Page 177 - การผลิตสัตว์
P. 177
การผลิตสัตว์ในระบบเกษตรอื่นๆ 12-5
เรือ่ งที่ 12.1.1
ความห มายและค วามสำคญั ข องก ารผ ลติ สตั ว์ในร ะบบเกษตรผสมผ สาน
1. ความหมายของระบบเกษตรผสมผ สาน
ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) คือ ระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชและ
หรือเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ อยู่ในบริเวณเดียวกัน ภายใต้การเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัย
หลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับ
พืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์ก ับส ัตว์ก ็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะป ระสบผลสำเร็จได้ จะต ้องมีการว างร ูปแบบ และ
ดำเนินการโดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิต
ปศุสัตว์แบบผสมผสานเป็นการทำให้กิจกรรมของสัตว์ที่เลี้ยงเกื้อกูลประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งเลี้ยง
ในฟาร์มเดียวกัน หรือเกื้อกูลประโยชน์ต่อการปลูกพืชที่อยู่เพาะปลูกในพื้นที่เดียวกัน สอดคล้องกับการทำเกษตร
ผสมผสานที่ มนตรี แสนสุข (2552) ได้กล่าวไว้ว่า “ทำเกษตรผสมผสานต้องเรียนรู้ลงในรายละเอียดทุกด้าน สวน
เกษตรผสมผสาน 1 แปลง ต้องรู้จักประยุกต์ให้พืชทุกชนิดอยู่ร่วมกัน ต่างพึ่งพา ซึ่งกันและกันในระบบนิเวศ
ประการสำคัญเกษตรกรต้องรู้จักวางแผนและวางระบบต่างๆ ในสวนให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจะประสบความ
สำเร็จ”
2. ความสำคัญข องก ารผ ลติ ส ตั ว์ในร ะบบเกษตรผสมผ สาน
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตรมาเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพียงชนิดเดียวหรือที่เรียกว่า
“เกษตรเชิงเดี่ยว” ตามแบบเกษตรแผนใหม่ในยุคปฏิวัติเขียวที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อมุ่งเพิ่ม
การผลิตอาหารและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นระยะเวลานาน
ประมาณ 50 ปี ปรากฏว่าการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวนี้กลับทำให้เกษตรกรกลับมีหนี้สินมากขึ้น ความอุดมสมบูรณ์
ของดินลดลง เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตต่ำลง การเปลี่ยนแปลงกลับมาทำ
การเกษตรแบบผสมผสานที่มีการดำเนินกิจกรรมการเกษตรหลากหลายชนิดจะให้ประโยชน์ต่อเกษตรกรได้หลาย
ประการ ดังนี้
2.1 ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครัวเรือนและทำให้มีสุขภาพดี เกษตรกรที่มีการผลิตสัตว์ในระบบ
เกษตรผสมผสานทำให้มีอาหารมากชนิดขึ้น อาหารที่เพิ่มขึ้นอาจจะเป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่น น้ำนม และไข่ ตลอดจน
พืชผ ักแ ละผลไม้ อาหารท ี่ได้จากก ารผลิตเพิ่มขึ้นเองน ี้ ทำให้ไม่ต ้องไปซื้อห าจ ากภ ายนอก จึงเป็นการลดค ่าใช้จ ่ายใน
ครัวเรือน นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอาหารประจำวันแล้วยังได้บริโภคอาหารที่มีความสด
ใหม่ ปลอดภัยต่อสุขภาพ และอาหารที่บริโภคมีความหลากหลายนี้ช่วยทำให้สมาชิกในครัวเรือนมีสุขภาพที่ดีและ
แข็งแ รง
2.2 ทำให้เพิ่มรายได้ในฟาร์มให้สูงข้ึน การเลี้ยงสัตว์บางชนิดต้องเลี้ยงในบริเวณที่สะดวกต่อการดูแล
มีการเลี้ยงในโรงเรือนหรือในคอกเลี้ยง พื้นที่นอกโรงเรือนที่ว่างเปล่ายังสามารถใช้ประโยชน์จากการเกษตรลักษณะ
อื่นได้ อาจเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่จำเป็นต้องกักขังในโรงเรือน เช่น การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงปลา เป็นต้น
ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช