Page 74 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 74
1-64 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
เรื่องที่ 1.3.3 คณุ ธรรม จริยธรรม และจรรยาวชิ าชีพ
ของผูใ้ หก้ ารปรึกษาเชิงจิตวทิ ยา
สำ�หรับเรื่องคุณภาพ จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยานี้จะขอกล่าวแต่
เรื่องจรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ส่วนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้นักศึกษาไปศึกษาจาก
เรื่องที่ 1.3.2 ในส่วนของคุณธรรม จริยธรรมของนักแนะแนว
จรรยาวชิ าชพี ของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวทิ ยา
จรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาในที่นี้จะขอกล่าวถึงจรรยาวิชาชีพในบทบาทหน้าที่ใน
ฐานะผู้ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล ผู้ให้การปรึกษาครอบครัว และผู้ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมทั้ง
เสนอประเด็นของจรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาในบางเรื่องที่มักกระทำ�ผิดต่อจรรยาวิชาชีพ
ในเรื่องนั้นๆ และเสนอแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วย ส่วนเรื่องจรรยาวิชาชีพของผู้ให้บริการ
ปรึกษาเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาไปศึกษาจากข้อเขียนของอาภา จันทรสกุล ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคนิค
การปรึกษาเบื้องต้น รหัส 25405 หน่วยที่ 6 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2533)
1. จรรยาวชิ าชีพของผู้ให้การปรึกษาเปน็ รายบคุ คล งานบรกิ ารให้การปรกึ ษาจดั เป็นหวั ใจหลกั ของ
งานแนะแนว ทีเ่ ปน็ กระบวนการชว่ ยเหลอื บคุ คลแตล่ ะคนใหเ้ ขา้ ใจตนเอง และสิง่ แวดลอ้ ม และสามารถตดั สนิ
ใจแก้ปัญหาของตนเองได้ และดำ�เนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ดังนั้นผู้ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล เป็นภาระงานที่หนัก และมีการดำ�เนินงานที่ยากลำ�บาก เมื่อ
ต้องเผชิญกับสภาพการณ์ และปัญหาบางอย่างของผู้รับบริการปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของจริยธรรม
และกฎหมายบา้ นเมอื ง เพราะในบางครัง้ ของการใหก้ ารปรกึ ษา ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาตอ้ งเขา้ ไปรบั รูถ้ งึ ความลบั และ
โลกส่วนตัวของผู้มารับการปรึกษาตามลักษณะงานในวิชาชีพการให้บริการปรึกษาเป็นรายบุคคลนี้จึงจำ�เป็น
ต้องมีจรรยาวิชาชีพเป็นแนวปฏบิ ตั ิ ซึ่งสมาคมการใหก้ ารปรกึ ษาแหง่ สหรัฐอเมรกิ า (American Counseling
Association: ACA) ได้กำ�หนดเอาไว้ 8 หมวดใหญ่ด้วยกัน โดยสรุปได้ดังนี้
1) หมวดทั่วไป (General)
2) หมวดความสัมพันธ์ในการให้การปรึกษา (Counseling Relationship)
3) หมวดการวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation)
4) หมวดการวิจัยและการพิมพ์เผยแพร่ (Research and Publication)
5) หมวดการปรึกษา (Consultation)
6) หมวดการตั้งสำ�นักงานการให้การปรึกษา (Private Practice)
7) หมวดการบริหารงานบุคคล (Personnel Administration)
8) หมวดมาตรฐานการเตรียมผู้ให้การปรึกษา (Preparation Standard)