Page 66 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 66
1-56 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
1) ความสำ�คัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพเอง กล่าวคือ ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพทำ�หน้าที่ของตนโดย
ใช้ความรู้ความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ดำ�เนินตามข้อกำ�หนดของวิชาชีพ ตัวเขาจะเกิดความ
รู้สึกสบายใจ ภูมิใจ งานจะสำ�เร็จหรือไม่เพียงใดก็ไม่ต้องกังวล เพราะได้ทำ�อย่างถูกต้อง และทำ�อย่างดีที่สุด
แลว้ ในทางตรงขา้ ม หากผูป้ ระกอบวชิ าชพี ละเมดิ ขอ้ ก�ำ หนดของวชิ าชพี การท�ำ หนา้ ทีอ่ าจผดิ พลาด เกดิ ความ
เสียหา และตัวเขาเองย่อมต้องรับผิดชอบ หรือรับผลแห่งความเสียหายนั้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ผู้ที่ละเมิด
จรรยาวิชาชีพที่หากเกิดความเสียหายที่รุนแรงอาจถูกดำ�เนินการจากสถาบันวิชาชีพอีกด้วย
2) ความสำ�คัญต่อผู้รับบริการ จรรยาวิชาชีพเป็นสิ่งกำ�หนดแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพมี
พฤติกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ละเว้นพฤติกรรมที่เกิดโทษแก่ผู้รับบริการ ฉะนั้นจรรยาวิชาชีพจึง
ปกป้องสิทธิประโยชน์และป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้รับบริการในขณะเดียวกัน
3) ความสำ�คัญต่อสถาบันวิชาชีพ เมื่อฝ่ายบริการมีพฤติกรรมดี มีประสิทธิภาพ ฝ่ายรับ
บริการได้รับประโยชน์เต็มตามสมควร วิชาชีพนั้นย่อมมีผลประกอบการที่ดี ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ เกิด
ความเจริญมั่นคง ทั้งสมาชิกและสถาบันวิชาชีพ
4) ความส�ำ คัญต่อสถาบัน หน่วยงาน ผลความส�ำ เรจ็ ของวชิ าชพี อันเนื่องจากการรกั ษาจรรยา
วิชาชีพ ย่อมนำ�ชื่อเสียงสู่สถาบันหรือหน่วยงาน ทำ�ให้สถาบันหรือหน่วยงานนั้นได้รับการยอมรับเชื่อถือไป
ด้วย แต่หากมีผู้ละเมิดจรรยาวิชาชีพ ทำ�ให้เกิดความเสียหาย ผลนั้นย่อมสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบัน/
หน่วยงานที่สังกัด ทั้งเสียชื่อเสียง และอาจมีผลกระทบต่อกิจกรรม และบุคลากรอื่นของสถาบันด้วย
5) ความสำ�คัญต่อสังคม ประเทศชาติ หากผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพ ผู้รับ
บริการได้ประโยชน์ ตนเองเกิดความสุขความก้าวหน้า สถาบันวิชาชีพมั่นคงรวมทั้งหน่วยงานก็ได้รับยอมรับ
มีผลประกอบการที่ดี บุคคลและสถาบันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบและเป็นกลไกของสังคมประเทศชาติ เมื่อ
กลไกเหลา่ นีไ้ ดร้ บั ผลดี ทำ�หนา้ ทีด่ ี สรา้ งผลงานทีด่ ี ผลดที ัง้ หลายยอ่ มเกดิ แกส่ งั คม และประเทศอยา่ งแนน่ อน
2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ จากที่ได้นำ�เสนอมาในเรื่องที่
1.3.1 นี้ ในประเด็นย่อยที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงความหมายและความสำ�คัญของคุณธรรม จริยธรรม ในประเด็นย่อย
ที่ 2 ซึ่งกล่าวถึงความหมายและความสำ�คัญของจรรยาวิชาชีพ กล่าวได้ว่าถ้าพิจารณาในเชิงลักษณะภายนอก
ตัวบุคคล คุณธรรม จริยธรรม นั้นเป็นสภาพความดีงาม มาตรฐาน หรือเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของคน
ทัว่ ไปในสงั คม สว่ นจรรยาวชิ าชพี นัน้ เปน็ ขอ้ ก�ำ หนดหรอื เกณฑม์ าตรฐานส�ำ หรบั คนในวชิ าชพี หนึง่ ๆ พงึ ปฏบิ ตั ิ
ถ้าพิจารณาในเชิงลักษณะคุณธรรม จริยธรรม เป็นลักษณะที่อยู่ในตัวบุคคล เป็นลักษณะทางปัญญา จิตใจ
และพฤติกรรม ซึง่ แสดงออกหรือเป็นสาเหตุของการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมดีละเว้นจากความชั่ว เว้นชั่วของ
บุคคลโดยทั่วไปส่วนจรรยาวิชาชีพนั้นเป็นสภาพของบุคคลที่มีจิตใจยอมรับ และพร้อมปฏิบัติในสิ่งดี ละเว้น
ปฏบิ ตั สิ ิง่ ไมด่ ี ตามขอ้ ก�ำ หนดของวชิ าชพี ซึง่ เรยี กวา่ เปน็ ผูม้ จี รรยาวชิ าชพี (หรอื ผูม้ จี รรยาบรรณ) เปรยี บเทยี บ
เช่นนี้จะเห็นว่าจรรยาวิชาชีพมีลักษณะที่แคบเฉพาะมากกว่าคุณธรรม จริยธรรม
จะเห็นว่าจรรยาวิชาชีพนั้นไม่ขัดกับคุณธรรม จริยธรรม เป็นไปได้ที่คนผู้มีพื้นฐานคุณธรรม
จริยธรรม ที่ดีนั้น สามารถปลูกฝังจรรยาวิชาชีพได้ไม่ยากนัก โดยเพิ่มเติมสิ่งอันควรปฏิบัติ ไม่ควรปฏิบัติ