Page 64 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 64

1-54 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

       จากที่กล่าวมาอาจจำ�แนกการให้ความหมายจริยธรรมได้เป็น 2 แนว แนวแรกอธิบายว่า จริยธรรม
เป็นกฎ เกณฑ์ มาตรฐาน ของความประพฤติ เป็นกติกาหรือเงื่อนไขจากภายนอกที่ทำ�ให้บุคคลในสังคมมี
พฤติกรรมอันพึงปรารถนา แนวที่สองอธิบายว่า จริยธรรมเป็นคุณลักษณะที่อยู่กับตัวบุคคล เป็นลักษณะ
ทางปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมอันแสดงออก หรือเป็นเหตุของการแสดงออกในพฤติกรรมที่พึงปรารถนา

       ซึ่งหากที่นำ�ความหมายทั้งสองแนวมาประกอบกันจะได้แนวทางสำ�หรับการวัด และการพัฒนา
จริยธรรมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวคือ จริยธรรมที่หมายถึง กฎ เกณฑ์ มาตรฐาน ของความประพฤติ จะ
นำ�มาใช้กำ�หนดเป้าหมายของการพัฒนาจริยธรรม สร้างดัชนีและเกณฑ์ของการวัดได้ ส่วนจริยธรรมที่หมาย
ถงึ คณุ ลกั ษณะทีอ่ ยูใ่ นตวั บคุ คลนัน้ เปน็ สิง่ บง่ บอกคณุ ภาพทางจรยิ ธรรมขอบบคุ คลในอนั ทีจ่ ะตอ้ งพฒั นา เพือ่
ให้บุคคลมีพฤติกรรมหรือการแสดงออกตามเป้าหมายที่กำ�หนด

       ศีลธรรม จากความหมายของจริยธรรมตามคำ�อธิบายของพระธรรมปิฎก ที่ได้กล่าวผ่านมา จะเห็น
วา่ ศลี ธรรม กบั จรยิ ธรรม แตเ่ ดมิ มคี วามหมายเปน็ อยา่ งเดยี วกนั แตต่ อ่ มาระยะหลงั มคี นรบั รูใ้ นความหมาย
ที่แตกต่างกันออกไป โดยเหตุที่คำ� ศีลธรรม นั้นประกอบคำ�ว่า “ศีล” กับคำ�ว่า “ธรรม” ซึ่งเป็นคำ�ที่ใช้กันใน
ทางศาสนา บางคนจึงตีความว่า ศีลธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวกับศาสนา ดังคำ�อธิบายของพระธรรมปิฎก
(2541: 5) ตอนหนึ่งว่า เกี่ยวกับศีลธรรมนั้นมีบางคนอธิบายว่าเป็นหลักความประพฤติดีงามที่อิงคำ�สอนของ
ศาสนา แต่จริยธรรมมีลักษณะเป็นกลางๆ เป็นสากลมากกว่า

       กล่าวโดยสรุป คุณธรรมมีความหมายแคบกว่าและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมหรือศีลธรรม
จริยธรรมเป็นคำ�ที่นำ�มาใช้แทนศีลธรรม เนื่องจากมีผู้เข้าใจหรือรับรู้ว่าศีลธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา
การใช้คำ�ว่าจริยธรรมจึงมีความหมายที่กว้างและเป็นสากลว่า จริยธรรม มีความหมายที่ครอบคลุมคุณธรรม
และศีลธรรมเอาไว้ด้วย

       1.2 	ความสำ�คัญของคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรม การพัฒนา
คุณธรรมก็มุ่งสู่การมีจริยธรรม จริยธรรมจึงเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา การมีคุณธรรมที่เหมาะสม
ครบทุกคุณธรรมก็คือผู้มีจริยธรรมที่สมบูรณ์ ฉะนั้นความสำ�คัญของทั้งสองลักษณะจึงคล้ายคลึงกัน ซึ่งมี
ดังต่อไปนี้

            1) 	สำ�คัญต่อบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติ บุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรย่อมทำ�สิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง
ทั้งต่อตน ต่อคนใกล้ชิด ต่อสังคม เขาย่อมได้รับความสุข มีศักดิ์ศรี มีคุณค่าในตัวเอง และการกระทำ�ของ
เขาย่อมทำ�ให้เขาได้รับการยอมรับและตอบสนองที่ดีจากผู้อื่น และสังคม เข้าลักษณะทำ�ดีได้ดี

            2) 	ความสำ�คัญต่อครอบครัว ครอบครัวที่ประกอบด้วยผู้มีคุณธรรมจริยธรรมย่อมเป็น
ครอบครัวที่มีความสุข สงบ และประสบความสำ�เร็จ ความพอใจ

            3) 	ความสำ�คัญต่อกลุ่ม การรวมกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มงาน กลุ่มเพื่อน กลุ่มผู้มีความสนใจ
ร่วมกัน ความมีจริยธรรมของคนในกลุ่มจะทำ�ให้กลุ่มอยู่กันอย่างมีความสุข และเป็นกลุ่มที่มั่นคง ก้าวหน้า

            4) 	ความสำ�คัญต่อสังคม ประเทศชาติ หากทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคม ประเทศชาติ
มุ่งทำ�แต่สิ่งดีงาม ทำ�ดีต่อกัน ส่งเสริมกัน แทนการแก่งแย่งชิงดี เอาเปรียบ มุ่งร้ายต่อกัน ประเทศชาติย่อม
เกิดความสงบสุข มั่นคง
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69