Page 70 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 70
1-60 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ความเป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ เราจึงไม่ควรทำ�ให้ร่างกายและจิตใจของเราเสียหายด้วยพิษทั้งหลายดังกล่าว
ข้างต้น ในการดูแลปกป้องตนเองและสังคมแวดล้อมเราควรจะบริโภคแต่สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงบและความ
ปลอดภัยต่อร่างกายและจิตใจของเรา
สำ�หรับนักแนะแนวแล้วถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลตนเอง ไม่ให้ตกไปอยู่ในอบายมุข
ทุกประเภท คงไม่มีใครอยากมาปรึกษาปัญหากับผู้ที่ครองสติสัมปชัญญะไม่ได้ นักแนะแนวควรจะต้อง
ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้คนทั่วไป เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ และน่าเชื่อถือ เช่นนี้แล้ววิชาการแนะแนวก็
จะได้รับการยอมรับจากสังคม และสังคมก็จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากวิชาชีพแนะแนว
2. หลักธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต 2529: 211) ซึ่งท่านได้กล่าวสรุปพฤติกรรม
ทางจริยธรรมของหลักธรรม ดังต่อไปนี้
1) ให้เป็นผู้หนักแน่นมีเหตุผล รู้จักมองเห็นการกระทำ�และผลการกระทำ�ตามแนวทางของ
เหตุปัจจัย ไม่เชื่อสิ่งงมงาย ตื่นข่าว เช่น เรื่องแม่นํ้าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
2) ใหเ้ หน็ วา่ ผลสำ�เรจ็ ทีต่ นตอ้ งการ จดุ หมายทีป่ รารถนาจะเขา้ ถงึ จะสำ�เรจ็ ไดด้ ว้ ยการลงมอื ทำ�
จึงต้องพึ่งตน และทำ�ความเพียรพยายาม ไม่รอคอยโชคชะตา หรือหวังผลด้วยการอ้อนวอน เช่น บวงสรวง
ต่อปัจจัยภายนอก
3) ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองที่จะงดเว้นจากกรรมชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วยการ
กระทำ�ความดีต่อเขา
4) ให้ถือว่าบุคคลมีสิทธิโดยธรรมชาตทิ ี่จะทำ�การต่างๆ เพื่อแก้ไข ปรับปรงุ สร้างเสรมิ ตนเอง
ให้ดขี ึน้ ไปโดยเท่าเทียมกัน สามารถท�ำ ตนให้เลวลงหรอื ให้ดีขึน้ ให้ประเสรฐิ จนถงึ ยิง่ กวา่ เทวดาและพรหมได้
ทุกๆ คน
5) ให้ถือคุณธรรม ความสามารถ ความประพฤติปฏิบัติเป็นเครื่องวัดความทรามหรือ
ประเสริฐของมนุษย์ไม่ให้มีการแบ่งแยกโดย ชาติ ชั้น วรรณะ
6) ในแงก่ รรมเกา่ ใหถ้ อื เปน็ บทเรยี นและรูจ้ กั พจิ ารณาเขา้ ใจตนเองตามเหตผุ ล ไมค่ อยเพง่ แต่
โทษผู้อื่น มองเห็นพื้นฐานของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงและวางแผนสร้างเสริมความ
เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ถูกต้อง
7) ให้ความหวังในอนาคตสำ�หรับสามัญชนทั่วไป
3. พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (อ้างอิงในรายงานการประชุมระดับชาติ
2541: 155) ที่พระราชทานเกี่ยวกับ จริยธรรมที่ทุกคนควรศึกษาและนำ�มาปฏิบัติ ดังนี้
1) การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และ
เป็นธรรม
2) การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดีนั้น
3) ความอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ สุจริต ไม่ว่าจะด้วย
เหตุผลใดๆ
4) การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักละวางประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง