้สิ่งขับถ่าย ได้แก่ มูลและปัสสาวะ ซึ่งมีธาตุอาหาร
ที่เหลือจากการย่อยและดูดซึม ตลอดจนซากสัตว์และผลิตผลจากสัตว์เป็นปุ๋ยแก่พืช ในขณะเดียวกันส่วนต่างๆ
ของพืชก็นำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ พืชให้โภชนะที่สัตว์จำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ จำเป็นต่อการพึ่งพาลักษณะเป็นปกติของการเกษตรแบบ
ผ สมผ สานของก ารปลูกพืชร่วมกับก ารเลี้ยงส ัตว์
1.2 ให้ความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างสมดุลของระบบนิเวศ มูลสัตว์เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์
และสัตว์อื่นๆ เช่น ไส้เดือน แมลงชนิดต่างๆ บริเวณที่มีมูลสัตว์จึงอุดมไปด้วยจุลินทรีย์และสัตว์นานาชนิด สร้าง
ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งให้ประโยชน์ต่อการปลูกพืชคือ ทำให้พืชที่ปลูกมีการเจริญงอกงามดี อันเนื่องจาก
จุลินทรีย์จากมูลสัตว์ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินเพื่อให้พืชได้ใช้ประโยชน์ ไส้เดือนช่วยทำให้ดินร่วน
โปร่งซุย มีการระบายอากาศที่ดี ช่วยทำให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ทำให้พื้นที่มีจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น จึงเป็นการลดความสูญเสียของการปลูกพืชเนื่องจาก
ถูกศ ัตรูพืชทำลาย
1.3 สัตว์ช่วยทำลายวัชพืช วัชพืชเป็นพืชที่ไม่ต้องการ เพราะแย่งอาหารไปจากพืช ทำให้ผลผลิตพืชผล
ตกต่ำ การปลูกพืชมักมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการ
ควบคุมและกำจัดวัชพืชนั้นเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ตกค้างในสภาพแวดล้อมจะทำลาย
ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์เลี้ยงบางชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมวัชพืชได้ดี เช่น ห่าน
และแพะ เป็นส ัตว์ชอบก ินพ ืชแทบทุกชนิดโดยเฉพาะอ ย่างย ิ่งห ญ้า ซึ่งเป็นว ัชพืชข องการเพาะป ลูกท ั่วไป ในพ ื้นที่ท ี่ม ี
วัชพืชจำนวนม าก มักใช้ส ัตว์เหล่าน ี้ควบคุมวัชพืชก่อนที่จะท ำการเขตก รรมปลูกพืชที่ต ้องการ
ลิขสทิ ธิ์ของมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช