Page 37 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 37
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-27
ผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำ�หนด
ในกฎกระทรวงจึงจำ�เป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“กิจกรรมในการแนะแนว” หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับการแนะแนว การให้คำ�ปรึกษาและ
ฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียน
นักศึกษา และผู้ปกครอง
“นักเรียนหรือนักศึกษาที่เสี่ยงต่อการกระทำ�ผิด” หมายความว่า นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีลักษณะ
ต่อไปนี้
(1) ประพฤติตนไม่สมควรกับสภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
(2) ประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
(3) คบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำ�ไปในทางกระทำ�ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือ
(4) อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำ�ไปในทางเสียหาย
ข้อ 2 ใหโ้ รงเรียนและสถานศกึ ษาจัดให้มีระบบงานและกจิ กรรมในการแนะแนวให้ค�ำ ปรึกษาและฝกึ
อบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ทั้งนี้ ตามระดับของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
ข้อ 3 ให้โรงเรียนและสถานศึกษามีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พัฒนาระบบงานแนะแนวที่จะช่วยเหลือดูแลนักเรียนและนักศึกษาเป็นรายบุคคลพร้อมทั้ง
ส่งเสริมให้ครูทุกคนมีบทบาทในการแนะแนว รู้จักและเข้าใจผู้เรียน สามารถค้นพบและจัดการเรียนรู้ที่จะ
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และให้คำ�ปรึกษาด้านการดำ�รงชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการศึกษาต่อและ
การมีงานทำ� ทั้งนี้ ให้มีระบบข้อมูลตั้งแต่แรกเข้าเพื่อติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษา
(2) สำ�รวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียนและนักศึกษาที่เสี่ยงต่อการกระทำ�ผิดเพื่อจัดกิจกรรมใน
การพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(3) แจ้งให้ผู้ปกครองของนักเรียนและนักศึกษาที่เสี่ยงต่อการกระทำ�ผิดได้ทราบถึงพฤติกรรมและ
หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้ อาจกำ�หนดให้นักเรียนหรือนักศึกษาดังกล่าวเข้าร่วมกิจกรรมตามที่เห็น
สมควร
(4) จัดให้มีมาตรการส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยมีแผนงาน
ผู้รับผิดชอบ และการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
(5) สนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริมความประพฤติและความ
ปลอดภัยของนักเรียนและนักศึกษา
(6) จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำ�เนินงานต่อส่วนราชการต้นสังกัด
อย่างน้อยปีการศึกษาละหนึ่งครั้ง
จะเห็นว่า การดำ�เนินงานแนะแนวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและกฎกระทรวงนั้น มี
ทั้งการปรับโครงการการบริหารระบบงานของบุคลากร ระบบการเรียนการสอน และจุดเน้นของการศึกษา
การส่งเสริมพัฒนา การปรับปรุงแก้ไขให้การช่วยเหลือบุคคล เพื่อให้ประสบความสำ�เร็จในด้านการศึกษา