Page 30 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 30

1-20 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

            3. 	มีการจัดทำ�เครื่องมือในการติดตามและประเมินผล ให้สอดคล้องตามตัวชี้วัดความสำ�เร็จ
ที่กำ�หนดไว้

            4. 	จัดทำ�แผนปฏิบัติการและพัฒนาผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจ
ในเทคนิค วิธีการติดตามและประเมินผล

            5. 	มีการนำ�เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
แนะแนว และส่งเสริมการมีเครือข่ายให้เชื่อมโยงกันเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

            6. 	ใช้วิธีการติดตามและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง และนำ�ข้อมูลย้อนกลับมา
ใช้พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมทั้งเผยแพร่การดำ�เนินงานต่อสาธารณชน

       2.2 	แนวทางด�ำ เนนิ การตดิ ตามและประเมนิ ผลงานแนะแนว การตดิ ตามและประเมนิ ผลการด�ำ เนนิ
งานเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ให้เกิดการพัฒนาโดยไม่มีการติดสินถูก/ผิด แต่เป็นการทำ�ให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่
จะนำ�ไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการแนะแนวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การติดตามและ
ประเมินผล สามารถดำ�เนินการได้ 2 รูปแบบ คือ

            1. การประเมินผลระหว่างดำ�เนินการ ซึ่งทำ�ได้ทุกระยะของการปฏิบัติงาน ด้วยการประชุม
นิเทศ กำ�กับติดตาม ในบรรยากาศการร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการ
ดำ�เนินงาน โดยใช้แบบบันทึก แบบรายงานการปฏิบัติงาน หรือแบบประเมิน

            2. การประเมินผลรวบยอด ควรทำ�อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือภาคเรียนละ 1 ครั้ง เป็นการ
ประเมินเมื่อได้ดำ�เนินงานสิ้นสุด หรืองานได้เสร็จสิ้นช่วงใดช่วงหนึ่งการติดตามและประเมินผลรูปแบบนี้
ควรประเมินทั้งส่วนที่เป็นผลผลิต (Output) กระบวนการ (Process) และปัจจัย (Input) ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน
และผู้เกี่ยวข้อง ควรมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ตลอดจนมีการนำ�เสนอผลการประเมินให้ได้
ทราบทั่วกัน

       2.3 	ขั้นตอนการวางแผนในการติดตามและประเมินผลงานแนะแนว มีดังต่อไปนี้
            1. 	กำ�หนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการประเมิน
            2. 	กำ�หนดสภาพความสำ�เร็จ และตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวแปรที่จะสะท้อนสภาพความสำ�เร็จ
            3. 	กำ�หนดแหล่งข้อมูลและบุคลากรที่จะให้ข้อมูลได้ตรงกับตัวชี้วัด
            4. 	ก�ำ หนดเทคนคิ วธิ กี ารตดิ ตามและประเมนิ ผล ตลอดจนวธิ วี เิ คราะหข์ อ้ มลู และการแปลผล
            5. 	กำ�หนดแผนปฏิบัติการติดตามและประเมินผล

       ตัวชี้วัดความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานแนะแนว
            ด้านผลผลิต
            1. 	ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
            2. 	ผู้เรียนรู้ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ และจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง
            3. 	ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ ตลอดจนสภาพ

สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำ�เนินชีวิต
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35