Page 35 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 35
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-25
3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษา หรือองค์กรในการพัฒนาสมาชิกหรือบุคลากร
เพราะสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมมีผลงานดี
2. งานแนะแนวกบั การจดั การศกึ ษาตาม พรบ. การศกึ ษาแหง่ ชาติ 2542 แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ (ฉบบั ท่ี 2)
พ.ศ. 2545
เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัตกิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ ทำ�ใหม้ กี ารปรบั เปลีย่ นหรือปฏริ ูปกลไกและวิธี
การต่างๆ ในระบบหรือกระบวนการศึกษา งานแนะแนวจะเป็นกลไกที่มีความสำ�คัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
ในอันที่จะทำ�ให้การจัดการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2.1 ความต้องการงานแนะแนว ถ้าพิจารณาตามมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จะได้รับว่ามีมาตราของกฎหมายการศึกษาฉบับนี้ที่ต้องการ
หรือจำ�เป็นที่การแนะแนวต้องเข้าไปมีบทบาทที่จะทำ�ให้การจัดการศึกษาดำ�เนินไปอย่างมีประสิทธิผลประสบ
ความสำ�เร็จตามที่พระราชบัญญัติต้องการ ดังจะนำ�มากล่าวบางมาตรา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 คือ
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำ�รงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข
ทั้งหมดที่กล่าวนี้คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งตรงกับเป้าหมายของการแนะแนว ดังนั้น
กิจกรรมของการแนะแนวจะช่วยส่งเสริมพัฒนาบุคคลให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าวร่วมกับกิจกรรมอย่าง
อื่นได้
มาตรา 8 หลักการจัดการศึกษาในข้อ (1) กล่าวว่า “เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำ�หรับประชาชน”
การจัดการศึกษาเช่นนี้ผู้ศึกษาจำ�เป็นต้องพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง เมื่อพบกับปัญหาเขาอาจต้องพบผู้
ให้การปรึกษา การแนะแนวจึงมีความจำ�เป็นและต้องพร้อมตลอดเวลาที่จะเป็นที่ปรึกษาแก่บุคคลในสังคม
ทุกเพศทุกวัย
มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
การแนะแนวจะช่วยให้ทุกคนได้ใช้สิทธิและโอกาสของตน คือ จะช่วยให้การปรึกษาแก่บุคคลทั้ง
ด้านการศึกษาอาชีพ ส่วนตัว และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งมีความเสียเปรียบ
คนปกติทั่วไป งานแนะแนวจะช่วยบุคคลเหล่านี้ได้ใช้สิทธิและโอกาสของตนอย่างเต็มที่
มาตรา 22 ซึ่งอยู่ในหมวด แนวการจัดการศึกษา กล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุก
คนมคี วามสามารถเรยี นรูแ้ ละพฒั นาตนเองได้ และถอื วา่ ผูเ้ รยี นมคี วามส�ำ คญั ทีส่ ดุ กระบวนการจดั การศกึ ษา
จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”