Page 189 - การผลิตสัตว์
P. 189
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-17
เรอื่ งที่ 12.2.1
ความห มายและความสำคัญของการผลติ สตั ว์ในระบบป ศสุ ัตวธ์ รรมชาติ
1. ความห มายของป ศสุ ตั ว์ธ รรมชาติ
การผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติ คือ การให้สัตว์ที่เลี้ยงได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในธรรมชาติ
โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) ไม่มีการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์เกิดความเครียด ไม่มีการตัดแต่ง
ส่วนของร่างกาย และให้สัตว์ได้รับอาหารธรรมชาติที่ปราศจากสารสังเคราะห์ สัตว์สามารถแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
ธรรมชาติและปรับตัวเองให้อยู่กับธรรมชาติได้ การผลิตสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติจึงต้องเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่
กว้างขวางกว่าระบบการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นธุรกิจทั่วไป เช่น ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยอาหารจากพื้นดิน เป็นต้น สัตว์ที่เลี้ยงจะ
ต้องได้รับสิ่งแวดล้อมท ี่มีอ ยู่ในธรรมชาติ เช่น ได้ร ับแสงแดด หรือม ีแ หล่งน ้ำให้เป็ดได้ว่ายน ้ำตามธ รรมชาติ เป็นต้น
อาหารที่สัตว์ได้กินต้องเป็นอาหารธรรมชาติที่ปราศจากอาหารชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เช่น ปราศจาก
สารเคมีสังเคราะห์ และสารป ฏิชีวนะ เป็นต้น
2. ความสำคัญของก ารผ ลิตสัตวใ์ นระบบปศสุ ัตวธ์ รรมชาติ
การผ ลิตสัตว์ในร ะบบป ศุสัตว์ป ัจจุบันเป็นการผลิตแบบอ ุตสาหกรรมโดยมุ่งให้ได้ผ ลผลิตเข้าส ู่ต ลาดในเวลา
รวดเร็ว และมุ่งผลิตให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด เพื่อให้สามารถแ ข่งขันกัน โดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ที่ต้อง
ได้รับความเครียด การเลี้ยงสัตว์โดยใช้พื้นที่ต่อตัวน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายพื้นที่ต่อตัวให้ต่ำ ทำให้สัตว์ที่
เลี้ยงต้องอยู่กันแ ออัด มีความเครียดสูง สัตว์ท ี่เลี้ยงจึงอ ่อนแอ และเจ็บป่วยง่าย ได้มีการใช้สารส ังเคราะห์ชนิดต่างๆ
เช่น สารเคมีสังเคราะห์ ปฏิชีวนะ และฮอร์โมนสังเคราะห์ เสริมให้สัตว์เพื่อมุ่งหวังเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มการ
ให้ผลผลิต ตลอดจนการป้องกันโรคให้แก่สัตว์เหล่านี้ ได้ปรากฏรายงานการวิจัยทดลองนำเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
ต่างๆ จากการเลี้ยงสัตว์นี้ไปวิเคราะห์ปรากฏว่า พบสารสังเคราะห์ชนิดต่างๆ นี้ตกค้างอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์
เพราะสารเหล่านี้เมื่อตกค้างในซากสัตว์ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ที่
ปนเปื้อนสารตกค้างเหล่านี้ ทำให้เชื้อโรคของมนุษย์เริ่มต้านทานต่อยาปฏิชีวนะในอดีตและปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้ผ ู้บริโภคเจ็บป ่วยด้วยโรคร ้ายต่างๆ เช่น มะเร็ง เป็นต้น
การเลี้ยงสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติเป็นการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ คือ ไม่มีการกระทำ
ใดๆ ที่ท ำให้ส ัตว์เกิดความเครียด เพราะเมื่อสัตว์ม ีความเครียดแ ละตื่นเต้น สัตว์จะห ลั่งสารอะดรีน าลีนออ กสู่ระบบ
หมุนเวียนของเลือดและระบบประสาท สารตกค้างทั้งหมดจะไม่สลายตัวแม้จะได้รับความร้อนสูงมากในขณะปรุง
อาหาร และจะถ่ายทอดเข้าสู่มนุษย์ ทำให้การเจริญเติบโตผิดธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อสังเกตจากการเจริญเติบโต
ของเด็กในป ัจจุบันที่เป็นห นุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ
ประโยชน์ที่ได้จากการที่สัตว์ได้อยู่ในพื้นที่กว้างนี้ ทำให้ลดมลภาวะอันเกิดจากการสิ่งขับถ่ายของสัตว์ได้
เพราะไม่เกิดการสะสมของสิ่งขับถ่ายเหล่านี้มากเกินไปจนขาดความสมดุลในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ธรรมชาติ
อานัฐ ตันโช (2551) ได้กล่าวถึงการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรธรรมชาติว่า เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถผลิตเนื้อสัตว์
ให้ได้คุณภาพสูง อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเลี้ยงสัตว์
ในระบบเกษตรธรรมชาติจะไม่มีปัญหากลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ เช่น มูลสุกร หรือน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ แมลงวัน
หรือแมลงอื่นๆ ที่จะรบกวนมนุษย์และสร้างความรำคาญ รวมถึงก่อให้เกิดโรคติดต่อต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์
ลขิ สิทธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช