Page 44 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 44
1-34 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
4. ทฤษฎีช่วยให้มีเครื่องมือหรือวิธีการที่สามารถตรวจสอบยืนยันหรือพิสูจน์คำ�อธิบายในเรื่อง
การให้การปรึกษาได้ เพราะทฤษฎีจะกำ�หนดแนวทางหรือวิธีการในการค้นคว้าหาความรู้จากการปฏิบัติเพื่อ
ยืนยันแนวคิดของทฤษฎี ซึ่งอาจทำ�ให้ได้องค์ความรู้ที่สนับสนุนแนวคิดของทฤษฎีให้มีความน่าเชื่อถือมาก
ขึ้น และเครื่องมือหรือวิธีการดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้เชื่อถือในทฤษฎีนั้นๆ มีความมั่นใจในการนำ�ทฤษฎีไปสู่
การปฏิบัติยิ่งขึ้น เนื่องจากการตรวจสอบทำ�ให้เห็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของทฤษฎีอย่างเป็นรูปธรรม
มากขึ้น
ดังนั้นจึงสรุป ความสำ�คัญของทฤษฎีการปรึกษาได้ดังนี้ คือ
1. ทฤษฎีการปรึกษาช่วยให้ผู้ให้การปรึกษา มีแนวทางในการให้การปรึกษา เนื่องจากทฤษฎีการ
ปรึกษาแต่ละทฤษฎีจะกล่าวถึงทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ แนวคิดหลักของทฤษฎี เป้าหมายของการ
ให้การปรึกษาบทบาทและหน้าที่ของผู้ให้การปรึกษา และกระบวนการหรือขั้นตอนและเทคนิคในการให้การ
ปรึกษา
2. ทฤษฎกี ารปรึกษาชว่ ยใหผ้ ู้การปรกึ ษา มเี ครือ่ งมือและวิธกี ารทีเ่ ปน็ ประโยชน์ตอ่ การนำ�มาพฒั นา
ทักษะและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา และ
3. ทฤษฎกี ารปรกึ ษาชว่ ยใหผ้ ูใ้ หก้ ารปรกึ ษา มแี นวทางในการคน้ ควา้ หาความรู้ ส�ำ รวจ และท�ำ ความ
เขา้ ใจกบั องคป์ ระกอบตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง ซึง่ อาจพฒั นาไปสูก่ ารได้องคค์ วามรู้ใหมห่ รือการสรา้ งทฤษฎใี หมด่ ว้ ย
วัตถุประสงค์ของการปรกึ ษาเชงิ จิตวิทยา
ในงานบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล การให้การปรึกษา
เป็นกลุ่มและการให้การปรึกษาครอบครัว ผู้ให้การปรึกษาจำ�เป็นต้องกำ�หนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ทัง้ ในงานบรกิ ารปรกึ ษาโดยภาพรวมและในการบรกิ ารปรกึ ษาในแตล่ ะครัง้ ดงั นัน้ ในเรือ่ งนี้ ผูเ้ ขยี นจะขอกลา่ ว
ถึงวัตถุประสงค์ของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยภาพรวมทั่วไป วัตถุประสงค์ของการให้การปรึกษาครอบครัว
และเป้าหมายของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยทั่วไป
เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษา
1. มีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ตามความเป็นจริง
2. ค้นพบทักษะและความสามารถของตนและนำ�ไปใช้ในการดำ�รงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
3. มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์
5. สามารถพัฒนาศักยภาพของตนและนำ�ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้