Page 185 - การผลิตสัตว์
P. 185
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-13
3.3 การเล้ียงสกุ รแบบ “หมหู ลุม” ผสมผสานก ับการป ลูกพ ืช ปัจจุบันเกษตรกรร ายย่อยในชนบทน ิยมผลิต
สุกรในรูปแบบของหมูหลุมกันมาก เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการผลิตสุกรผสมผสานกับการผลิตพืช ด้วยการผลิต
ปุ๋ยหมักจากมูลสุกรร่วมกับเศษซากพืชโดยให้สุกรช่วยเร่งการย่อยสลายซากพืช ตัวอย่างที่จะนำมากล่าวนี้เป็นงาน
วิจัยทดลองของ สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และคณะ (2552) ได้ทดลองเลี้ยงสุกรบนวัสดุรองพื้นที่มีความสูง 1 เมตร
(หมูหลุม) วัสดุรองพื้นประกอบด้วย ใบลำไยแห้ง ก้านยาสูบ และวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการใช้แล้วโดยใส่เป็นชั้นๆ
ให้มีความหนาชั้นละ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้นโรยด้วยรำละเอียด และมูลวัวแห้งในอัตรา 1 และ 10 เปอร์เซ็นต์
ของน ้ำห นักวัสดุในแ ต่ละช ั้น จากน ั้นปิดคลุมหน้าด้วยแกลบ และใส่แกลบเพิ่มอีกเมื่อวัสดุร องพ ื้นยุบตัวล ง ในแต่ละ
คอกใช้ว ัสดุรองพื้นรวมทั้งส ิ้น 1,378 กิโลกรัม เลี้ยงสุกรสายพันธุ์ลูกผสม 3 สายเลือด (ดูรอค×ลาร์จไวท์×แลนด์เรซ)
ขนาดน ้ำหนัก 15 กิโลกรัม ในคอกขนาด 2×3 ตารางเมตร การปล่อยสุกรเลี้ยงในคอกน ี้จำนวน 3, 5 และ 7 ตัว/คอก
ทำการเลี้ยงสุกรจนกระทั่งส ุกรม ีขนาดน้ำห นัก 90 กิโลกรัม ผลปรากฏว ่าค อกที่เลี้ยงสุกร 3, 5 และ 7 ตัว มีอ ัตราการ
เจริญเติบโตเฉลี่ยว ันล ะ 554.2, 514.1 และ 474.5 กรัมต ่อตัวต ่อวัน ตามล ำดับ และม ีอัตราแ ลกน้ำห นัก 2.47, 2.57
และ 2.65 ตามลำดับ ได้ปุ๋ยหมักเฉลี่ย 2,100, 2,350 และ 2,680 กิโลกรัม ตามลำดับ ปุ๋ยหมักนี้มีความชื้นเฉลี่ย
ในช่วง 46-52 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำปุ๋ยหมักไปวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางเคมี ปรากฏว่ามีธาตุอาหารเฉลี่ยดังนี้
กNับ=ก2า.3ร1ป%ลูก, ขP้า2วOโ5พด=ฝ2ัก.7อ0่อ%นจแะลไดะ้ผKล2ผOลิต=เ2พ.0ิ่ม2ข%ึ้นอซยึ่ง่าสงูงนก่าวพ่าอขัใ้นจต่ำเมสืุ่อดใขสอ่ปงุ๋ปยหุ๋ยมอินักทจารกียห์มมาตูหรลฐุมานนี้ลจงาไปกกในารอนัตำรไาป2ทดตสันอไบร่
โดยมีน้ำหนักสดฝักรวมเปลือกเพิ่มขึ้นกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยหมักถึงร้อยละ 41.16 ความสูงของต้นข้าวโพดแตกต่างกัน
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ เมื่อนำปุ๋ยหมักจากหมูหลุมไปทดสอบกับ
พืชที่ให้ผลผลิตสูง คือ องุ่น ซึ่งปลูกโดยมูลนิธิโครงการหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่าสามารถใช้แทนปุ๋ย
มูลโคร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นปุ๋ยปกติที่มูลนิธิโครงการหลวงใช้ประจำได้ โดยไม่ทำให้ผลผลิตและความหวานของ
องุ่นลดล งแต่ประการใด
การใช้เศษซากพืชปูเป็นพื้นคอกปศุสัตว์ให้ผลดีอีกประการหนึ่งคือ ช่วยทำให้คอกสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น และ
ยังช่วยทำให้ไม่มีน้ำเสียไหลออกมาจากคอกสัตว์อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัสดุเหล่านี้ได้ดูดซับน้ำเสียเหล่านี้ไว้ และเป็น
ที่อยู่ของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้เป็นอย่างดี เมื่อนำวัสดุดังกล่าวที่ผ่านการปูพื้นคอกมาปล่อยทิ้งให้
การหมักเกิดขึ้นจนสมบูรณ์แล้วนำไปใช้ในการปลูกพืช ปรากฏว่าช่วยทำให้พืชที่ปลูกเจริญงอกงามดีโดยไม่ต้อง
ใช้ปุ๋ยเคมี ลักษณะก ารเลี้ยงสุกรดังกล่าวท ี่เรียกก ันว่า “หมูหลุม” นี้ได้มีการนำว ิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการ
ผลิตสัตว์ชนิดอ ื่นๆ เช่น การเลี้ยงโค และเรียกชื่อการเลี้ยงโคลักษณะน ี้ว่า “โคหลุม” เป็นต้น
กจิ กรรม 12.1.3
การเล้ยี งเปด็ ผ สมผสานกบั การปลกู ข้าวใหป้ ระโยชนเ์ ก้ือกลู กนั อ ยา่ งไร
แนวตอบก ิจกรรม 12.1.3
เป็ดช่วยกินหอยเชอรรี่และแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูของต้นข้าว และมูลเป็ดที่ถ่ายลงไปในนาข้าวช่วย
ปรับปรุงบ ำรุงด นิ ในนาข ้าวทำให้ขา้ วเจริญง อกงามด ขี ึ้น ข้าวเปลอื กท ่ตี กหล่นในน าเปด็ ไดน้ ำม าก นิ เปน็ อ าหาร
ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช