Page 51 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 51
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-41
27) มีความรู้สึกและความคิดที่ดีต่อทางเลือกในการทำ�งานหลายๆ ทางเลือก
28) มีความรู้สึกและความคิดที่ดีต่อการเป็นผู้ริเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่มีความหมายหรือทำ�ให้
ตนเองรู้สึกพอใจ) โดยไม่ต้องสนใจกับการต่อต้านจากผู้อื่นมากนัก
29) มีความรู้สึกและความคิดที่ดีต่อการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ร้องขอสิ่งที่ตนต้องการ แต่อย่ามุ่ง
หวังว่าจะต้องได้ตามที่ขอทุกครั้ง
30) มีความรู้สึกและความคิดที่ดีต่อการพักผ่อน การเดินทาง และประสบการณ์ต่างๆ และ
ทำ�ให้สิ่งเหล่านั้นมีความหมายที่ดีสำ�หรับตนเสมอ
31) ไม่ยอมตกเป็นแพะรับบาปในกรณีที่ตนมิได้เป็นผู้ก่อ
32) มีความรู้สึกและความคิดที่ดีต่อการแสวงหาความรู้ด้วยการเข้าประชุมหรือ สัมมนาเพื่อ
วิสัยทัศน์ใหม่ๆ
33) ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์และรู้จักให้อภัยในความผิดพลาดของตนเอง
และผู้อื่น
34) ตระหนักในความสำ�คัญของการหาเพื่อน เพื่อสนับสนุนหรือเป็นกำ�ลังใจให้แก่กันและกัน
35) เห็นความสำ�คัญของการเป็นคนกระฉับกระเฉงหรือกระตือรือร้นอยู่เสมอ
สำ�หรับองค์ประกอบด้านผู้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้เขียนจะนำ�เสนอใน 3 ประเด็นคือ
1. ลักษณะเด่นของพัฒนาการเฉพาะวัย
2. ประสบการณ์ชีวิตตามวัย และ
3. จุดเน้นของปัญหาที่พบในแต่ละวัย
1. ลักษณะเด่นของพฒั นาการเฉพาะวัย
วัยของผู้รับการปรึกษามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการให้การปรึกษา เพราะลักษณะเฉพาะของ
บุคคลแต่ละวัยทำ�ให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกัน หรือแม้จะเป็นปัญหาเดียวกันก็มีระดับความซับซ้อนหรือความ
เข้มข้นต่างกัน เนื่องจากบุคคลต่างวัยกันจะได้รับการสั่งสมประสบการณ์ในท�ำ นองเดียวกันต่างกันตามระยะ
เวลาของช่วงอายุที่ต่างกัน
แขนงวิชาการแนะแนว สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2542) แบ่งวัยของ
บุคคลที่จะเป็นผู้รับการปรึกษาออกเป็น 3 วัย คือ
1. วัยเด็ก ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์
2. วัยรุ่น ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ย่างเข้าปีที่ 13 ถึง 19 ปีบริบูรณ์ และ
3. วัยผู้ใหญ่ ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ย่างเข้าปีที่ 20 ขึ้นไป
4. วัยผู้สูงอายุ ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ลกั ษณะเดน่ ของพฒั นาการเฉพาะวยั ของบคุ คล 4 วยั ไดแ้ ก่ ลกั ษณะทางรา่ งกาย ลกั ษณะสตปิ ญั ญา
ลักษณะทางสังคม และลักษณะทางอารมณ์ ซึ่งสังเคราะห์เฉพาะลักษณะที่ต่างกันอย่างชัดเจนได้ ดังตาราง
ที่ 1.1