Page 42 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 42

1-32 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

       จากคำ�นิยามที่ยกตัวอย่างดังกล่าว แฮนเซน โรสเบอร์ก และเครมเมอร์ สรุปว่า ทฤษฎีก็คือเหตุผลที่
ใช้อธิบายเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามเหตุผล
ที่กล่าวไว้

          จากความหมายและแนวคิดข้างต้น จะเห็นได้ว่า ทฤษฎีมีลักษณะที่สำ�คัญ 3 ประการคือ
          1) ทฤษฎีเป็นแนวความคิดของเจ้าของทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายที่มาที่ไปของเหตุการณ์
  หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น
          2) แนวความคิดนี้มีความเป็นเหตุเป็นผลที่ประมวลจากประสบการณ์ของเจ้าของทฤษฎี ซึ่ง
  ประสบการณ์ที่เจ้าของทฤษฎีได้รับนั้นอาจเป็นประสบการณ์ตรงที่ได้จากการสังเกตและ/หรือการทดลองและ
  หรือได้จากประสบการณ์ทางอ้อมตามหลักวิชาการที่ได้ศึกษามาก็ได้
          3) แนวคิดดังกล่าวยังต้องการการพิสูจน์ความจริงว่าจะเป็นจริงเช่นนั้นเสมอไปหรือไม่

       ความหมายของทฤษฎีการปรึกษา จากความหมายและแนวคิดของคำ�ว่าทฤษฎีและการปรึกษาดัง
กล่าว อาจให้ความหมายของทฤษฎีการปรึกษาได้ดังนี้

       ทฤษฎีการปรึกษา คือ แนวความคิดเกี่ยวกับการปรึกษาที่เจ้าของทฤษฎีนำ�เสนอไว้ โดยแนวคิด
ที่นำ�เสนอไว้นี้ เป็นแนวคิดที่พยายามจะอธิบายที่มาที่ไปของเหตุการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน
กระบวนการที่จะช่วยให้ผู้คนได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวของตน สิ่งแวดล้อมของตน วิธีที่ตนจะแสดงบทบาทได้
อย่างเหมาะสม และเรียนรู้ วิธีการที่ตนจะมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น แนวความคิดดังกล่าว
เป็นเหตุผลที่ประมวลมาจากประสบการณ์ของเจ้าของทฤษฎี ซึ่งประสบการณ์ที่เจ้าของทฤษฎีได้รับนั้นอาจ
เป็นประสบการณ์ตรงที่ได้จากการสังเกตและ/หรือการทดลองและ/หรือได้จากประสบการณ์ทางอ้อมตาม
หลักวิชาการที่ได้ศึกษามาก็ได้ อย่างไรก็ตามแนวความคิดเหล่านี้ ยังต้องการการพิสูจน์อยู่เสมอว่าเป็นแนว
ความคิดที่จะเป็นจริงได้ในทุกกรณีหรือไม่ เพราะทฤษฎีไม่ใช่กฎตายตัวที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ทฤษฎีเป็นเพียง
แนวความคิดดังที่กล่าวแล้ว

          หรือสรุปความหมายของทฤษฎีการปรึกษาได้ว่า
          ทฤษฎีการปรึกษา คือ แนวคิดหรือโครงสร้างที่ให้แนวทางในการปรึกษา

ความส�ำ คัญของทฤษฎกี ารปรึกษา

       เชิร์ตเซอร์ และสโตน (Shertzer and Stone, 1974 อ้างใน Hansen 1994: 12) กับชาร์ฟ (Sharf,
2000: 1-3) เสนอว่า ทฤษฎีการปรึกษาที่ดี ควรมีลักษณะสำ�คัญของทฤษฎีดังต่อไปนี้ คือ

       1. 	มีการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษาอย่างกะทัดรัดชัดเจน
       2. 	มีคำ�อธิบายที่มาที่ไปขององค์ความรู้เหล่านั้นอย่างครอบคลุมกว้างขวาง
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47