Page 192 - การผลิตสัตว์
P. 192
12-20 การผลิตสัตว์
ภาพที่ 12.3 การเล้ียงสุกรแบบธรรมชาตโิ ดยป ล่อยเลยี้ งในพ้นื ท่กี วา้ งไ ด้รับแ สงแดด
ขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมขั้นต่ำสุดของสัตว์แต่ละชนิดที่เลี้ยงในโรงเรือนในระบบการผลิตปศุสัตว์ธรรมชาติ
ยังไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึกของผู้เลี้ยงจากการสังเกตพฤติกรรม
สุขภาพ และการเจริญเติบโตของสัตว์ เป็นสำคัญ ได้มีรายงานการทดลองเลี้ยงสุกรโดยใช้พื้นที่ขนาดต่างๆ ดังนี้
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และคณะ (2552) ทำการทดลองเลี้ยงสุกรในคอกที่มีวัสดุเศษเหลือการเกษตรชนิดต่างๆ ปูเป็น
พื้นค อก ได้แก่ แกลบดิบ ใบลำไยแ ห้ง ก้านย าสูบ และวัสดุเพาะเห็ดท ี่ผ ่านการใช้แ ล้ว สุกรได้ม ีโอกาสข ุดคุ้ยพ ื้นคอก
ซึ่งเป็นการแสดงออกนิสัยต ามธ รรมชาติ จากการเลี้ยงสุกรส ายพ ันธุ์ลูกผสม 3 สายเลือด (ดูรอค×ลาร์จไวท์×แลนด์-
เรซ) ขนาดน้ำหนัก 15 กิโลกรัมจนกระทั่งน้ำหนัก 90 กิโลกรัมในคอกขนาด 2×3 ตารางเมตร โดยทำการทดลอง
สุกรเลี้ยงในจำนวนที่แตกต่างกันคือ 3, 5 และ 7 ตัว/คอก ผลปรากฏว่าคอกที่เลี้ยงสุกร 3 ตัวมีอัตราการเจริญ
เติบโตและอัตราแลกน้ำหนักดีที่สุดและไม่มีสัตว์ตาย ส่วนคอกที่เลี้ยงจำนวน 5 และ 7 ตัวมีลักษณะดังกล่าวดีรอง
ลงมาและมีการตายของสัตว์ที่เลี้ยงด้วย แสดงให้เห็นว่าเมื่อสัตว์อยู่ในที่กว้างขึ้นจะมีการเจริญเติบโตดีและมีความ
แข็งแ รงกว่าท ี่เลี้ยงแบบห นาแน่น
2.2 ไม่มีการตัดแต่งส่วนของร่างกายสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในระบบการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม จะมีการ
ตัดแต่งส่วนของร่างกายสัตว์ เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การเลี้ยงไก่
ต้องมีการตัดปากไก่ เพื่อให้ได้จิกกินอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นได้ หรือการตัดหางสุกรเพื่อป้องกันไม่ให้สุกรที่เลี้ยง
รวมอยู่ด้วยกันอย่างหนาแน่นเกิดการกัดหางกันเมื่อเกิดความเครียด เป็นต้น สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ที่เลี้ยงในธรรมชาติ
สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขโดยไม่จำเป็นต้องมีการตัดแต่งส่วนของร่างกายแต่อย่างใด การตัดแต่ง
ส่วนร ่างกายข องสัตว์ย ่อมท ำให้สัตว์เจ็บปวด เป็นการท รมานส ัตว์ และขัดต่อห ลักสวัสดิภาพข องสัตว์ด้วย
2.3 เลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารธรรมชาติ อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติต้องเป็นอาหารธรรม-
ชาติที่ปราศจากสารสังเคราะห์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าการผลิตสัตว์ในระบบอุตสาหกรรมปัจจุบันมุ่งในการเร่ง
การเจริญเติบโต ให้ส ัตว์ผ ลิตผ ลิตผลม ากย ิ่งขึ้น และให้มีต้นทุนก ารผ ลิตส ัตว์ต ่ำ พันธุ์ป ศุสัตว์ท ี่ใช้เลี้ยงเป็นอ ุตสาห-
กรรมปัจจุบันเป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยมนุษย์ เพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ดังกล่าว อาหารเป็น
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สัตว์ให้ผลผลิตได้สูงตามที่พันธุกรรมกำหนด อย่างไรก็ตาม พบว่าพันธุ์สัตว์ที่เจริญเติบโต
ลิขสิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช