Page 65 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 65

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-55

            5) 	ความสำ�คัญต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติและสังคมโลก แท้จริงแล้วทุกคนทุกชีวิต
(หรอื รวมทัง้ สิง่ ไมม่ ชี วี ติ ทัง้ หมด) เปน็ เพือ่ นรว่ มภพรว่ มชาตกิ นั หากทกุ ฝา่ ยตา่ งกระท�ำ ดตี อ่ กนั ไมเ่ บยี ดเบยี น
กันย่อมเกิดความสุข สมดุล ความพอเหมาะ พอดีขึ้นกับมนุษยชาติ และสังคมโลก ภาวะสงครามไม่เกิด การ
เบียดเบียนธรรมชาติไม่มี ทุกสิ่งต่างอยู่อย่างพึ่งพาเกื้อกูลกัน

2. 	ความหมายและความสำ�คัญของจรรยาวิชาชีพ

       2.1 	ความหมายของจรรยาวิชาชีพ คำ�ว่า จรรยาวิชาชีพไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 แตเ่ ปน็ ค�ำ ทีใ่ ช้กนั ทั่วไปและดเู หมือนวา่ คนสว่ นใหญ่จะมคี วามเขา้ ใจ ถ้าแยกศัพทอ์ อกมาวเิ คราะห์
จะได้ ดังนี้

       จรรยาวิชาชีพ มาจากคำ�ว่า “จรรยา” กับ “วิชาชีพ”
       คำ�ว่า จรรยา หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาแพทย์ นิยมใช้
ในทางที่ดี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525: 215)
       คำ�ว่า วิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำ�นาญ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย-
สถาน 2525: 754)
       ฉะนั้น จรรยาวิชาชีพ จึงหมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ผู้ประกอบอาชีพ
ซึ่งต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำ�นาญ
       ซึ่งความหมายที่แปลออกมานี้จะคล้ายกับความหมายของคำ�ว่า จรรยาบรรณ ซึ่งพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน 2525 (หน้า 216) ให้ไว้ว่า ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง
กำ�หนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือไม่ก็ได้
       ถา้ พจิ ารณาแตเ่ พยี งค�ำ แปล หรอื ความหมายทีก่ �ำ หนดดงั กลา่ ว อาจตคี วามวา่ จรรยาวชิ าชพี คงจะเนน้
ความประพฤติของหมู่ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้เท่านั้น ส่วนจรรยาบรรณนั้นไม่ได้กำ�หนดขอบเขต
เช่นนั้น อย่างไรก็ตามพบว่ามีการใช้คำ�ว่าจรรยาบรรณกับกลุ่มคนที่ใช้วิชาชีพด้วยเสมอ เช่น จรรยาบรรณ
นักวิจัย จรรยาบรรณนักกฎหมาย หรือจรรยาบรรณนักแนะแนวก็มีผู้ใช้
       จึงน่าจะลงความเห็นได้ว่า ถ้าต้องการเน้นในความเป็นวิชาชีพด้วยก็ควรใช้คำ�ว่าจรรยาวิชาชีพ เช่น
จรรยาวิชาชีพครู จรรยาวิชาชีพนักแนะแนว แต่หากไม่เน้นในความเป็นวิชาชีพ (แต่ไม่ได้หมายความว่าอาชีพ
นั้นไม่เป็นวิชาชีพ) ก็อาจใช้คำ�ว่าจรรยาบรรณนักแนะแนว จรรยาบรรณนักธุรกิจ จรรยาบรรณของผู้รับเหมา
จรรยาบรรณมัคคุเทศก์ เป็นต้น
       2.2 	ความสำ�คัญของจรรยาวิชาชีพ จรรยาวิชาชีพ คือ ความประพฤติ หรือกิริยาที่ควรประพฤติใน
หมู่ผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำ�นาญ อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำ�นาญ เป็น
อาชีพที่ไม่ใช่ใครก็ทำ�ได้ ต้องมีการเรียน ต้องมีการศึกษาอบรม ต้องฝึกฝน จึงจะประกอบอาชีพได้ และด้วย
เหตทุ ีเ่ ปน็ เชน่ นี้ หากผูป้ ระกอบอาชพี มจี รรยาวชิ าชพี กจ็ ะสง่ คณุ อนนั ต์ ในทางตรงกนั ขา้ มหากผูป้ ระกอบอาชพี
นี้ขาดจรรยาวิชาชีพก็จะส่งโทษมหันต์ได้เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าจรรยาวิชาชีพมีความสำ�คัญดังต่อไปนี้
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70