Page 63 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 63
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-53
เร่ืองท่ี 1.3.1 ความหมายและความสำ�คัญของคุณธรรม จริยธรรม
และจรรยาวชิ าชีพ
ทุกสังคมไม่ว่าสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างเรียกร้องต้องการให้คนของตนมีคุณธรรม
จริยธรรม โดยเห็นว่าหากคนส่วนใหญ่มีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว ก็จะทำ�ให้สังคมสงบสุข เกิดความร่มเย็น
ไดม้ กี ารกลา่ วถงึ คณุ ลกั ษณะทัง้ สองกนั อยูเ่ สมอ และตา่ งใหก้ ารยอมรบั ในความส�ำ คญั ของทัง้ สองคณุ ลกั ษณะ
ดังกล่าวจึงน่าจะได้สร้างความเข้าใจร่วมกันในความหมาย และความสำ�คัญของคุณธรรม และจริยธรรม
1. ความหมายและความสำ�คญั ของคุณธรรม จรยิ ธรรม
1.1 ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำ�ว่า คุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม มักมีความเข้าใจ
หรืออธิบายความหมายที่ไม่ตรงกัน เช่น บางคนอธิบายความหมายของคุณธรรมตรงกับความหมายของ
จริยธรรมของอีกคนหนึ่ง บางคนอธิบายว่าจริยธรรมกับคุณธรรมเหมือนกัน บางคนว่าศีลธรรมกับจริยธรรม
เป็นอย่างเดียวกัน ในที่นี้จะได้วิเคราะห์จากบางความหมายที่รวบรวมได้ ซึ่งค่อนข้างมีความชัดเจนพยายาม
หาลักษณะร่วม และข้อสรุปในความหมายของทั้ง 3 คำ�ดังกล่าว
คำ�ว่า คุณธรรม จากการศึกษาเอกสารและแนวคิดของนักวิชาการบางคน (ราชบัณฑิตยสถาน 2525:
190; นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2526; ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2524: 4; พระธรรมปิฎก 2541: 19) พอจะสรุปสาระ
สำ�คัญเป็นความหมายของ คุณธรรม ได้ว่า เป็นลักษณะของคุณความดีที่สังคมกำ�หนดหรือยอมรับ ลักษณะ
ดังกล่าวเมื่อถูกกำ�หนดขึ้นโดยสังคมเรียกว่า เป็นคุณธรรมด้านต่างๆ เช่น ความซื่อสัตย์ ความเมตตา ความ
สันโดษ ฯลฯ เมื่อพัฒนาให้เกิดขึ้นในบุคคลได้ เรียกว่า ผู้มีคุณธรรม หรือมีคุณธรรมประจำ�ใจ
ขอให้ข้อสังเกตไว้ ณ ที่นี้ว่า เมื่อกล่าวถึงคุณธรรม มักต้องระบุควบคู่ด้วยว่าคุณธรรมด้านใด และ
คุณธรรมเป็นสิ่งที่ถูกกำ�หนดโดยสังคม คุณธรรมที่เด่นของแต่ละสังคมจึงอาจแตกต่างกัน เช่น ในสังคมจีน
อาจให้ความสำ�คัญมากกับความคุณธรรม กตัญญู สังคมไทยให้ความสำ�คัญกับความเมตตา สังคมอเมริกัน
ให้ความสำ�คัญมากกับความรับผิดชอบ ความหลากหลายของคุณธรรมที่แต่ละสังคมมุ่งเน้นนี้เองที่ทำ�ให้
นักพัฒนาจริยธรรมกลุ่มทฤษฎีที่เน้นความสำ�คัญของพัฒนาการลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม (เช่น Piaget.
1932; Kohlberg 1964) หรือทางฝ่ายพฤติกรรมศาสตร์เรียกว่าเป็น จริยธรรมด้านเนื้อหา (Moral Content)
คำ�ว่า จริยธรรม จากการศึกษาพบว่า มีการให้ความหมายแยกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525: 217; นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2536) เน้นว่าจริยธรรมเป็นกฎเกณฑ์
หรือมาตรฐานของพฤติกรรมซึ่งเป็นสิ่งกำ�หนดจากภายนอก ขณะที่กลุ่มที่สอง (จอห์น ดิวอี้ อ้างใน สมบูรณ์
ศาลยาชีวิน 2522; ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2524; พระธรรมปิฎก 2541) ตีความจริยธรรมในลักษณะที่กว้าง
และมุง่ อธบิ ายวา่ เปน็ ลกั ษณะของบคุ คล หรอื เปน็ ลกั ษณะทีพ่ ฒั นาขึน้ ในตวั บคุ คลซึง่ ไดแ้ กล่ กั ษณะทางปญั ญา
จิตใจ และพฤติกรรมของบุคคล