Page 59 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 59
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-49
11. ทฤษฎกี ารปรกึ ษาตามแนวคดิ ของ วลิ เลยี ม แกสเซอร์ (William Glasser) ทีเ่ รยี กวา่ การปรกึ ษา
แบบเผชิญความจริง (Reality Therapy)
12. ทฤษฎกี ารปรกึ ษาตามแนวคดิ ของอรี คิ เบริ น์ (Eric Berne) ทีเ่ รยี กวา่ การปรกึ ษาแบบวเิ คราะห์
สัมพันธภาพ (Transactional Analysis in Psychotherapy)
1.3 ทฤษฎีการปรึกษาตามแนวคิดของอาร์โนล เอ ลาซารัส (Arnold A. Lazarus) ที่เรียกว่าการ
ปรึกษาที่ใช้แนวคิดจากหลายแหล่ง (Multimodal Therapy)
1.4 ทฤษฎีการปรึกษาที่นำ�มาใช้ในการให้การปรึกษาครอบครัวตามแนวคิดของ เมอร์เรย์ โบเวน
(Murray Bowen) ที่เรียกว่า การปรึกษาครอบครัว (Family Therapy)
นอกจากนี้ ยังมีตำ�ราบางเล่ม (Corsini & Wedding D. 1995) ได้เสนอแนวโน้มของแนวคิดที่อาจ
พัฒนาขึ้นเป็นทฤษฎีการปรึกษาไว้อีก 3 แนวคิด คือ
1) แนวคิดการปรึกษาโดยใช้ ปรัชญา ข้อคิด หรือหลักธรรมทางศาสนาที่มีต้นกำ�เนิดในทวีปเอเชีย
ผสมผสานกบั แนวคดิ ในการใหก้ ารปรกึ ษาเดมิ ทีเ่ รยี กวา่ การปรกึ ษาตามแนวคดิ ทางเอเชยี (Asian Therapy)
2) แนวคิดการปรึกษาโดยใช้จิตวิทยาในการจัดฉากละครให้เหมือนสถานการณ์ในชีวิตเรียกว่า การ
ปรึกษาแบบละครชีวิตเชิงจิตวิทยา (Psychodrama) และ
3) แนวคิดการปรึกษาโดยการวิเคราะห์สภาพและการทำ�งานของสรีระของบุคคลที่เรียกว่าการ
ปรึกษาโดยการวิเคราะห์พลังชีวภาพ (Bioenergetic Analysis)
ความเหมือนและความต่างของทฤษฎีการปรึกษาต่างๆ
จากทฤษฎีการปรึกษาต่างๆ ที่ปรากฏดังกล่าว ถ้าได้ศึกษาในรายละเอียดแล้ว จะพบความเหมือน
และต่างในประเด็นสำ�คัญดังนี้
ประเด็นที่เหมือนกัน ได้แก่ โครงสร้างของทฤษฎี โดยทุกทฤษฎี จะมีโครงสร้างซึ่งประกอบด้วย
1. ทรรศนะหรือแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์
2. เป้าหมายของการให้การปรึกษา
3. กระบวนการและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา และ
4. บทบาทของผู้ให้การปรึกษา
ประเด็นที่ต่างกัน ได้แก่ สาระและจุดเน้นของแต่ละองค์ประกอบของโครงสร้าง ซึ่งนักศึกษาจะได้
ศึกษารายละเอียดของแต่ละทฤษฎีในหน่วยต่อๆ ไป