Page 178 - การผลิตสัตว์
P. 178
12-6 การผลิตสัตว์
หรือมีการปลูกพืชผักผลไม้ กิจกรรมที่ดำเนินการเพิ่มขึ้นที่มีการนำมาผสมผสานกันนี้ ย่อมทำให้เกษตรกรมีรายได้
เพิ่มข ึ้นน อกเหนือจากรายได้ห ลักจากการเลี้ยงส ัตว์เพียงช นิดเดียว
2.3 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน อาชีพการเกษตรนอกเหนือจากความเสี่ยงต่อความเสียหายจากภัย
ธรรมชาติแล้ว ความเสี่ยงที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งคือ ความเสี่ยงต่อราคาและภาวะของตลาด วงจรของราคา
ปศุสัตว์แต่ละชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่สามารถจะคาดหมายได้อย่างแน่นอน ในช่วงที่ราคาปศุสัตว์
ชนิดใดชนิดหนึ่งมีราคาตกต่ำ ราคาปศุสัตว์อีกชนิดหนึ่งหรือกิจกรรมการเกษตรชนิดอื่นที่ดำเนินอยู่มีราคาดี ก็จะ
ช่วยแบ่งเบาความรุนแรงของการขาดทุนจากการปศุสัตว์ที่มีราคาตกต่ำนี้ได้ ทำนองเดียวกัน ความเสียหายจากภัย
ธรรมชาติที่เกิดขึ้นต่อปศุสัตว์ เช่น ในช่วงที่โรคอหิวาต์สุกรระบาดก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสุกรมาก เพราะโอกาส
ที่สัตว์ป่วยจะรอดชีวิตนั้นมีน้อยทำให้ขาดรายได้จากการเลี้ยงสุกร แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวฟาร์มก็จะยังมีรายได้จาก
กิจกรรมอื่นม าช่วยลดความเสียหายจากการเลี้ยงสุกรได้ เป็นต้น
2.4 ทำให้มีรายได้กระจายตลอดท้ังปี การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาในการเลี้ยงระยะหนึ่งจึงจะ
นำไปจำหน่ายมีรายได้ เช่น การเลี้ยงสุกรขุน จำหน่ายได้เมื่อสุกรมีอายุ 5-6 เดือน และการเลี้ยงโคนมใช้เวลา
2-2.5 ปี จึงจะเริ่มรีดนมจำหน่ายได้ เป็นต้น ในระหว่างที่รอรายได้จากการเลี้ยงสัตว์นี้หากมีการทำเกษตรแบบ
ผสมผ สานก็จะมีร ายได้จากกิจกรรมอื่นม าใช้ ทำให้เกษตรกรม ีรายได้ก ระจายต ลอดทั้งปีได้ เช่น ในร ะหว่างท ี่ร อเวลา
จำหน่ายสุกรขุนจะม ีการป ลูกผักบ ุ้ง ซึ่งม ีอายุเก็บเกี่ยวป ระมาณ 25 วัน หรือเลี้ยงนกกระทา ซึ่งมีอายุเริ่มไข่ประมาณ
42 วัน การนำผักบุ้งมาปลูกและมีการเลี้ยงนกกระทาไข่ก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ระหว่างที่รอการจำหน่ายสุกรขุน
เป็นต้น
2.5 ช่วยลดการเกิดมลภาวะต่อส่ิงแวดล้อม การเลี้ยงปศุสัตว์เพียงชนิดเดียวจำนวนมากมีโอกาสจะก่อให้
เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้มาก ปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากของเสียที่ขับถ่ายจากตัวสัตว์และจากโรงเรือน
เลี้ยงสัตว์ที่สะสมมากเกินกว่าที่จะให้ธรรมชาติบำบัดได้ทันเวลา การปล่อยทิ้งไว้จะเกิดกลิ่นเหม็นและเกิดการ
เน่าเสียต่อแหล่งน้ำ การนำของเสียเหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมอื่นที่ผสมผสานอยู่ในฟาร์มก็จะช่วยแก้ไข
ปัญหาการเกิดมลภาวะได้ วิธีที่นิยมนำมาดำเนินการเป็นประจำกันอยู่โดยการนำสิ่งขับถ่ายจากสัตว์และของเสียจาก
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักสิ่งขับถ่ายจากสัตว์เป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี เมื่อนำ
ไปป รับปรุงบำรุงด ินเพื่อป ลูกพืชผักจ ะช่วยให้ดินม ีโครงสร้างท ี่ด ี พืชเจริญเติบโตงอกงามแ ละแข็งแ รง การใช้ปุ๋ยห มัก
จึงเป็นการช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้การนำของเสียเหล่านี้เป็นอาหารเลี้ยงปลาก็จะเป็นอีกทาง
หนึ่งที่ช ่วยล ดมลภาวะได้เช่นกัน
2.6 ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายภายในฟาร์มและกระจายแรงงานได้ตลอดปี สิ่งขับถ่ายจากการเลี้ยงสัตว์ที่ผลิต
เป็นปุ๋ยหมักเมื่อนำไปปรับปรุงบำรุงดินปลูกพืชอาหารสัตว์ก็จะช่วยลดการซื้อปุ๋ยเคมี เมื่อนำพืชอาหารสัตว์นั้นมา
เลี้ยงส ัตว์ก็จ ะช ่วยลดค ่าใช้จ ่ายในก ารจัดซื้อพืชอาหารส ัตว์จ ากภายนอก ซึ่งต ้องเสียค ่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอ ย่าง
ยิ่งค่าใช้จ่ายในการขนย้ายจากท้องที่ที่อยู่ห่างไกล การกระจายการใช้ปัจจัยการผลิตในกิจกรรมต่างๆ เป็นการช่วย
ลดต้นทุนการผลิตได้เช่นกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การผสมผสานกิจการอื่นร่วมกับการเลี้ยงสัตว์นำไปสู่การใช้
ปัจจัยการผลิตร่วมกันช่วยทำให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร เช่น กรณีของรถไถเดินตามที่นำมาใช้ในการ
ไถนาปลูกข้าว เมื่อว่างเว้นจากการใช้เตรียมดินปลูกข้าว หากมีการเลี้ยงปลาก็สามารถที่จะนำเครื่องยนต์จากรถไถ
เดินตามไปฉุดเครื่องสูบน้ำเข้าบ่อปลา หรือใช้พ่วงเข้ากับรถพ่วงขนย้ายอาหารสัตว์และวัสดุอื่นๆ ทำให้ใช้ประโยชน์
ของอุปกรณ์ต่างๆ คุ้มค่าช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ การเกษตรแบบผสมผสานยังเป็นการช่วยกระจายแรงงานใน
ครัวเรือนได้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งวันและทั้งปี กิจกรรมทางพืชเหมาะกับการทำงานในช่วงเช้าที่มีอากาศไม่ร้อน
ในช่วงสายและกลางวันที่มีแสงแดดกล้าอากาศร้อนก็เปลี่ยนไปทำกิจกรรมในร่มคือ การเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน การ
ลขิ สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช