Page 43 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 43

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-33

       3. 	นำ�ไปปฏิบัติในกระบวนการของการปรึกษาได้อย่างมีคุณค่า และ
       4. 	มีเครื่องมือหรือวิธีการให้สามารถตรวจสอบยืนยันหรือพิสูจน์คำ�อธิบายนั้นได้
       จากแนวคิดของเชิร์ตเซอร์และสโตนกับชาร์ฟ ช่วยให้เห็นความสำ�คัญของทฤษฎีการปรึกษาดังนี้คือ
       1. 	ทฤษฎีทำ�ให้เกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษา หมายถึง ช่วยให้มีการ
สรุปความรู้ สาระหรือแนวความคิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของการให้การปรึกษา เช่น เป้าหมาย
ของการให้การปรึกษา บทบาทของผู้ให้การปรึกษา สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการให้การปรึกษา และ
กระบวนการในการให้การปรึกษา ฯลฯ องค์ความรู้ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้ทฤษฎีรู้ว่าการปรึกษาตามทฤษฎี
นั้นๆ มีสาระความรู้สำ�คัญที่เกี่ยวข้องในแต่ละองค์ประกอบอย่างไร จะได้ตระหนักและให้ความสำ�คัญแก่
องค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
       2. 	ทฤษฎีให้คำ�อธิบายที่มาที่ไปขององค์ความรู้ทางการปรึกษาอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เป็นการ
บอกให้ผู้ใช้ทฤษฎีรู้เหตุผลเบื้องหลังของแนวคิดในทฤษฎี ว่าใช้แนวคิดมาจากเหตุผลเชิงวิชาการอย่างไรหรือ
มีแนวคิดที่พัฒนามาจากศาสตร์ใด
       แกลนซ์ (Glanz, 1974 อ้างใน Hansen และคณะ 1994) ได้อธิบายที่มาของทฤษฎีการปรึกษาไว้ว่า
เนือ่ งจากการปรกึ ษาเปน็ สงั คมศาสตรท์ ปี่ ระยกุ ตศ์ าสตรอ์ ืน่ ๆ คอื จติ วทิ ยา สงั คมวทิ ยา มานษุ ยวทิ ยา การศกึ ษา
เศรษฐศาสตร์ และปรัชญา มาบูรณาการไว้ด้วยกัน โดยสาระของศาสตร์เหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อแนวคิดใน
การปรกึ ษาทัง้ สิน้ เชน่ สาระทางจติ วทิ ยาชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจธรรมชาตขิ องบคุ คล ความเจรญิ งอกงามและพฒั นาการ
ของบุคคล สังคมวิทยาช่วยให้เข้าใจในโครงสร้างของสังคมหรือสถาบันต่างๆ ของสังคม มนุษยวิทยา
ช่วยให้เห็นถึงความสำ�คัญและผลกระทบของวัฒนธรรมในสังคม และเศรษฐศาสตร์ช่วยให้เข้าใจถึงความ
เคลื่อนตัวของภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับโลกของงานและอาชีพของบุคคลในสังคม
ประกอบกับเป้าหมายสำ�คัญประการหนึ่งของการปรึกษาคือ การมุ่งส่งเสริมให้บุคคลได้พัฒนาศักยภาพของ
เขาไปให้ถึงขีดสูงสุดและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขด้วย ฉะนั้นการเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับตัวของบุคคลและสภาพแวดล้อมหรือสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิกให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น
       อกี ประการหนึ่งกค็ ือ เนื่องจากทฤษฎีการปรึกษาแต่ละทฤษฎีมแี นวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนษุ ย์
มาจากทั้งศาสตร์ทางปรัชญา และศาสตร์ทางจิตวิทยาซึ่งมีกลุ่มแนวคิดของนักปรัชญาและนักจิตวิทยาใน
เรื่องดังกล่าวอยู่หลายกลุ่มหลายแนวความคิด ดังนั้น การอธิบายที่มาของความคิดนั้นๆ จะทำ�ให้ทราบได้
ว่า ทฤษฎีการปรึกษาแต่ละทฤษฎีมองธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของนักปรัชญาหรือนักจิตวิทยากลุ่ม
ใด และมีความเชื่อในเรื่องสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมอย่างไร เพราะแนวคิดหรือความเชื่อดังกล่าวเป็น
ฐานของการคิดต่อในเรื่องของการสร้างแนวปฏิบัติในกระบวนการให้การปรึกษาทั้งในด้านคุณสมบัติและ
บทบาทของผู้ให้การปรึกษา และวิธีดำ�เนินการในกระบวนการหรือขั้นตอนและเทคนิคของการให้การปรึกษา
       3. 	ทฤษฎเี ปน็ แนวทางน�ำ ไปสูก่ ารปฏบิ ตั ใิ นกระบวนการของการปรกึ ษาไดอ้ ยา่ งมคี ณุ คา่ และน�ำ ไป
สู่การปฏิบัติที่พบกับความสำ�เร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ความส�ำ เร็จดังกล่าวจะช่วยให้ทฤษฎีมีความน่าเชื่อถือ
มากขึ้น แต่การปฏิบัติที่ประสบความสำ�เร็จนั้นขึ้นอยู่กับการมีเป้าหมายและกระบวนการที่ชัดเจนซึ่งถ้าทฤษฎี
การปรึกษาใดมีความชัดเจนจนสามารถนำ�ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีคุณค่าดังกล่าวได้ ทฤษฎีนั้นย่อมก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือได้อย่างมีคุณค่าด้วย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48