Page 48 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 48

1-38 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

       1.3 	บทบาทของผู้ให้การปรึกษาหลังการให้บริการปรึกษา ได้แก่บทบาทต่อไปนี้
            1) 	ให้ความช่วยเหลือความจำ�เป็น เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาสามารถช่วยตนเองได้หลังจากที่

ผู้รับการปรึกษาช่วยตัวเองก่อนตามวัยที่สมควรจะทำ�ได้แล้ว
            2) 	ให้คำ�แนะนำ� หรือข้อเสนอแนะ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับการปรึกษาตามความเหมาะสม
            3) 	ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งในคณะที่จะให้ความช่วยเหลือแก่

ผูร้ บั การปรึกษา เพราะการชว่ ยเหลอื แก่ผูร้ บั การปรึกษานัน้ ผู้ใหก้ ารปรกึ ษาไมส่ ามารถดำ�เนนิ การไดโ้ ดยล�ำ พัง
ผู้เดียว เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป

            4) 	เขียนบันทึกและรายงานการให้บริการปรึกษาแก่ผู้รับการปรึกษาแต่ละกรณี และจัดเก็บ
ให้เป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การนำ�มาใช้ประโยชน์ในโอกาสอันควรต่อไป

            5) 	หาข้อมูลอื่นมาประกอบก่อนการวินิจฉัยหรือลงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้รับ
การปรึกษา ก่อนการส่งผู้รับการปรึกษาไปพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาที่เกินขีดความสามารถของ
ผู้ให้การปรึกษา

            6) 	ประเมินผลโปรแกรมการให้บริการปรึกษา
            7) 	ปรับปรุงกระบวนการให้การบริการปรึกษา โดยอาศัยข้อมูลการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคล
ที่เกี่ยวข้องหรือผลการวิจัย
            8) 	พัฒนารูปแบบของการให้การปรึกษาให้เหมาะสมกับความถนัดของตนและเหมาะกับผู้รับ
การปรึกษาซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน

2. 	คุณลกั ษณะส่วนตวั ของผู้ใหก้ ารปรึกษา

       เพื่อให้ผู้ให้การปรึกษาสามารถแสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสมกับวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพผู้
ให้การปรึกษาควรมีคุณลักษณะส่วนตัวทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ ดังต่อไปนี้ (สังเคราะห์จาก Corey,
1996: 14-49, Hansen, Rossberg & Cramer, 1994: 361-378 กับ ประดินันท์ อุปรมัย และลัดดาวรรณ
ณ ระนอง 2533 10-12)

       2.1 	คุณลักษณะส่วนตัวด้านความรู้ ได้แก่ คุณลักษณะต่อไปนี้
            1) 	มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิควิธีและกระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

กับการให้บริการปรึกษาอย่างเป็นระบบ
            2) 	เข้าใจทฤษฎีการปรึกษาต่างๆ ทั้งในด้านหลักการ เป้าหมาย และกระบวนการ ซึ่งรวมทั้ง

ขั้นตอนและเทคนิค หรือทักษะในการให้บริการปรึกษา
            3) 	มีความรู้ความเข้าใจทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวกับพัฒนาการและการแสดงพฤติกรรมของ

บุคคล
            4) 	มีความรอบรู้ในเรื่องการศึกษาต่อและอาชีพต่างๆ ในสังคมจนสามารถให้รายละเอียดที่

จำ�เป็นแก่ผู้รับการปรึกษาได้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53