Page 28 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 28
1-18 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
แก้ไขในที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนา ผู้เรียนทุกคนให้บรรลุเป้าหมาย
ของหลักสูตร การบริหารจัดการแนะแนวจึงควรดำ�เนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอนดำ�เนินการ ดังนี้
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545: 21-25)
1. การเตรยี มการและวางแผนด�ำ เนนิ งาน (Plan) มกี ารแตง่ ตัง้ คณะอนกุ รรมการแนะแนวและ
ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสภาพความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหา นโยบายการจัดการศึกษาแผนพัฒนาการ
แนะแนว ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) และสภาพความพร้อมของสถานศึกษา รวมทั้งจัดทำ�แผนปฏิบัติการ
2. การปฏิบัติตามแผน (Do) มีการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจกับบุคลากรทุกคนทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วดำ�เนินการตามแผนปฏิบัติการ
3. การกำ�กับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน (Check) มีการติดตามและประเมินผล
เพื่อตรวจสอบและทบทวนการดำ�เนินการที่ผ่านมา
4. การปรบั ปรงุ และพัฒนา (Act) เปน็ การนำ�ผลการประเมินมาใชใ้ นการปรบั ปรงุ และพฒั นา
ระบบการบริหารจัดการแนะแนวในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีการจัดทำ�รายงานผลการดำ�เนิน
งานเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาต่อไป
การด�ำ เนนิ การแนะแนวใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพสงู สดุ นอกจากการก�ำ หนดภารกจิ ของงานใหส้ นอง
ความตอ้ งการของผูเ้ รยี นทกุ กลุม่ เปา้ หมาย การกำ�หนดโครงสรา้ งองคก์ ร และบทบาทหนา้ ทีข่ องบคุ ลากรอยา่ ง
ชดั เจน และมรี ะบบการด�ำ เนนิ งานทีเ่ ปน็ รปู ธรรมแลว้ การจดั การดา้ นบคุ ลากรนบั วา่ มสี ว่ นส�ำ คญั ยิง่ ซึง่ ในการ
บริหารจัดการ มีประเด็นสำ�คัญเกี่ยวกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ควรคำ�นึงถึงดังต่อไปนี้
1) เวลาในการปฏิบัติงาน การแนะแนวเป็นงานป้องกัน ส่งเสริมพัฒนาและช่วยเหลือผู้เรียน
ทุกๆ ด้าน เป็นงานที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ ตามสภาพความต้องการและปัญหาของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งมีความ
แตกต่างกัน ดังนั้นการดำ�เนินงานแนะแนวสามารถทำ�ได้หลากหลายวิธีการไม่มีรูปแบบตายตัว นับตั้งแต่
การใหบ้ รกิ ารในลกั ษณะตา่ งๆ การรวบรวมวเิ คราะห์ สงั เคราะหข์ อ้ มลู ผูเ้ รยี น การเยีย่ มบา้ น การใหก้ ารปรกึ ษา
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ฯลฯ ภารกิจเหล่านี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติงาน
ตามหน้าที่อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งมีความสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนสามารถ
ส่งเสริม พัฒนาและช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นรายกรณี จึงควรนับเวลาการปฏิบัติงาน
ดงั กลา่ ว ทีผ่ ูร้ บั ผดิ ชอบภารกจิ นัน้ ๆ ด�ำ เนนิ การเปน็ เวลาปฏบิ ตั งิ านเชน่ เดยี วกบั ครผู ูป้ ฏบิ ตั กิ ารสอนในรายวชิ า
ต่างๆ แต่จะนับเวลาปฏิบัติงานเป็นครั้งหรือเป็นอย่างไรนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะนำ�
เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
2) การประสานความร่วมมือกับบุคลากรภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้
ความสำ�คัญแก่บุคลากรทุกกลุ่มทุกฝ่าย โดยให้ร่วมกำ�หนดนโยบาย แผนงาน และจัดประชุมชี้แจงบุคลากร
ภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการแนะแนว ตลอดจนร่วมประชุมระดมความ
คิดและปรึกษาหารือกับบุคลากรภายในสถานศึกษาเป็นระยะๆ เพื่อประสานความร่วมมือ และหาแนวทาง
การแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำ�เนินงาน