Page 195 - การผลิตสัตว์
P. 195

การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-23

อาหาร​ธรรมชาติใ​น​ท้อง​ถิ่น​ที่​จะ​นำ​มา​ใช้​เลี้ยง​สุกร​นี้​จะ​มี​การนำ​ไป​ผ่าน​กระบวนการห​ มัก​ด้วย​จุลินทรีย์ เพื่อ​ช่วย​ระบบ​
การ​ย่อย​และ​การด​ ูดซ​ ึม​อาหาร​ของ​สุกร เช่น การนำเ​ศษพ​ ืช​สด 100 กิโลกรัม ไป​ผสม​กับน​ ้ำตาล​ทรายแ​ ดง 4 กิโลกรัม
และเ​กลือ 1 กิโลกรัม ทำการ​หมัก​นาน 5-7 วัน แล้วผ​ สม​หัวอ​ าหาร 3 กิโลกรัม เติม​น้ำ​หมัก​ชีวภาพเ​ล็ก​น้อย แล้ว​จึง
น​ ำ​ไป​ใช้เ​ลี้ยงส​ ุกรเ​ช้า-เย็น ทุกว​ ัน

            ปัจจุบัน​วิธี​การ​เลี้ยง​ใน​ระบบ​เกษตร​ธรรมชาติ​นี้​ได้​แพร่​ขยาย​ไป​ทั่ว​ประเทศไทย การ​ที่​ได้​รับ​ความ
​สนใจ​จากเกษตร​กร น​อก​เหนือ​จาก​ที่​ไม่​ทำให้​เกิด​มลภาวะ​จาก​น้ำ​เสีย​และ​กลิ่น​เหม็น​ดัง​ที่​เคย​ปรากฏ​ใน​การ​เลี้ยง​แบบ​
เดิม​แล้ว เกษตรกร​ยัง​สามารถ​นำ​วัสดุ​ที่​ปู​เป็น​พื้น​คอก​สุกร​ไป​ใช้​เป็น​ปุ๋ย​หมัก​ปรับปรุง​ดิน เพาะ​ปลูก​พืช และ​มี​ราย​ได้​
จาก​การจ​ ำหน่าย​ปุ๋ยห​ มักเ​ป็นป​ ระจำอ​ ีกด​ ้วย

       3.3 		การ​เล้ยี งส​ ัตวก​์ ระเพาะ​รวม มีก​ าร​จัดการด​ ังนี้
       สัตว์​กระเพาะ​รวม​ที่​เลี้ยง​กัน​มาก​ใน​ประเทศไทย​ได้แก่ โค และ​กระบือ ใน​อดีต​ชาวนา​จะ​เลี้ยง​กระบือ​ไว้​เพื่อ​
ใช้​แรงงาน​ใน​การ​ช่วย​ไถนา ชาวนา​จะ​นำ​กระบือ​มา​ช่วย​ไถนา​ใน​ช่วง​เช้า​และ​เย็น ซึ่ง​มี​อากาศ​เย็น เพราะ​กระบือ​เป็น​
สัตว์​ที่​ไม่ท​ นทานต​ ่อ​อากาศ​ร้อน ใน​ช่วงส​ าย​และบ​ ่ายอ​ ากาศร​ ้อน หรือ​ช่วงท​ ี่ไ​ม่​ได้​มี​การใ​ช้​งานก​ ระบือ ก็จ​ ะป​ ล่อย​กระบือ​
ออก​ไป​หา​หญ้า​กิน​เอง กระบือ​ลด​ความ​ร้อน​โดย​แช่​ตัว​ใน​แอ่ง​น้ำ​ธรรมชาติ หรือ​นอน​ใน​ปลัก​โคลน เมื่อ​ตก​เย็น​ค่ำ
​ชาวนา​อาจ​จะ​ไป​ต้อน​กระบือ​กลับ​เข้า​คอก หรือ​สัตว์​อาจ​จะ​กลับ​เข้า​คอก​เอง แล้ว​จึง​ปล่อย​ให้​ออก​มา​กิน​ใหม่​ใน​
วันร​ ุ่งขึ้น​อีก วิธี​การ​ดังก​ ล่าว​เป็นการ​เลี้ยงก​ ระบือแ​ บบธ​ รรมชาติ​แบบห​ นึ่ง
       แพะ​เป็น​สัตว์​กระเพาะ​รวม​ขนาด​เล็ก การ​เลี้ยง​แพะ​ใน​ระบบ​ธรรมชาติ อานั​ฐ ตัน​โช (2551) ได้​แนะนำ​พันธุ์​
แพะ​ที่​จะ​ใช้​เลี้ยง​ใน​ประเทศไทย ควร​เลี้ยง​สาย​พันธุ์​พื้น​เมือง เพราะ​เลี้ยง​ดู​ง่าย มี​ความ​แข็ง​แรง ปรับ​ตัว​กับ​สภาพ-​
แวดล้อม​ได้​ดี แต่​มัก​มี​ปัญหา​เรื่อง​การ​ให้​ผลผลิต​ค่อน​ข้าง​ต่ำ อาจ​ใช้​แพะ​สาย​พันธุ์​ลูกผสม​กับ​พันธุ์​พื้น​เมือง​ที่​มี​การ​
ปรับปรุง​พันธุ์​มา​นาน​แล้ว​ก็ได้ คอก​ที่​ใช้​เลี้ยง​แพะ​ใน​ระบบ​เกษตร​ธรรมชาติ​ แนะนำ​ให้​เลี้ยง​กับ​พื้น​ดิน ต้อง​ทำการ​ถม​
ด้วย​ดิน​ปน​ทราย​ให้​สูง เพราะ​เมื่อ​แพะ​ขับ​ถ่าย​ออก​มา​จะ​ได้​ซึม​ลง​มา​ด้าน​ล่าง​อย่าง​รวดเร็ว โดย​บาง​ครั้ง​พื้น​คอก​อาจ
​โรย​ด้วย​ปูน​ขาว​เป็นการ​ฆ่า​เชื้อ​โรค คอก​พื้น​ดิน​มี​ค่า​ก่อสร้าง​ต่ำ​กว่า​คอก​ตะแกรง​ยกพื้น พื้น​ดิน​จะ​เป็น​ตัว​รับ​ความ
​อบอุ่น​จาก​แสง​อาทิตย์​ใน​ช่วง​เวลา​กลาง​วัน ทำให้​กลาง​คืน​จะ​อบอุ่น​กว่า​การ​เลี้ยง​แบบ​คอก​ตะแกรง​ยกพื้น และ​เมื่อ​
แพะ​นอน​หลับ​บน​พื้น​ดิน​จะ​ไม่มี​ลม​โกรก แนว​ทิศทาง​โรง​เรือน​ให้​หัน​หัว-ท้าย​ใน​แนว​ขวาง​ตะวัน หรือ​เหนือ-ใต้ เพื่อ​
ให้​แสงแดด​ได้​ส่อง​ทั่ว​พื้น​คอก เป็นการ​ฆ่า​เชื้อ​โรค​บน​พื้น​คอก​โดย​อาศัย​ธรรมชาติ​และ​ยัง​เป็นการ​ให้​ความ​อบอุ่น ต้อง
​เลี้ยง​ให้​แพะ​อยู่​ใน​สนาม เพื่อ​ให้​แพะ​กิน​หญ้า​เป็น​หลัก โดย​ปล่อย​ให้​แพะ​ออก​หากิน​อาหาร​เอง​ตาม​ธรรมชาติ​ใน​เวลา​
กลาง​วัน ไม่​ต้อง​เสีย​เวลา​ค่า​ใช้​จ่าย​เพื่อ​ตัด​หญ้า​มา​เลี้ยง ไม่​ควร​ปล่อย​แพะ​ออก​เดิน​หากิน​ใน​เวลา​ที่​มี​แดด​ร้อน​หรือ​
ฝน​ตก เพราะ​อาจ​ทำให้​แพะ​เจ็บ​ป่วย​ได้​ง่าย ปกติ​ควร​ปล่อย​แพะ​ออก​หากิน​ใน​ตอน​สาย​แล้ว​ต้อน​กลับ​เข้า​คอก​ใน​ตอน
​เที่ยง หรือ​ปล่อย​แพะ​ออก​หากิน​อาหาร​ใน​ตอน​บ่าย​แล้ว​ต้อน​กลับ​เข้า​คอก​ใน​ตอน​เย็น หาก​พื้นที่​มี​หญ้า​อุดม​สมบูรณ์​
แพะ​จะ​กิน​อาหาร​เพียง 1-2 ชั่วโมง​ก็​เพียง​พอแล้ว และ​อาจ​มี​อาหาร​เสริม เป็น​พวก​อาหาร​โคนม​เล็ก​น้อย ปกติ​แพะ
​อายุ 4 เดือน น้ำห​ นัก 20 กิโลกรัม ก็ส​ ามารถ​ขาย​ได้​แล้ว

                              ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200