Page 75 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 75
แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-65
ในการท�ำ งานทางดา้ นสขุ ภาพจติ ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยามกั จะเผชญิ กบั การตดั สนิ ใจทีเ่ กีย่ วขอ้ ง
กับจรรยาวิชาชีพอยู่บ่อยๆ ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการให้การปรึกษาสรุปแนวปฏิบัติที่องค์กรวิชาชีพและ
กฎหมายกำ�หนดไว้ดังนี้ (Kotter and Brown, 1992 อ้างอิงจากเมธินินท์ ภิณญูชน 2539: 10-11)
1) ผู้ให้การปรึกษาต้องไม่พยายามที่จะให้ความช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาโดยที่ตนเองไม่มี
ความรู้ ทักษะ การฝึกฝน และการนิเทศที่เพียงพอ กล่าวคือ ต้องไม่ให้การปรึกษาในด้านที่นอกเหนือจาก
ความสามารถและคุณสมบัติที่ตนเองมีอยู่ ในกรณีพบกับปัญหานี้ให้ส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม
2) ผู้ให้การปรึกษาต้องเป็นอิสระจากอคติและความลำ�เอียงทั้งมวลที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อความเป็นกลางและสัมพันธภาพทางบวก อคติและความลำ�เอียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อคติในเรื่องเพศ
เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษ
3) การมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้รับการปรึกษาเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ผู้ให้การปรึกษาจะต้อง
ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องทางเพศกับผู้รับการปรึกษาโดยเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
4) ผู้ให้การปรึกษาจะต้องคุ้มครองสิทธิของผู้รับการปรึกษา จะต้องอธิบายให้กลุ่มผู้รับการ
ปรึกษาทราบ และจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับการปรึกษา
5) ผู้ให้การปรึกษาจะต้องปกป้องความเป็นส่วนตัว และรักษาความลับของผู้รับการปรึกษา
โดยตลอด เว้นเสียแต่ว่าสถานการณ์ที่เปิดเผยในชั่วโมงการให้การปรึกษาเป็นอันตรายต่อชีวิตและความ
ผาสุก (Welfare) ของตนเองและผู้อื่น เรื่องนี้ผู้ให้การปรึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้รับการปรึกษาทราบตั้งแต่เริ่ม
ต้นการสัมภาษณ์ครั้งแรก ส่วนข้อมูลอื่นๆ จะต้องรักษาเป็นความลับ จะเปิดเผยได้ก็ต่อเมื่อผู้รับการปรึกษา
อนุญาตหรือกฎหมายบังคับ
6) เป้าหมายในการให้การปรึกษาก็คือการช่วยผู้รับการปรึกษาให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่
วางไว้ ยกเว้นเป้าหมายนั้นเป็นเป้าหมายที่เป็นในทางทำ�ลาย ทำ�ร้ายตนเอง หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม
ผู้ให้การปรึกษาเกิดความรู้สึกพึ่งพา เพื่อสนองความต้องการของผู้ให้การปรึกษา
7) ผูใ้ ห้การปรกึ ษาจะต้องรับผิดชอบทีจ่ ะรับการฝกึ อบรมความรูเ้ พิ่มเติมและพัฒนาอยา่ งตอ่
เนือ่ งภายหลงั จากจบการศกึ ษาแลว้ ทัง้ นีเ้ พราะวา่ ความรูแ้ ละการวจิ ยั ในวชิ าชพี การใหก้ ารปรกึ ษาเปลีย่ นแปลง
อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ปฏิบัติในด้านนี้จำ�เป็นจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะให้ทันสมัยอยู่เสมอ
8) ผู้ให้การปรึกษามีความรับผิดชอบ และหน้าที่ที่จะดำ�เนินการต่อผู้ร่วมงานที่ผิดจรรยา
วิชาชีพ ผิดกฎหมาย และขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในฐานะนักวิชาชีพผู้ให้การปรึกษามีหน้าที่ที่จะ
พิทักษ์วิชาชีพ และพิทักษ์ชุมชน และพิทักษ์ความปลอดภัยของผู้รับบริการให้การปรึกษา
9) ผู้ให้การปรึกษาจะต้องให้ความสำ�คัญต่อความผาสุก (Welfare) โดยทั่วไปของผู้รับการ
ปรึกษาและสังคม ผู้ให้การปรึกษาจะต้องพยายามป้องกันการเลือกที่รักมักที่ชัง จะต้องช่วยบุคคลที่ด้อย
โอกาส ช่วยส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม เพื่อช่วยคนทุกคนให้สามารถใช้ศักยภาพของเขาได้อย่างเต็มที่
ส�ำ หรบั ในการฝกึ งานการใหก้ ารปรกึ ษาในสหรฐั อเมรกิ า อาจารยน์ เิ ทศกจ์ ะชีแ้ จงความส�ำ คญั ของการ
ปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพการให้การปรึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและขอให้นักศึกษาปฏิบัติ
ตามอย่างเคร่งครัด