Page 73 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 73

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-63

       4) 	ถา้ ปญั หาของผูร้ บั บรกิ ารอยูน่ อกเหนอื ขอบขา่ ยบรกิ ารแนะแนว นกั แนะแนวควรสง่ ตอ่ เพือ่ ใหร้ บั
บริการจากแหล่งอื่นที่เหมาะสม แต่ควรเป็นความยินยอมของผู้รับบริการ และให้ผู้รับบริการได้รับรู้ขอบข่าย
ที่บุคลากรจากแหล่งใหม่จะช่วยเขาได้

       5) 	เคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้รับบริการในการเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง โดยนักแนะแนวเป็น
ผู้ช่วยให้บุคคลได้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพื่อผู้รับบริการได้เลือกตัดสินใจดำ�เนินชีวิตของตนอย่าง
มีประสิทธิภาพ โดยนักแนะแนวจะไม่เป็นผู้ตัดสินใจแทน

       6) 	นักแนะแนวจะต้องช่วยเหลือผู้รับบริการให้พัฒนาจนถึงขีดสุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
       7) 	นกั แนะแนวพงึ สละเวลาใหก้ บั งานแนะแนวอยา่ งเตม็ ที่ แมอ้ าจตอ้ งใชเ้ วลานอกเวลางานตามปกติ
เช่น การออกเยี่ยมบ้าน หรือสำ�นักงานของผู้รับบริการ
       8) 	นักแนะแนวจะต้องมีความประพฤติที่เหมาะสมตามขอบข่ายศีลธรรมอันดีงาม เพื่อเป็นตัวอย่าง
ที่ดีแก่กลุ่มผู้รับริการ
       จรรยาวิชาชีพการแนะแนวที่เสนอโดยนักวิชาการ ค่อนข้างสอดคล้องกับของสมาคมแนะแนวแห่ง
สหรัฐอเมริกา และดังที่ วัชรี ทรัพย์มี (2531) กล่าวว่า จรรยาวิชาชีพการแนะแนวของไทยก็คงยังไม่มีการ
กำ�หนดขึ้น ก็แสดงให้เห็นแนวโน้มว่านักแนะแนวของไทยก็คงใช้แนวของจรรยาวิชาชีพของสมาคมแนะแนว
แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นฐาน
       ตามจรรยาวชิ าชพี แนะแนวของสมาคมแนะแนวแหง่ สหรฐั อเมรกิ านี้ ใชไ้ ดก้ บั งานแนะแนวทัว่ ไป รวม
ทั้งการให้การบริการปรึกษาซึ่งเป็นบริการหลักบริการหนึ่งของงานแนะแนวด้วย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ
แล้วจรรยาวิชาชีพตามที่กำ�หนดขึ้นนี้อาจต้องมีการปรับหรือขยายเพื่อให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ดัง
เช่น ชวีเบอร์ต ไมเออร์ และไดซ์ (Schwiebert, Myers. & Dice, 2000) รายงานว่า จากการวิจัยการให้
คำ�ปรึกษาแก่ผู้สูงอายุหลายเรื่อง ในที่สุดคณะกรรมการมาตรฐานของสมาคมผู้สูงอายุ (1998) ก็ได้กำ�หนด
ให้การบริการแก่ผู้สูงอายุจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญกับบางประเด็นเพิ่มขึ้น ได้แก่
       1) 	ความซื่อตรง (Fidelity) ต่อผู้รับบริการ
       2) 	การให้ผู้รับบริการได้ตัดสินใจด้วยตนเอง (Autonomy)
       3) 	การมุ่งประโยชน์ของผู้รับบริการ (Beneficence)
       เมื่อพิจารณาข้อกำ�หนดที่เพิ่มขึ้นนี้ก็เห็นว่ายังอยู่ในขอบข่ายของจรรยาวิชาชีพที่มีอยู่เดิม จึงเป็น
เพียงข้อที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเท่านั้น และเห็นว่าจรรยาวิชาชีพดังกล่าวน่าจะใช้ได้กับนักแนะแนวทั่วไป
อย่างเป็นสากล แต่หากสถาบันวิชาชีพแนะแนวของไทยจะกำ�หนดขึ้นใหม่เพื่อความเหมาะสมก็ย่อมทำ�ได้

              หลงั จากศกึ ษาเน้อื หาสาระเร่ืองที่ 1.3.2 แล้ว โปรดปฏิบัตกิ จิ กรรม 1.3.2
                      ในแนวการศึกษาหนว่ ยที่ 1 ตอนท่ี 1.3 เรื่องที่ 1.3.2
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78