Page 71 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 71

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-61

       จากหลักธรรมทางพุทธศาสนา และพระราชดำ�รัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนับ
เป็นจริยธรรมพื้นฐานและปุถุชนธรรมดาทั่วไปสามารถปฏิบัติตามได้ โดยไม่จำ�เป็นต้องถึงขั้นเป็นผู้สำ�เร็จ
มรรคผลแล้ว โดยเฉพาะศีลห้าจะช่วยให้เรามีชีวิตที่สอดคล้องและกลมกลืนมากขึ้นและยิ่งชีวิตของเรามี
ความสอดคล้องกลมกลืนมากขึ้นเท่าไร การพัฒนาจริยธรรมของเราก็จะเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้นเท่านั้น

       นักศึกษาในฐานะนักแนะแนวลองคิดดูอย่างง่ายๆ ว่า นักศึกษาจะมีเวลาว่างและมีจิตใจสงบเพียง
พอที่จะมีสมาธิรับฟังปัญหาจากผู้มารับบริการแนะแนวและการปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรหาก
เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในระหว่างวัน วิ่งไปทั่วด้วยความตื่นตระหนก คอยแก้ปัญหาต่างๆ มากมายที่จะทับถม
ลงมาเนื่องจากการกล่าวเท็จ หลอกลวงผู้อื่น การประพฤติผิดต่างๆ หรือความไม่ซื่อสัตย์ของตัวเราเอง และ
ที่หนักหน่วงไปกว่านั้นก็คือ จิตสำ�นึกภายในของเราก็กำ�ลังรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากความทุกข์ที่เราก่อให้เกิด
ขึ้นแก่ผู้อื่น

       ศลี ทัง้ หา้ ขอ้ มไี วเ้ พือ่ ใหต้ วั เราบรสิ ทุ ธิใ์ นดา้ นการคดิ ดา้ นการพดู และดา้ นการกระท�ำ การรกั ษาศลี หา้
ที่แท้จริง จะต้องมีการพัฒนาและฝึกหัดใคร่ครวญพิจารณาตนเองทั้งสามด้าน ที่กล่าวมาพร้อมทั้งประพฤติ
ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ที่กล่าวไว้ในศีล มิใช่เพียงแต่การสวดท่องศีลเท่านั้นและจำ�เป็นต้องมีเจตคติที่จริงใจ
และซื่อสัตย์ต่อตนเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกครั้งที่เราทำ�ความผิด เราจะต้องตีอกชกตัวทำ�ร้ายตนเอง
จงสังเกตดูตัวเองอย่างถ่องแท้ชัดเจนและตรงไปตรงมา เมื่อพบความผิดก็จงสำ�นึกเสียใจ และจดจำ�รับรู้
ความผิดพลาดของตนเองอย่างจริงใจ และตั้งใจจะไม่กระทำ�เช่นนั้นอีก และกระทำ�แต่ความดีทดแทนด้วย

       กล่าวโดยสรุป คุณธรรม จริยธรรมสำ�หรับนักแนะแนวในที่นี้ได้แก่ 1) คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า:
ศีลห้า 2) หลักธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) และ 3) พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว

2. 	จรรยาวิชาชีพของนักแนะแนว

       นักแนะแนวอยู่ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ส่งเสริมและพัฒนาคนให้มีความคิด ความรู้สึก
ความเขา้ ใจในตนเองและผูอ้ ืน่ รวมทัง้ มพี ฤตกิ รรมในทางทีพ่ งึ ประสงคแ์ ละสามารถตดั สนิ ใจแกป้ ญั หาของตน
ได้อย่างฉลาดรอบคอบ เป็นงานที่จะต้องทำ�ด้วยพื้นฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรมของนักแนะแนว จึง
จำ�เป็นต้องมีจรรยาวิชาชีพที่เหมาะสมกับภารกิจสำ�คัญนี้

       จรรยาวิชาชีพของนักแนะแนวของประเทศไทย ที่จัดทำ�โดยสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย ซึ่งได้
จากการบันทึกเป็นหลักฐานในการประชุมเรื่องจรรยาวิชาชีพของนักแนะแนว ไว้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2524
(สุโท เจริญสุข 2535: 6) ปรากฏตามหลักฐานว่า จรรยาวิชาชีพของนักแนะแนวมี 5 ประการ ดังนี้

       1) 	ต้องรักษาความลับ และรักษาประโยชน์ของผู้มารับบริการ
       2)	 ต้องมีศรัทธาต่องานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างเคร่งครัด และมี
วิจารณญาณอันดี
       3) 	ต้องให้บริการในขอบเขตความสามารถของตนไม่หลอกลวงผู้มารับบริการเพื่อหาประโยชน์
ส่วนตัว
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76