Page 345 - ความรู้ทั่วไปเกี่ียวกับบรรจุภัณฑ์
P. 345
บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน 15-23
3 ประการ ได้แก่ 1) การใช้พ ลังงานจากท รัพยากรธรรมชาติท ี่สามารถทดแทนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 2) การไม่ก ่อให้เกิด
ของเสียเลย และ 3) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป้าหมาย
ดังกล่าวส่งผลกระทบไปยังผู้ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ต้องเลือกใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อ
สิ่งแ วดล้อมน ้อยท ี่สุด มิฉะนั้นจ ะไม่สามารถน ำสินค้าไปจ ำหน่ายในว อลมาร์ตได้ นอกจากน ี้ ข้อกำหนดท าง กฎหมาย
จากป ระเทศผ ู้นำเข้าก ม็ สี ่วนผ ลักด ันด ้วยเช่นก ัน ข้อก ำหนดจ ากก ลุ่มในส ายโซอ่ ุปทาน สามารถก ่อใหเ้กิดค วามย ั่งยืนได้
ตามหลักการพื้นฐาน 3 ด้าน กล่าวค ือ ลดม ลพิษ (ด้านส ิ่งแวดล้อม) ลดต้นทุนจากก ารล ดพลังงานที่ใช้ (ด้านเศรษฐกิจ)
และส่งเสริมให้เกิดส ภาพแวดล้อมที่ด ีของช ุมชน (สังคม)
3.2 เครื่องม อื ท่ีเหมาะส ม เพื่อช่วยให้ธ ุรกิจส ามารถดำเนินก ารได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ตามข ้อกำหนด
ที่ลูกค้าหรือกลุ่มสายโซ่อุปทานต้องการ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสม การจัดการของเสียเป็น
บริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง และขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุที่ทิ้งไปเป็นขยะหรือการเผา ถ้าปริมาณของเสียจากกระบวนการ
ผลิตลดล ง ย่อมส่งผ ลให้ค ่าใช้จ ่ายต่าง ๆ ของผ ู้ป ระกอบการล ดล งด้วย ดังนั้น แนวค วามค ิดที่ช ่วยให้ธุรกิจดำเนินการ
อย่างมีป ระสิทธิภาพแ ละย ั่งยืน ธุรกิจควรล ดปริมาณของเสียให้น้อยที่สุด (waste minimization) ซึ่งรวมไปถึงการ
ลดมลพิษที่เกิดขึ้นด้วย ภาคอุตสาหกรรมควรทำความเข้าใจกับแนวความคิดของการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด
หรือการป้องกันก ารเกิดข องเสีย การใช้สารเคมีที่เป็นมิตรต ่อสิ่งแ วดล้อม (green chemistry) รวมไปถึงร ะบบนิเวศ
อุตสาหกรรม (industrial ecology) ซึ่งต้องมีการลงทุนด้านการปรับปรุงหรือการจัดการของเสียที่ปลายท่อหรือ
ปลายทาง เพื่อการลดต้นทุนในระยะยาวและยั่งยืน ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่มีชื่อว่า เออีพี
เฟล็กซีแพค (AEP Flexipac) ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้ใช้เทคนิคการทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุดด้วยเทคโนโลยี
สะอาด (Clean Technology: CT) เพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ไม่มีข องเสียเลย (zero waste) ซึ่งก ิจกรรมด ังก ล่าวช ่วย
ให้บ ริษัทสามารถเพิ่มป ระสิทธิภาพของการดำเนินธ ุรกิจได้จ ากป ระโยชน์ที่ได้ร ับท ั้งท างด้านส ิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
ดังตารางที่ 15.1 แสดงกิจกรรมของธุรกิจเมื่อยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีสะอาดในกระบวนการผลิต เทียบกับเมื่อมี
การนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ เช่น แกนสำหรับม้วนบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่ใช้ในกระบวนการผลิตและต้องส่งให้ลูกค้า
บางแกนมีการใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนโดยใช้เทคโนโลยีสะอาดมาใช้ โดยกำหนดให้แกนที่มี
ขนาดค วามย าวม ากกว่า 400 มิลลิเมตร มีก ารนำม าใช้ซ ้ำ หรือน ำก ลับม าใช้ต ัดเป็นข นาดท ี่ต ้องการ โดยก ารต ัดให้ล ูกค้า
เน้นก ารต ัดข นาดท ี่ส ามารถนำก ลับมาใช้ซ้ำได้อ ีก เมื่อปรับกิจกรรมน ี้ พบว่า ธุรกิจสามารถได้ร ับประโยชน์จากก ารล ด
การทิ้งของเสียไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ถึง 60 ตันต่อปี คิดเป็นประโยชน์ที่ได้รับทางเศรษฐกิจถึง 56,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หรือป ระมาณ เกือบ 2 ล้านบ าท เป็นต้น
ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช