Page 32 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 32
1-22 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
11. มีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกเวลาเรียน ให้ครูและผู้เรียนได้พบปะใกล้ชิดเพื่อสร้าง
ความคุ้นเคย เช่น กิจกรรมรับศิษย์ใหม่ วันไหว้ครู วันเด็ก วันขึ้นปีใหม่
ด้านปัจจัย
1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ�และเห็นความสำ�คัญของการแนะแนว
2. ครทู กุ คนตระหนกั เหน็ ความส�ำ คญั ของการแนะแนว และมคี วามรู้ ความเขา้ ใจพืน้ ฐานดา้ น
จิตวิทยาการแนะแนว
3. ครูทุกคนมีบทบาทในการดำ�เนินงานแนะแนว
4. มีคณะทำ�งานที่รับผิดชอบการดำ�เนินงานแนะแนวโดยตรง
5. มีแผนการดำ�เนินงานแนะแนวที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
6. มีโครงการ/งาน/กิจกรรม ที่สนองความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
7. มีแนวปฏิบัติในการดำ�เนินงานแนะแนวและมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
8. มีเครื่องมือการรู้จักและเข้าใจผู้เรียนที่หลากหลาย ทันสมัยและมีการนำ�ไปใช้
9. มีศูนย์ปฏิบัติการแนะแนวของสถานศึกษา
10. มีเครือข่ายการพัฒนาดูแลช่วยเหลือผู้เรียนทั้งในและนอกสถานศึกษา
กล่าวโดยสรุป จุดเน้นการบริหารจัดการแนะแนว เป็นการพัฒนาระบบการแนะแนวของสถานศึกษา
ที่สามารถป้องกัน ช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทุกคนได้เต็มตามศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อ
ให้ได้มาซึ่งระบบการบริหารที่มีความเหมาะสม ตรงตามความต้องการและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
ต้องศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ในการวางระบบอย่างละเอียดลึกซึ้งและครบถ้วน องค์ประกอบที่สำ�คัญได้แก่
การวางโครงสร้างองค์กรและบทบาทหน้าที่ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการกำ�หนดคณะหรือบุคคลผู้ปฏิบัติ
งาน รวมทัง้ สายการบรหิ ารและประสานงาน โดยยดึ หลกั ทกุ สว่ นของสงั คมมสี ว่ นรว่ ม และองคป์ ระกอบทีข่ าด
ไม่ได้ คือการติดตามและประเมินผล ซึ่งตามหลักการแนะแนวแล้ว การติดตามประเมินผลมีหลายวิธีการ
และหลายปัจจัย อาจมีการติดตามผลผู้เรียนที่จบการศึกษา มีการประเมินกระบวนการผู้ให้การแนะแนวและ
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ให้
การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาอาจพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ได้ตามความจำ�เป็น
หลงั จากศึกษาเนอื้ หาสาระเรือ่ งท่ี 1.1.2 แลว้ โปรดปฏบิ ตั ิกิจกรรม 1.1.2
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 1 ตอนท่ี 1.1 เรอ่ื งท่ี 1.1.2