Page 50 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 50
1-40 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
10) มีอารมณ์ขัน
11) สามารถรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้โดยพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
12) มองชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับอดีตที่แก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ให้อดีต
เป็นบทเรียนสำ�หรับการปรับปรุงชีวิตในปัจจบันให้มีความสมบูรณ์หรือมีความสุขเพิ่มขึ้น
13) ยอมรับและซาบซึ้งในอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อวิถีชีวิตของบุคคล
14) ตระหนักในคุณค่าของการมีสวัสดิการที่ดีของผู้อื่นอย่างแท้จริง
15) ใส่ใจในวิชาชีพและสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีงามในการประกอบวิชาชีพมาใช้ให้เป็น
ประโยชน์สำ�หรับตน ขณะเดียวกันก็ไม่ยึดติดว่าวิชาชีพนั้นเป็นเพียงเป้าหมายเดียวที่สำ�คัญที่สุดของชีวิต
เพราะคนเรายังมีอย่างอื่นสำ�หรับชีวิตที่นอกเหนือจากชีวิตการงาน
16) ไม่แบกรับปัญหาของผู้รับการปรึกษาไว้จนทำ�ให้ตนเองหมดความสุข แต่ควรให้เจ้าของ
ปัญหารับผิดชอบต่อการแก้ปัญหาของเขาด้วยตัวของเขาเอง
17) ไม่นำ�ค่านิยมของตนไปตัดสินค่านิยมของผู้รับการปรึกษา หรือพยายามยัดเยียดค่านิยม
ของตนให้ ที่ควรทำ�ก็คือ การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นหรือเอื้อให้ผู้รับการปรึกษาสำ�รวจความคิด ความรู้สึก
การกระทำ� และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แล้วใคร่ครวญว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับตัวของเขาเอง เขา
อาจเปลี่ยนค่านิยม เปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยม หรือเปลี่ยนทั้งสองอย่างหลังการไตร่ตรอง
ใคร่ครวญแล้ว แต่ให้เป็นการตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง
18) แม้ตัดสินใจอะไรลงไปแล้ว ถ้าพบว่ามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าก็จะไม่ยึดติดอยู่กับการตัดสิน
ใจเดิม เพราะถือว่าการตัดสินใจเดิมนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเดิม การตัดสินใจใหม่ถ้ามีข้อมูลเปลี่ยนไป
แล้วทำ�ให้มีการตัดสินใจใหม่ ก็ควรยอมรับการตัดสินใจใหม่โดยไม่จำ�เป็นต้องตกเป็นเหยื่อหรือยึดติดอยู่
กับการตัดสินใจเดิม
19) หลีกเลี่ยงการเป็นบุคคลสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
20) ซื่อสัตย์กับข้อจำ�กัดของตนเอง แต่ต้องพยายามทำ�ให้ตนเองมีข้อจำ�กัดให้น้อยที่สุด
21) ไม่กังวลมากนักกับการที่ผู้รับการปรึกษาเรียกร้องเกินเหตุหรือไม่รักษาคำ�พูด
22) หลีกเลี่ยงจากการเข้าใจผิดว่าตนสามารถหรือไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีได้เพราะ
เทียบเอาจากความคาดหวังที่มีอยู่ก่อน ควรปล่อยให้สัมพันธภาพดำ�เนินไปตามที่เป็นจริง โดยการพยายาม
สร้างบรรยากาศหรือสัมพันธภาพให้เหมาะกับผู้รับการปรึกษาแต่ละคน
23) อย่ากังวลเกินเหตุจนเสียความเชื่อมั่น หรือจนเสียผู้รับการปรึกษาไปเพราะตนไปเพิ่ม
ความกังวลให้ผู้รับการปรึกษามากขึ้นจากการแสดงความกังวลของตนมากเกินไป
24) แบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกับผู้รับการปรึกษาในฐานะผู้ร่วมให้ข้อมูลหรือให้แนวทาง
การคิด ไม่ใช่รับผิดชอบในการตัดสินใจ
25) ตระหนักว่าตัวเองเท่านั้นที่จะเป็นตัวแทนของชีวิตตน (active agent in your life)
26) เห็นคุณค่าของสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากงานที่ทำ� โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า
งานที่ทำ�ไม่สามารถสนองตอบความต้องการหลักได้