Page 80 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 80
1-70 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
2.3 ความพรอ้ มของรา่ งกายและจติ ใจ: ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาควรหลกี เลีย่ งการใหบ้ รกิ ารเมือ่ สภาวะ
ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตนมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อผูรับการปรึกษาหรือผู้อื่น ผู้ให้การปรึกษา
พึงมีความตื่นตัวต่อสัญญาณของอาการ และขอความช่วยเหลือกรณีเกิดปัญหานั้น หากจำ�เป็นควรจำ�กัด พัก
หรือยุติความรับผิดชอบในวิชาชีพ
หมวด ง การประเมิน การวัด และการแปลผล
1. ความสามารถของการใช้และการแปลผลจากแบบทดสอบ
ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาพงึ ตระหนกั ถงึ ขอ้ จ�ำ กดั ในความสามารถ โดยท�ำ การทดสอบและท�ำ การประเมนิ
เฉพาะสิ่งที่ได้รับการฝึกฝน มีความเข้าใจในเรื่องความแม่นตรง ความเชื่อมั่น มาตรฐานความผิดพลาดของ
การวัด และรู้จักประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง
2. การได้รับความยินยอมในการอธิบายต่อผู้รับการปรึกษา
ก่อนการประเมิน ผู้ให้การปรึกษาต้องอธิบายธรรมชาติและเป้าประสงค์ของการประเมิน และ
ต้องบอกผลในภาษาที่ผูร้ บั การปรกึ ษาเขา้ ใจได้ ผู้ให้การปรกึ ษาความรบั ผิดชอบตอ่ การอธิบายผลอย่างเหมาะ
สมแก่ผู้รับการปรึกษา ทั้งนี้การตรวจคะแนนอาจให้ผู้อื่นกระทำ�ได้
3. การเลือกแบบทดสอบที่มีความเหมาะสม
ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาพงึ พจิ ารณาดว้ ยความระมดั ระวงั ถงึ ความแมน่ ตรง ความเชือ่ มัน่ และขอ้ จ�ำ กดั
ของการวัด ความเหมาะสมของแบบทดสอบ เมื่อต้องเลือกใช้แบบทดสอบกับผู้รับการปรึกษาหรือเมื่อถูกนำ�
มาใช้ในบางสถานการณ์
4. การสร้างแบบทดสอบ
ผู้ให้การปรึกษาต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และความรู้
ในวิชาชีพที่ทันสมัย ในการออกแบบทดสอบเพื่อพัฒนาเผยแพร่และใช้ในการศึกษาหรือการให้การปรึกษา
2. จรรยาวชิ าชพี ของผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาครอบครวั ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษาครอบครวั กม็ บี ทบาทหนา้ ทีท่ ีส่ �ำ คญั
ในการช่วยเหลือบุคคลและคณะบุคคลเช่นเดียวกับผู้ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม ที่จะต้องมี
จรรยาวิชาชีพเป็นแนวปฏิบัติเฉพาะวิชาชีพ จรรยาวิชาชีพของผู้ให้การปรึกษาครอบครัวที่กำ�หนดโดยสมาคม
การบำ�บัดชีวิตการแต่งงานและครอบครัวแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association for Marriage and
Family Therapy) มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 หมวดใหญ่ ดังต่อไปนี้ (เมธินินทร์ ภิณญูชน 2539: 151-153)
หมวดที่ 1 ความรบั ผดิ ชอบตอ่ ผูร้ บั การปรกึ ษา (Responsibility to Clients) ผูใ้ หก้ ารปรกึ ษา
ครอบครัวและคู่สมรสต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความผาสุกของครอบครัวและบุคคล ต้องเคารพ
สิทธิของผู้ที่มาขอความช่วยเหลือและพยายามเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า การให้บริการเป็นไปอย่างเหมาะสม
หมวดที่ 2 การรักษาความลับ (Confidentiality) ผู้ให้การปรึกษาครอบครัวและคู่สมรสอาจมี
ปัญหาในการรักษาความลับที่มีลักษณะเฉพาะเพราะมักจะมีผู้รับการปรึกษามากกว่าหนึ่งคน ดังนั้นผู้ให้การ
ปรึกษาต้องเคารพและป้องกันความลับของผู้รับการปรึกษาแต่ละคน