Page 180 - การผลิตสัตว์
P. 180
12-8 การผลิตสัตว์
1.1 การเลี้ยงเป็ดร่วมกับการเล้ียงสุกร ปัจจุบันโรงเรือนเลี้ยงสุกรหลายฟาร์มเป็นโรงเรือนแบบยกพื้น
พื้นคอกเป็นช่องหรือที่เรียกว่า พื้นสแลต (Slatted floor) สิ่งขับถ่ายจากตัวสุกรจะหล่นลงพื้นคอกด้านล่างทางช่อง
นี้ รวมทั้งเศษอาหารที่ตกหล่นจากที่สุกรกิน มีการเลี้ยงเป็ดไว้ใต้พื้นคอกเลี้ยงสุกรเพื่อเก็บกินเศษอาหารที่ร่วงหล่น
ลงมา เศษอาหารที่ร่วงหล่นนี้ให้ประโยชน์ต่อการเลี้ยงเป็ดแทนที่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ บางครั้งอาจจะมีหนอน
ของแ มลงและไส้เดือนในม ูลสุกรที่ต กค้างใต้พื้นคอก ซึ่งเป็ดส ามารถใช้ปากไซ้กินเป็นอาหารได้เช่นกัน
1.2 การเล้ียงไก่พื้นเมืองร่วมกับการเล้ียงโคนม โคนมที่เลี้ยงในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นโคนมที่มี
เลือดโคนมทางยุโรปอยู่สูง การเลี้ยงโคนมปล่อยในแปลงหญ้าในประเทศไทย ซึ่งมีสภาพอากาศร้อนชื้นมักมีปัญหา
จากตัวเห็บ เพราะโคนมยุโรปไม่ทนต่อเห็บ จึงมักป่วยเป็นโรคไข้เห็บ ได้มีการนำไก่พื้นเมืองเลี้ยงร่วมกับโคนม
ที่เลี้ยงในสภาพปล่อยแปลงหญ้า ไก่พื้นเมืองจะช่วยโคนมในการจิกกินตัวเห็บ จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาของการ
เลี้ยงโคนมที่เลี้ยงปล่อยแปลงหญ้าโดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดเห็บ ในขณะเดียวกันไก่พื้นเมืองถ่ายมูลลง
ในแปลงหญ้าเป็นปุ๋ยช่วยทำให้ต้นหญ้าเจริญเติบโต โคนมได้กินหญ้าเป็นอาหาร เป็นตัวอย่างของการเกื้อกูลซึ่งกัน
และกัน อนึ่ง กรณีการเลี้ยงโคนมในโรงเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคอกรีดน้ำนม จะนำสัตว์ปีกไปเลี้ยงอยู่ร่วมกัน
ไม่ได้ เพราะสัตว์ปีกจะบินเกาะถ่ายมูลติดส่วนต่างๆ ภายในโรงเรือน ทำให้โรงเรือนสกปรก และเป็นปัญหาต่อ
การทำความสะอาดโรงเรือน จึงท ำให้ในโรงเรือนม ีสภาพไม่เหมาะสมต ่อก ารใช้เป็นส ถานที่รีดน้ำนมโค
1.3 การเลี้ยงไก่พื้นเมืองร่วมกับสุกร สุกรที่เลี้ยงปล่อยในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีวัสดุเศษเหลือการ
เกษตรปูพื้นคอก ไก่พื้นเมืองจะจิกกินเศษอาหารที่ร่วงหล่นออกจากรางอาหารสุกร และช่วยกำจัดสัตว์ร้ายที่จะทำ
อันตรายต่อสุกรได้แก่ ตะขาบและแมงป่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองร่วมกับสัตว์ชนิดต่างๆ เหล่านี้ควรมีขอนวางอยู่บน
ท ี่สูงให้ไก่พ ื้นเมืองได้เกาะนอนยามค่ำคืน และม ีร ังให้ไก่ได้ว างไข่ด้วย
1.4 การเลี้ยงสัตว์ปีกร่วมกับการเล้ียงปลา สัตว์ปีกที่นิยมร่วมกับการเลี้ยงปลาคือ การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา
โดยสร้างโรงเรือนอยู่บนบ่อปลา ซึ่งมักจะพบเห็นอยู่เสมอๆ นอกจากปลาจะได้กินมูลไก่และเศษอาหารไก่ที่ตกลง
ในบ่อปลาเป็นอาหารโดยตรงแล้ว มูลสัตว์ปีกยังช่วยทำให้เกิดอาหารปลาทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดแพลงตอนและ
สาหร่าย เป็นต้น ปลาสามารถกินสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นอาหารได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะต้องศึกษาถึงปริมาณมูลไก่
ที่เหมาะสมด้วย เพราะหากมีจำนวนไก่มากเกินไปก็จะมีมูลไก่มากจนปลากินไม่ทัน ทำให้น้ำในบ่อปลาเน่าเสียเป็น
อันตรายต่อปลา ถ้าหากมีการเลี้ยงไก่จำนวนมากควรให้โรงเรือนเลี้ยงไก่อยู่นอกบ่อปลา ใช้วิธีการขนย้ายมูลไก่ใน
ปริมาณท ี่เหมาะสมมาใส่ในบ ่อปลาก ็จะป ้องกันน้ำในบ่อป ลาเน่าเสียได้ ชนิดของปลาท ี่จะเลี้ยงโดยว ิธีน ี้ต้องเลือกปลา
ที่กินม ูลไก่เป็นอาหารได้
2. การเล้ยี งส ัตวช์ นิดอืน่ ๆ ร่วมก ัน
การเลี้ยงส ัตว์ช นิดอื่นๆ ร่วมกันมีได้หลายช นิด ตัวอย่างท ี่จ ะก ล่าวต ่อไปน ี้ ซึ่งม ีการนำม าป ฏิบัติแ ละได้ผ ลดี
แล้วมี ดังนี้
2.1 การเลี้ยงสัตวใ์ หญร่ ่วมก บั ก ารเลยี้ งปลา สัตว์ใหญ่ในที่น ี้หมายถ ึง สุกร โค กระบือ แพะแ ละแกะ ยกเว้น
ส ัตว์ปีก มูลของสัตว์ใหญ่นำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาได้ดีเช่นเดียวกับมูลไก่ หลักการและวิธีการใช้เป็นไปในทำนอง
เดียวกันกับการเลี้ยงไก่ และต้องระวังปริมาณของเสียจากการขับถ่ายจากสัตว์ที่มากเกินไปที่จะทำให้น้ำในบ่อปลา
เน่าเสียเช่นกัน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ควรมีการระบายอากาศดี ไม่ร้อนอบอ้าวเกินไป พื้นโรงเรือนต้องแห้งและสะอาด
อยู่เสมอ ให้ระวังคือความชื้นจากน้ำในบ่อปลาจะทำให้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์มีความชื้นสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ของสัตว์ การเลี้ยงสุกรอาจจะสร้างโรงเรือนส่วนหนึ่งยื่นลงไปในบ่อปลา โดยให้สุกรสามารถลงไปแช่น้ำในบ่อปลา
ได้เสมือนกับบ่อปลาเป็นส้วมน้ำ วิธีการนี้จะช่วยลดความเครียดของสุกรจากอากาศร้อนได้ สิ่งขับถ่ายจากสุกรที่
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช