Page 29 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 29
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-19
3) การประสานความรว่ มมอื กบั บคุ ลากรภายนอกสถานศกึ ษา บคุ ลากรภายนอกสถานศกึ ษา
ที่มีบทบาทต่อการแนะแนว ได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
ต่างๆ จำ�เป็นที่สถานศึกษาควรจัดทำ�เอกสารหรือเชิญประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและมีเจตคติที่ดี
ต่อการแนะแนว รวมทั้งมีส่วนร่วมในการวางแผนการแนะแนวของสถานศึกษา ตลอดจนยอมรับในบทบาท
หน้าที่ความรับผิดชอบที่กำ�หนดไว้และให้ความร่วมมือ สนับสนุน ช่วยเหลือ งาน กิจกรรม หรือโครงการของ
สถานศึกษาด้วยความเต็มใจ
4) การสร้างขวัญและกำ�ลังใจ การที่ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารหรือผู้ช่วยบริหาร และ
ครูทุกคน ถือว่างานแนะแนวเป็นภารกิจของทุกคน ที่ต้องร่วมกันปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน บุคลากร
ทุกคนจึงควรมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนการดำ�เนินงานและสรุปผล นอกจากนี้ ควรให้การสนับสนุน
ยกย่อง ชมเชย หรือประกาศเกียรติคุณ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่นหรือประสบความสำ�เร็จ ตลอดจน
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการศึกษา ฝึกอบรมดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและ
ประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการแนะแนวเพื่อนำ�ไปใช้ในการพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาผู้เรียน
กล่าวโดยสรุป แนวทางการบริหารจัดการแนะแนวในแต่ละรูปแบบการจัดการศึกษาทั้งในระบบ
นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรือของแต่ละสถานศึกษา ย่อมเป็นไปตามสภาพของผู้เรียน สภาพ
ปัญหา นโยบายการจัดการศึกษาและศักยภาพความพร้อมของสถานศึกษาซึ่งต้องมีการบริหารจัดการอย่าง
มีหลัก มีระบบเป็นขั้นตอน โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และที่สำ�คัญในการบริหารจัดการ คือการมีแผน
งานหรือแผนปฏิบัติการทั้งด้านเนื้อหาสาระและเทคนิคกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถสนองความ
ตอ้ งการและจดุ เนน้ ในการพฒั นาผูเ้ รยี น มกี ารมอบหมายใหค้ รทู กุ คนรบั ผดิ ชอบปฏบิ ตั งิ านตามบทบาทหนา้ ที่
มีระบบการดำ�เนินงานที่ชัดเจน และมีการกำ�กับติดตามประเมินผลการดำ�เนินงานเป็นระยะๆ อย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการ และเทคนิควิธีการ รวมทั้งการกำ�หนดหลักการหรือ
สร้างระบบการดูแลความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
2. การตดิ ตามประเมินงานแนะแนว
การติดตามและประเมินผล เป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่เพียงใด
มีปัญหา อุปสรรคที่ต้องแก้ไข หรือประสบความสำ�เร็จควรแก่การขยายผลให้กว้างขวางต่อไป
การติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการแนะแนว ควรมีหลักการและแนวดำ�เนินการดังนี้
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545: 17-20)
2.1 หลักการในการติดตามและประเมินผลงานแนะแนว
1. มคี ณะกรรมการ/คณะท�ำ งาน ตดิ ตามและประเมนิ ผล โดยเปดิ โอกาสใหท้ กุ สว่ นของสงั คม
มีส่วนร่วม
2. มีการสร้างตัวชี้วัดความสำ�เร็จ ทั้งด้านผลผลิต (Output) กระบวนการ (Process) และ
ปัจจัย (Input) อย่างเป็นระบบ มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป