Page 41 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 41

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-31

กันชัดเจนมากนัก (Hansen และคณะ 1994 และ Sharf, 2000) ประกอบกับนักจิตวิทยาการบำ�บัดซึ่งส่วน
หนึ่งเป็นจิตแพทย์ด้วย มักนำ�กระบวนการในการบำ�บัดทางจิตซึ่งเดิมใช้ควบคู่กับการให้ยาในการรักษาคนไข้
ที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง มาใช้บำ�บัดคนไข้ที่มีอาการป่วยทางจิตที่ไม่จำ�เป็นต้องให้ยาในการบำ�บัด
อาการทางจิตอีกแล้วด้วย จนต่อมา กระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางด้าน
จิตใจดังกล่าว ได้นำ�มาใช้ในการให้การปรึกษาแก่ผู้รับการปรึกษาทั้งในสถานศึกษาและในองค์กรด้วย ดังนั้น
คำ�ว่า Counseling และ Psychotherapy ในตำ�ราภาษาอังกฤษ กับคำ�ว่า การปรึกษา จิตบำ�บัด หรือการ
บำ�บัดทางจิต ในตำ�ราภาษาไทย จึงมักใช้แทนกันหรือสลับกัน

2. 	ความหมายและความสำ�คัญของทฤษฎกี ารปรกึ ษา

       ก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายและความสำ�คัญของทฤษฎีการปรึกษา นักศึกษาควรทำ�ความเข้าใจ
เกี่ยวกับความหมายของคำ�ว่า “ทฤษฎี”และ “การปรึกษา” เสียก่อน ดังต่อไปนี้

       ความหมายของทฤษฎี คำ�ว่า “ทฤษฎี” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525 (ราชบัณฑิตยสถาน 2526: 376) นิยามว่า หมายถึง “ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิด
คาดเอาตามหลักวิชาเพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมา
อย่างมีระเบียบ”

       สำ�หรับภาษาอังกฤษ ทฤษฎี คือ “Theory” ซึ่ง Longman Active Study Dictionary of Eng-
lish (Mangay, S., 1991: 697) ได้ให้นิยามไว้ว่า หมายถึง “an explanation for something which is
reasonable or scientifically acceptable, but which has not been proved to be true” ซึ่งหมาย
ถึงการอธิบายถึงสิ่งที่มีความเป็นเหตุเป็นผล หรือได้รับการยอมรับตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็น
คำ�อธิบายที่ยังต้องการการพิสูจน์ว่าจะเป็นความจริงเช่นนั้นแน่นอนหรือไม่

       นักเขียนตำ�ราในการให้การปรึกษาหลายท่านได้มีการให้คำ�นิยามคำ�ว่า “ทฤษฎีหรือ Theory” ไว้
ด้วยแนวคิดที่คล้ายกันแต่ด้วยถ้อยคำ�หรือรายละเอียดที่ต่างกันดังตัวอย่างที่ แฮนเซน โรสเบอร์ก และ
เครมเมอร์ (Hansen, Rossberg & Cramer, 1994: 8-9) ได้นำ�เสนอนิยามของโวลแมน (Wolman, 1973)
สเตฟเฟลอร์ และแมทเทนี (Stefflre and Matheny, 1968) กับโพล์สเตอร์ และโพล์สเตอร์ (Polster &
Polster, 1973) ไว้ดังนี้

       โวลแมน นิยามคำ�ว่า ทฤษฎี ไว้ว่า หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แปลความมา
จากการสังเกต และ/หรือการทดลอง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นระบบ

       สเตฟเฟลอร์ และ แมทเทนี พูดถึงทฤษฎีว่าหมายถึง แบบจำ�ลองที่นักทฤษฎีคิดขึ้นมาจากการผสม
ผสมกลมกลืนกันระหว่างประสบการณ์ที่พบจริงกับแนวความคิดที่น่าจะเป็นเหตุผลที่ใช้อธิบายการเกิด
เหตุการณ์ที่ได้ประสบนั้นได้ ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีจะหมายถึงการอธิบายถึงที่มาที่ไปของสิ่งที่จะเกิด
ขึ้นหรือการกระทำ�ในอนาคต

       โพลส์ เตอร์ และโพลส์ เตอร์ กลา่ ววา่ ทฤษฎมี อี ทิ ธพิ ลตอ่ การใหค้ �ำ อธบิ ายในสิง่ ทีย่ งั ตอ้ งการค�ำ อธบิ าย
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46