Page 40 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 40
1-30 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
เรอื่ งที่ 1.2.1 หลกั การปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยา
การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา เป็นงานที่จัดอยู่ในวิชาชีพชั้นสูง และทั้งเป็นหัวใจหลักของงาน
แนะแนว และมผี ลลพั ธท์ ีส่ �ำ คญั ตอ่ ชวี ติ มนษุ ยท์ ีม่ ารบั การปรกึ ษา ดงั นัน้ ผูศ้ กึ ษาและผูป้ ฏบิ ตั จิ งึ มคี วามจ�ำ เปน็
ต้องรู้จักหลักการที่สำ�คัญของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาก่อนอื่นได้แก่ ความหมายของการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ความหมายและความสำ�คัญของทฤษฎีการปรึกษา จากนั้นให้ไปศึกษาและมีความเข้าใจกับวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาต่อไป
1. ความหมายของการปรกึ ษาเชงิ จติ วิทยา
ความหมายของการปรึกษาเชิงจิตวิทยา “การปรึกษา” มาจากคำ�ในภาษาอังกฤษว่า “counseling”
ซึ่งในภาษาไทยก็มีคำ�ที่ใช้กันอยู่หลายคำ� เช่น การให้บริการปรึกษา การให้คำ�ปรึกษา หรือการปรึกษาเชิง
จิตวิทยา สำ�หรับแขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมธิราช ใช้ว่า “การปรึกษาเชิงจิตวิทยา”
“การปรึกษาเชิงจิตวิทยา” เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้คนที่มีปัญหาทางจิตใจ หรือปัญหาทางกาย
ซึ่งมีผลกระทบเนื่องมาจากสภาวะทางจิตใจ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวของตน สิ่งแวดล้อมของตน วิธีที่ตนจะ
แสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสมและเรียนรู้ วิธีการในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการ
ดังกล่าวช่วยให้บุคคลสามารถตั้งเป้าหมายเพื่อตัดสินใจ และแก้ปัญหาของตนที่เกี่ยวกับการศึกษา อาชีพและ
ส่วนตัวสังคมได้ (Hansen, Rossberg & Cramer, 1994)
การปรึกษาเชิงจิตวิทยา กับ จิตบำ�บัด หรือการบำ�บัดทางจิต คำ�ว่าการปรึกษาหรือ conseling นี้
ในตำ�ราภาษาอังกฤษ มักจะใช้แทนกันกับคำ�ว่า Psychotherapy หรือที่ภาษาไทยใช้ว่า “จิตบำ�บัด” หรือ
“การบำ�บัดทางจิต” ซึ่งใน Longman Active Study Dictionary of English (Mangay, S. 1991: 697)
ให้ความหมาย therapy หรือการบำ�บัดไว้ว่า “the treatment of illness of mind or body without
drugs or operapy หรือการบำ�บัดไว้ว่า “the treatment of illness of mind or body without drugs
or operation” คือ การรักษาผู้ป่วยทางจิตหรือกายโดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัด
แม้ว่าจะมีผู้พยายามแยกความแตกต่างของคำ� 2 คำ�นี้ ว่า “การปรึกษา” เป็นคำ�ที่ใช้สำ�หรับการ
ช่วยเหลือคนปกติที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ ส่วน “จิตบำ�บัด” เป็นคำ�ที่ใช้สำ�หรับคน
ที่มีปัญหาทางจิตรุนแรง แต่ตำ�ราภาษาอังกฤษหลายเล่มก็มักจะใช้คำ� 2 คำ�นี้ แทนกัน เพราะมองว่าความ
แตกตา่ งในดา้ นเปา้ หมาย กระบวนการ และเทคนคิ ทีใ่ ช้ ในการใหค้ วามชว่ ยเหลอื กลุม่ เปา้ หมายไมไ่ ดแ้ ตกตา่ ง