Page 197 - การผลิตสัตว์
P. 197
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-25
ทำงานได้ม ากและรวดเร็วกว่าก ารใช้แ รงงานส ัตว์ ความน ิยมในการนำแ รงงานส ัตว์ม าใช้ในการเกษตรจ ึงหายไปค วบคู่
กับก ารข ยายพันธุ์ส ัตว์ดังกล่าวลดลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ส ัตว์เหล่าน ี้ลดป ริมาณลงจ นเกือบจะสูญพ ันธุ์ สัตว์ที่น ำ
มาใช้แรงงานในการเกษตรในอดีตนั้นล้วนมีการเลี้ยงแบบธรรมชาติคือ ปล่อยให้หาอาหารกินเอง มีค่าใช้จ่ายในการ
เลี้ยงดูต่ำกว่าค่าใช้จ ่ายในการซื้อเครื่องจักรเครื่องยนต์ม าก
1.2 ขาดแคลนพื้นที่และอาหารธรรมชาติในการเล้ียงสัตว์ ปัจจุบันประชากรมีจำนวนมากขึ้น ความจำเป็น
ในการใช้พื้นที่เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น พื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ลดลงไปเนื่องจากถูกนำไปใช้สร้างที่อยู่อาศัย
และกิจการอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า จากการที่พื้นที่เลี้ยงสัตว์ธรรมชาติลดลงทำให้อาหารธรรมชาติลดลง
อีกทั้งพืชผลทางด้านการเกษตรที่จะเพาะปลูกเป็นอาหารสัตว์และอาหารที่มนุษย์ใช้บริโภคประจำวันมีการปนเปื้อน
สารเคมีควบคุมศัตรูพืชสูง ไม่สามารถนำมาใช้ในการผลิตปศุสัตว์ธรรมชาติได้ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยาย
การผลิตสัตว์ในระบบการผลิตป ศุสัตว์ธรรมชาติ
1.3 การติดตามดูแลสัตว์กระทำได้ลำบาก การเลี้ยงสัตว์ธรรมชาติในลักษณะปล่อยให้หากินอาหารเองใน
ธรรมชาติ ซึ่งต้องเลี้ยงในพื้นที่กว้าง ในบางครั้งปล่อยให้อยู่ในพื้นที่ค้างคืนค้างแรมหลายวัน จึงไม่สามารถติดตาม
ดูแลใกล้ชิดได้เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปได้ เมื่อสัตว์ได้รับอุบัติเหตุหรือประสบอันตรายจากเหตุต่างๆ หรือถูก
ลักขโมย ก็ไม่ส ามารถเข้าไปแก้ไขได้ท ันท่วงที ทำให้ต ้องเกิดการสูญเสียสัตว์ไป
1.4 ขาดความนิยมในการผลิตเป็นธุรกิจ จากการที่สัตว์ให้ผลผลิตต่ำดังที่ได้กล่าวแล้วว่า พันธุ์สัตว์ที่ใช้
ผลิตในระบบปศุสัตว์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นสัตว์พื้นเมือง ซึ่งมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำ แม้ว่าจะมีการ
เสริมธาตุอาหารต่างๆ ให้สูงขึ้น สัตว์เหล่านี้ก็จะยังให้การตอบสนองต่ำไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ความนิยม
ในการผ ลิตปศุสัตว์ธรรมชาติเพื่อเป็นธุรกิจจ ึงม ีน ้อยมาก
1.5 มีข้อขัดแย้งกับกฎระเบียบของราชการ มาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good
Agriculture Practices; GAP) ซึ่งเป็นกฎระเบียบการผลิตสัตว์ที่ราชการกำหนดและได้รับการส่งเสริมเป็นธุรกิจ
ในก ารส่งออกไปจำหน่ายในต ลาดใหญ่ห รือในต่างป ระเทศ จะต้องผ ลิตตามม าตรฐานการผ ลิตทางการเกษตรท ี่ด ีและ
เหมาะสม ข้อก ำหนดหนึ่งในม าตรฐานด ังก ล่าวค ือ ต้องมีการควบคุมดูแลและป้องกันโรคอ ย่างเคร่งครัด ตัวอย่างคือ
การเลี้ยงสัตว์ปีกตามมาตรฐานฯ จะต้องเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนที่มีการป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นโดยเฉพาะนกเข้าไปในโรง-
เรือน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ต้องมีการรักษาโรงเรือนให้สะอาดอยู่เสมอโดยการล้างทำความสะอาด
มิให้เป็นที่ส ะสมแ ละหมักหมมข องส ิ่งข ับถ ่ายจ ากตัวส ัตว์ การเลี้ยงเป็ดธรรมชาติหรือที่เรียกว ่า “เป็ดไล่ท ุ่ง” โดยปล่อย
ให้เป็ดหาอาหารกินเองในทุ่งนาเป็นวิธีการที่ขัดแย้งกับมาตรฐานดังกล่าว ราชการไม่อนุญาตให้มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงเป็ดของไทยที่มีมานาน จึงเป็นการขัดแย้งกับกฎระเบียบของราชการ การเลี้ยงสุกรใน
ระบบปศุสัตว์ธรรมชาติที่ได้กล่าวถึงข้างต้น โดยเลี้ยงสัตว์อยู่บนพื้นวัสดุธรรมชาติที่ปูบนพื้นคอกที่เรียกชื่อว่า “หมู
หลุม” หรือเลี้ยงป ล่อยสัตว์ให้อ ยู่ต ามธรรมชาติ จะไม่มีการล ้างท ำความสะอาดพื้นคอก ก็อาจจะข ัดกับม าตรฐานของ
การผลิตทางการเกษตรท ี่ด ีและเหมาะสม จึงทำให้ไม่ได้รับก ารส่งเสริมก ารผ ลิตเพื่อเป็นธุรกิจ
2. แนวทางแกไ้ ข
แนวทางแ ก้ไขปัญหาท ี่กล่าวถ ึงข ้างต้นก ระทำได้ ดังนี้
2.1 ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พันธ์ุสัตว์พื้นเมือง จากการที่สัตว์พื้นเมืองไม่เหมาะสมต่อการนำมาผลิต
โปรตีนจากเนื้อสัตว์ในเชิงธุรกิจ แต่สัตว์พื้นเมืองให้ประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อยที่ยากจน เป็นอาหารที่ให้ความ
ปลอดภัยต่อสุขภาพ และช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดจากมลภาวะ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์
พันธุ์สัตว์พื้นเมืองไว้ใช้ สำหรับเพื่อการผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เป็น
ลิขสิทธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช