Page 57 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 57

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-47

รู้สึกโปร่งสบาย และการจัดวางอุปกรณ์หรือการตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้เล็กๆ ก็จะอยู่ในลักษณะที่ทำ�ให้
รู้สึกสบายๆ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อบอุ่นและให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง

       ในขณะเดียวกันโต๊ะที่ใช้ทำ�งานและตู้เก็บเอกสารในการทำ�งานที่เป็นงานเฉพาะของผู้ให้การปรึกษา
จะอยู่ที่มุมหนึ่งของห้องที่ไม่ใช่บริเวณของการให้การปรึกษา และไม่อยู่ในตำ�แหน่งที่โดดเด่น

       ช่องว่างระหว่างการนั่งของผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษาจะไม่มีอะไรมาขวางนั้น แต่ทั้ง 2
ฝ่ายจะนั่งอยู่ในระดับเดียวกันที่ไม่ใช่การเผชิญหน้ากัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำ�ให้ผู้รับการปรึกษามีความรู้สึก
เหมือนกับว่าทั้งสองฝ่ายกำ�ลังร่วมกันคิดถึงสิ่งที่เป็นปัญหาสำ�หรับผู้รับการปรึกษามากกว่าจะรู้สึกว่าตนกำ�ลัง
นั่งเผชิญหน้าอยู่กับ “ผู้เชี่ยวชาญ” และเก้าอี้ทั้ง 2 ตัวที่วางอยู่ ก็จะไม่ใช่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะ ผู้รับ
การปรึกษาสามารถเลือกที่จะนั่งที่เก้าอี้ตัวใดก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าผู้รับการปรึกษามีอาการลังเล ผู้ให้การปรึกษา
ก็อาจแนะให้นั่งที่ตัวใดตัวหนึ่งได้

       การจัดวางเก้าอี้ทั้ง 2 ตัวจะจัดไม่ให้ต้องเผชิญกับแสงจ้าที่ส่องเข้ามาทางหน้าต่าง เพราะใน
กระบวนการปรึกษา ผู้ให้และผู้รับการบริการควรต้องสบตาหรือมองหน้ากัน การมีแสงจ้าเข้าตาที่ทำ�ให้ไม่
สามารถมองเห็นกันได้ตลอด อาจทำ�ให้การดำ�เนินการปรึกษาไม่ราบรื่น

       การจดั ใหม้ กี ลอ่ งกระดาษเชด็ หนา้ และทีท่ ิง้ กระดาษอาจมปี ระโยขนใ์ นกรณที ีผ่ ูเ้ ขา้ รบั การปรกึ ษาอาจ
ร้องไห้ระหว่างการให้การปรึกษา

       การรักษาความลับ จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความอุ่นใจที่จะระบายความคับแค้นที่ไม่ต้องการ
ให้คนทั่วไปรับรู้ การมีเสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาในห้องอาจทำ�ให้ผู้รับการปรึกษาหวาดระแวงว่าเสียง
ที่เขาพูดอาจดังไปถึงข้างนอกได้ ฉะนั้นการป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ให้รบกวนเข้ามาในห้องในระหว่าง
กระบวนการให้การปรึกษาจะเป็นการสร้างบรรยากาศทางจิตภาพอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษาเกิด
ความไว้วางใจ และกล้าพูดในสิ่งที่ต้องการพูดหรือต้องการระบาย

       นอกจากนี้ในระหว่างการให้การปรึกษา ไม่ควรให้มีการรบกวนด้วยการมีเสียงเคาะประตูหรือการ
มีผู้ไม่เกี่ยวข้องเดินเข้ามาในห้อง ทั้งนี้ ต้องมีป้ายติดหน้าห้องด้วยว่ากำ�ลังอยู่ในระหว่างการให้การปรึกษา
โปรดอย่ารบกวนหรือขัดจังหวะ เป็นต้น

       การจัดสถานที่ตามแนวคิดที่เจลดาร์ดนำ�เสนอ เป็นเพียงแนวทางหนึ่งเท่านั้น ในการปฏิบัติจริงผู้
ให้การปรึกษาคนหนึ่งๆ อาจมีแนวทางในการจัดห้องหรือสถานที่ในการให้การปรึกษาเพื่อเสริมสร้างให้เกิด
สภาพแวดล้อมทางจิตภาพต่างออกไปอย่างไรก็ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานแต่ละแห่ง ที่
สำ�คัญที่สุดก็คือ ควรคำ�นึงถึงผลที่จะได้รับทางจิตภาพเป็นสำ�คัญด้วย

              หลังจากศึกษาเน้อื หาสาระเรอื่ งท่ี 1.2.2 แล้ว โปรดปฏบัตกิ จิ กรรม 1.2.2
                      ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยท่ี 1 ตอนท่ี 1.2 เรือ่ งท่ี 1.2.2
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62